พบผลลัพธ์ทั้งหมด 645 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่ มีผลต่อการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224กำหนดว่าในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 105,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียงห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระคือห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จก็จะนำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์จำกัดเกิน 50,000 บาท ทำให้ไม่อาจอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีมิชอบ
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาสร้างโรงเรือนในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่าตนเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน เนื้อที่เท่ากันคนละ 77 ตารางวา เนื้อที่ดินทั้งแปลงมีราคา 52,000 บาทที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยแต่ละคนจึงมีราคาครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาททั้งแปลงคือมีราคาแปลงละ 26,000 บาทซึ่งต้องถือราคานี้เป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคนจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 26,000 บาท ไม่เกิน 50,000 บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์จำกัดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง: การคำนวณมูลค่าที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาสร้างโรงเรือนในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่าตนเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน เนื้อที่เท่ากันคนละ 77ตารางวา เนื้อที่ดินทั้งแปลงมีราคา 52,000 บาท ที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยแต่ละคนจึงมีราคาครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาททั้งแปลงคือมีราคาแปลงละ 26,000 บาท ซึ่งต้องถือราคานี้เป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคนจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 26,000 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4384/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาเช่าต่างตอบแทนต่อผู้รับโอนที่ดิน: การยอมรับภาระผูกพันจากใบเสร็จรับเงินค่าเช่า
อุทธรณ์จำเลยสรุปได้ว่า สัญญาเช่าระหว่าง อ. กับ จำเลยเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา และมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนด้วยเหตุว่า เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินโอนมาเป็นของโจทก์แล้วจำเลยได้นำค่าเช่า ไปชำระให้โจทก์ โจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินค่าเช่านาให้ ย่อมแสดงชัดว่าโจทก์ยอมรับภาระผูกพันตามสัญญาเช่าต่างตอบแทน นั้นมาด้วย ดังนี้ ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้างว่าสัญญาเช่า ต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีผลผูกพันโจทก์ ผู้รับโอนนั้นเป็นผลสรุปจากข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยอมรับ ภาระผูกพันในสัญญาเช่านั้นเพียงใดหรือไม่ อุทธรณ์จำเลยในข้อนี้จึงเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทนายความในคดีต่อสู้กรรมสิทธิ์: ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการคำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่า ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่า ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดี และการกำหนดค่าทนายความตามอัตราขั้นสูงในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการ คำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขึ้นสูงกว่า ตามตาราง 6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นหลัก ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ทางผ่านในที่ดินของผู้อื่นได้ หากเป็นทางสะดวกและเหมาะสมที่สุด
แม้ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์จะเคยมีทางสาธารณะ อยู่แต่ได้ขุดเป็นลำเหมืองสำหรับปล่อยน้ำทิ้งมานาน ประมาณ 20 ปีแล้ว ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำตลอดทั้งปี ไม่สามารถใช้เรือสัญจรไปมาได้ ทางดังกล่าวจึงไม่เป็น ทางสาธารณะตามของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ส่วนทางที่โจทก์จะสามารถใช้ออกสู่ทางสาธารณะใช้อีกทางหนึ่ง คือ คันคลองส่งน้ำด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์แต่ทางดังกล่าวต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นจำนวนหลายแปลงด้วยกันและมีระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งโจทก์ไม่เคยใช้เป็น เส้นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นปกติมาก่อนเลยเมื่อเปรียบเทียบกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางตรงมีระยะทางเพียง 18 เมตร ทางพิพาทย่อมสะดวกและมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุดเพราะทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียว จำเลยจะเกี่ยงให้โจทก์ไปใช้เส้นทางอื่นในที่ดินคนอื่นที่โจทก์ไม่ได้ใช้เป็นปกติมาก่อนเป็นทางเข้าออกไม่ได้ และเมื่อคำนึงถึงอนาคต โจทก์อาจใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเข้าออกทางพิพาท เห็นสมควรกำหนดให้ทางพิพาทมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตร ซึ่งไม่เกินคำขอของโจทก์ได้ โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทาน เข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลย โดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอ ให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตก ของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มี ลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้าง แต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจาก บ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้ อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับ ภารจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้ง เครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสอง ชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่ จอดรถยนต์ที่โจทก์ ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่อง ในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดี ในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้าม มิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและภาระจำยอม: การพิจารณาความสะดวก, ความเสียหาย และแหล่งน้ำทางเลือก
แม้ทางด้านทิศเหนือของที่ดินโจทก์จะเคยมีทางสาธารณะอยู่แต่ได้ขุดเป็นลำเหมืองสำหรับปล่อยน้ำทิ้งมานานประมาณ 20 ปีแล้ว ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน ไม่มีน้ำตลอดทั้งปี ไม่สามารถใช้เรือสัญจรไปมาได้ ทางดังกล่าวจึงไม่เป็นทางสาธารณะตามของ ป.พ.พ.มาตรา 1349 ส่วนทางที่โจทก์จะสามารถใช้ออกสู่ทางสาธารณะใช้อีกทางหนึ่งคือ คันคลองส่งน้ำด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์ แต่ทางดังกล่าวต้องผ่านที่ดินของผู้อื่นจำนวนหลายแปลงด้วยกัน และมีระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ทั้งโจทก์ไม่เคยใช้เป็นเส้นทางเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นปกติมาก่อนเลย เมื่อเปรียบเทียบกับทางพิพาทซึ่งเป็นทางตรงมีระยะทางเพียง 18เมตร ทางพิพาทย่อมสะดวกและมีความเหมาะสมมากกว่า ทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด เพราะทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยเพียงแปลงเดียวจำเลยจะเกี่ยงให้โจทก์ไปใช้เส้นทางอื่นในที่ดินคนอื่นที่โจทก์ไม่ได้ใช้เป็นปกติมาก่อนเป็นทางเข้าออกไม่ได้ และเมื่อคำนึงถึงอนาคต โจทก์อาจใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเข้าออกทางพิพาท เห็นสมควรกำหนดให้ทางพิพาทมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตรซึ่งไม่เกินคำขอของโจทก์ได้
โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทานเข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยโดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มีลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้างแต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจากบ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับภาระจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้งเครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่จอดรถยนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่องในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดีในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง
โจทก์อ้างความจำเป็นที่จะต้องนำน้ำจากคลองชลประทานเข้าไปใช้ในที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ติดต่อกับที่ดินของจำเลยโดยวางท่อระบายน้ำผ่านที่ดินของจำเลย พร้อมทั้งเสนอให้ค่าทดแทนเป็นรายปี แต่เมื่อปรากฏว่าทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินโจทก์มีคลองส่งน้ำ และทางด้านทิศเหนือก็มีลำเหมืองสาธารณะอยู่และคลองส่งน้ำนั้นมีน้ำบริบูรณ์ ส่วนลำเหมืองสาธารณะนั้น แม้จะมีสภาพตื้นเขินอยู่บ้างแต่ยังก็มีน้ำมากพอสมควร ประกอบกับจะมีน้ำที่ปล่อยจากบ่อเลี้ยงกุ้งของผู้อื่นหลายรายลงมาในลำเหมืองอยู่เสมอ ๆ โจทก์จึงสามารถใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้อย่างเพียงพอแล้ว จึงไม่ควรที่จะให้จำเลยจำต้องยอมรับภาระจำยอมในอันที่จะให้โจทก์วางท่อระบายน้ำและตั้งเครื่องสูบน้ำบนที่ดินของจำเลยอีก
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น และให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายที่มาตักดินบริเวณที่จอดรถยนต์ที่โจทก์ทำไว้เป็นเงิน 15,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเปิดทางจำเป็น ส่วนคำขอในเรื่องค่าเสียหายให้ยก ดังนี้ เมื่อค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาในชั้นอุทธรณ์ เป็นค่าเสียหายในมูลละเมิด และมิใช่เป็นคำขอต่อเนื่องในเรื่องเดียวกันกับเรื่องทางจำเป็น จึงเป็นคนละมูลกรณีกัน สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ย่อมต้องแยกพิจารณา เมื่อคดีในส่วนค่าเสียหายมีทุนทรัพย์ไม่เกิน50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและสิทธิการเช่าซื้อที่ดิน: ทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง แม้ระเบียบจะยังไม่มีผลบังคับใช้
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาได้ เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาทในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง 20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยัง ผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวง ตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ โอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2535 ซึ่งออกโดยอาศัย อำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส. ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อส. ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมา บังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3 บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับ โจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2629 และตามพระราชบัญญัติ เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และฎีกาในคดีทรัพย์มรดก สิทธิเช่าซื้อที่ดิน และการตกทอดทางมรดก
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน
ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาบังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 และตามพ.ร.บ.เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39
ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาบังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 และตามพ.ร.บ.เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39