พบผลลัพธ์ทั้งหมด 645 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟัง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแถลงหมดพยานกับการดำเนินกระบวนพิจารณา: ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณา
ทนายจำเลยแถลงหมดพยาน กรณีมิใช่ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยต่อ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทนายจำเลยแถลงหมดพยานมิใช่แถลงขอเลื่อนคดี เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถูกต้องแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อทนายจำเลยแถลงหมดพยานจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์นั้น เมื่อคดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และจำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าผิดระเบียบ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทนายจำเลยแถลงหมดพยานมิใช่แถลงขอเลื่อนคดี เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถูกต้องแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อทนายจำเลยแถลงหมดพยานจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์นั้น เมื่อคดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และจำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าผิดระเบียบ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดทุนทรัพย์พิพาทแยกตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละราย ทำให้การอุทธรณ์ในส่วนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 200,000 บาท ต้องห้ามตามกฎหมาย
สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันแต่ละราย เมื่อคดีในส่วนสินค้ากากเมล็ดทานตะวันมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณทุนทรัพย์ต้องอ้างอิงจากราคาที่ฟ้องในศาลชั้นต้น/อุทธรณ์/ฎีกาเท่านั้น
การคิดคำนวณทุนทรัพย์นั้นพึงคิดจากราคาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องในศาลชั้นต้น หรือผู้อุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือผู้ฎีกาในชั้นศาลฎีกา มิใช่คิดคำนวณทุนทรัพย์จากผู้ที่มิได้ฟ้องหรือมิได้อุทธรณ์หรือมิได้ฎีกา
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดก ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้ง คือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดก ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้ง คือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณทุนทรัพย์คดีแพ่ง ต้องพิจารณาจากราคาที่โจทก์ฟ้อง มิใช่จากคำต่อสู้ของจำเลย
การคิดคำนวณทุนทรัพย์นั้นพึงคิดจากราคาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องในศาลชั้นต้นหรือผู้อุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือผู้ฎีกาในชั้นศาลฎีกา มิใช่คิดคำนวณทุนทรัพย์จากผู้ที่มิได้ฟ้องหรือมิได้อุทธรณ์หรือมิได้ฎีกา โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่าๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้งคือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงจำกัดจำนวนทุนทรัพย์: ศาลต้องวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยร่วมก่อน
การพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท ตามฟ้องคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2ก่อน ว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และต้องรับผิดในจำนวนเงิน94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท ตามฟ้องคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2ก่อน ว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และต้องรับผิดในจำนวนเงิน94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามมาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องพิจารณาเป็นรายจำเลย การวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องครบถ้วน
การพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้องคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท ตามฟ้องคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ก่อนว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ และต้องรับผิดในจำนวนเงิน 94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องห้าม เหตุจากข้อที่ยกขึ้นว่ากันแล้ว และการห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามค่าเช่า
การที่จะถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วหรือไม่นั้นจะพิจารณาเพียงว่าจำเลย ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์เรื่องใดบ้างเพียงประการเดียวหาได้ไม่ จะต้องพิจารณารวมถึงเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นด้วย จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของตึกแถวพิพาทและจำเลย ไม่เคยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์มิใช่ผู้ให้เช่าตึกแถวพิพาท ไม่มีสิทธิเก็บกินในตึกแถวพิพาท และเจ้าของรวมคนอื่นมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินการ เป็นการยกเหตุแห่งการปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ขึ้นมาใหม่ อันเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยให้การไว้ จึงเป็นข้อที่จำเลยมิได้ ยกขึ้นว่ามาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 7,000 บาท ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่า ของตึกแถวพิพาทในขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นเพียงอาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 300 บาท ต้องฟังว่าตึกแถว พิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ค่าเสียหายจากการเช่า และอำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าโจทก์สามารถนำที่พิพาทไปสร้างอาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์อัตราเดือนละ 20,000 บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์เรียกค่าเสียหายตามจำนวนนั้น ซึ่งศาลชั้นต้นก็กำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีการกำหนดอัตราค่าเช่ากันชัดเจนเดือนละ 500 บาท เช่นนี้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าอาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนเท่าใดอีก ต้องฟังว่าที่พิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นในเรื่องการกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส. ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าที่ดินพิพาท, อำนาจจัดการมรดก, ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าโจทก์สามารถนำที่พิพาทไปสร้างอาคารพาณิชย์จะได้รับประโยชน์อัตราเดือนละ 20,000บาท และโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์เรียกค่าเสียหายตามจำนวนนั้น ซึ่งศาลชั้นต้นก็กำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 5,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อตามหนังสือสัญญาเช่าที่ดินมีการกำหนดอัตราค่าเช่ากันชัดเจนเดือนละ 500 บาท เช่นนี้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องพิจารณาว่าอาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนเท่าใดอีก ต้องฟังว่าที่พิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นในเรื่องการกำหนดค่าเสียหายของศาล เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ป.พ.พ. มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส.ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน
ป.พ.พ. มาตรา 1719 บัญญัติให้ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปและเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกได้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส.ผู้ตาย มีอำนาจจัดการเกี่ยวแก่ที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ส.ได้ตามกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาททุกคนก่อน