พบผลลัพธ์ทั้งหมด 645 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่เพียงขับไล่ และไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่า จำเลยได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 25 ไร่ ราคา 175,000 บาทวางมัดจำ 80,000 บาท ส่วนที่เหลือจะชำระให้ในวันจดทะเบียน โอนที่ดิน เมื่อถึงกำหนดนัดจำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือ โจทก์จึงริบมัดจำและถือว่าสัญญาเลิกกัน ที่ดินที่จำเลยบุกรุก ประมาณ 10 ไร่ หากให้เช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 12,000 บาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ผิดสัญญา เพราะไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยตามสัญญาได้ ขอให้ยกฟ้องและบังคับโจทก์รังวัดแบ่งแยกที่ดินเนื้อที่ 25 ไร่และจดทะเบียนโอนที่ดินให้จำเลย หากไม่สามารถแบ่งแยกได้ให้โจทก์คืนเงินมัดจำ 80,000 บาท สภาพแห่งข้อหามิใช่คดีฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองแต่เป็นคดีที่พิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินซึ่งราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า50,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลของอธิบดีกรมศุลกากรและการใช้ดุลพินิจตามระเบียบ หากถูกต้องตามขั้นตอนและไม่ประมาทเลินเล่อไม่ต้องคืนเงิน
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลตามบันทึกเสนอของจำเลยที่ 5 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดจึงต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนรับไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องจึงตั้งฐานมาจากคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 แม้โจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยแต่ละคนมีจำนวนเงินที่แน่นอน แต่โจทก์ก็ยังมีคำขอให้จำเลยที่ 2และที่ 5 ร่วมกันชดใช้เงินรางวัลทั้งหมดแทนจำเลยอื่น ทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 5 ร่วมกันชดใช้แทนจำเลยอื่นด้วย จำเลยทุกคนจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีอันมีทุนทรัพย์ทั้งหมดตามที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทุกคนซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 จึงมิใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ทั้งจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 ก็ได้อุทธรณ์ด้วยว่า อำนาจการสั่งจ่ายเงินรางวัลเป็นอำนาจโดยเฉพาะตัวของอธิบดีกรมศุลกากรเป็นอำนาจทางด้านการบริหารราชการและเป็นอำนาจเด็ดขาดของอธิบดีกรมศุลกากรไม่อาจถูกเพิกถอนได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอันเป็นข้อกฎหมาย ซึ่งหาได้ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดของจำเลยที่ 50 ถึงที่ 57 ด้วยเหตุที่อ้างว่าอุทธรณ์จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่ถูกต้อง กรณีไม่ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ทั้งหมดแก่จำเลยที่ 50 ถึงที่ 57
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี บัญญัติว่า"ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด..." และระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) กำหนดว่า "กรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 1คือความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีที่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละ 30 เป็นเงินรางวัลร้อยละ 25 กรณีที่ไม่มีผู้แจ้งความนำจับให้หักจ่ายเป็นรางวัลร้อยละ 30 โดยคำนวณจากค่าปรับ" ส่วนข้อ 6 (5) กำหนดว่า"เงินรางวัลตามข้อ 4 (1) และ (2) ให้จ่ายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้...(5) เงินรางวัลจะไม่จ่ายให้ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่าความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเช่น เป็นความผิดเกี่ยวกับพิธีการหรือเอกสาร เป็นต้น" บทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามจำนวนในข้อ 4 (1)ส่วนข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลคงเป็นไปตามข้อ 6 (5) คือในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรที่จะใช้ดุลพินิจได้โดยลำพังว่า ความผิดที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้มีการจ่ายเงินรางวัลนั้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วหรือไม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาเป็นเงื่อนไขเด็ดขาดที่จะต้องงดการจ่ายเงินรางวัลดังเช่นที่กำหนดไว้ในข้อ 11และข้อ 12 แห่งระเบียบดังกล่าวข้างต้นไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการกระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้มีการจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) และจำเลยที่ 2ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาสั่งให้จ่ายเงินรางวัลโดยไม่ได้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรหรืออธิบดีกรมศุลกากรในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นจากการตรวจจับสินค้ารายพิพาทนี้เป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว และสั่งมิให้จ่ายเงินรางวัลแต่ประการใดคำสั่งให้จ่ายเงินรางวัลของจำเลยที่ 2 จึงหาเป็นคำสั่งที่ผิดต่อระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 ไม่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 57 จึงไม่ต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง /เมื่อ
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลการปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลการได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุที่จะอนุมัติจ่ายเงินรางวัลได้ตามระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 และเห็นว่ามิใช่เป็นกรณีความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว จึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลแก่จำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดไปเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจสั่งอนุมัติจ่ายเงินรางวัลโดยทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจับกุมสินค้าและการเสนอขออนุมัติเบิกเงินรางวัลได้กระทำโดยถูกต้องตามขั้นตอนตามระเบียบการปฏิบัติราชการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 102 ตรี บัญญัติว่า"ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งจ่ายเงินสินบนและรางวัลตามระเบียบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด..." และระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) กำหนดว่า "กรณีตามมาตรา 102 ตรี อนุมาตรา 1คือความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในกรณีที่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้หักจ่ายเป็นเงินสินบนร้อยละ 30 เป็นเงินรางวัลร้อยละ 25 กรณีที่ไม่มีผู้แจ้งความนำจับให้หักจ่ายเป็นรางวัลร้อยละ 30 โดยคำนวณจากค่าปรับ" ส่วนข้อ 6 (5) กำหนดว่า"เงินรางวัลตามข้อ 4 (1) และ (2) ให้จ่ายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้...(5) เงินรางวัลจะไม่จ่ายให้ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่าความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเช่น เป็นความผิดเกี่ยวกับพิธีการหรือเอกสาร เป็นต้น" บทบัญญัติของกฎหมายและข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวข้างต้น แสดงว่าอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตามจำนวนในข้อ 4 (1)ส่วนข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเงินรางวัลคงเป็นไปตามข้อ 6 (5) คือในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วเท่านั้น ซึ่งเป็นการให้อำนาจแก่อธิบดีกรมศุลกากรที่จะใช้ดุลพินิจได้โดยลำพังว่า ความผิดที่เกิดขึ้นอันเป็นเหตุให้มีการจ่ายเงินรางวัลนั้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วหรือไม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาเป็นเงื่อนไขเด็ดขาดที่จะต้องงดการจ่ายเงินรางวัลดังเช่นที่กำหนดไว้ในข้อ 11และข้อ 12 แห่งระเบียบดังกล่าวข้างต้นไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ามีการกระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำกัดในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร อันมีผลทำให้มีการจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ. 2517 ข้อ 4 (1) และจำเลยที่ 2ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาสั่งให้จ่ายเงินรางวัลโดยไม่ได้ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรหรืออธิบดีกรมศุลกากรในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า ความผิดที่เกิดขึ้นจากการตรวจจับสินค้ารายพิพาทนี้เป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว และสั่งมิให้จ่ายเงินรางวัลแต่ประการใดคำสั่งให้จ่ายเงินรางวัลของจำเลยที่ 2 จึงหาเป็นคำสั่งที่ผิดต่อระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 ไม่ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 57 จึงไม่ต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง /เมื่อ
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลการปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมศุลการได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุที่จะอนุมัติจ่ายเงินรางวัลได้ตามระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัล พ.ศ.2517 และเห็นว่ามิใช่เป็นกรณีความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้ว จึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลแก่จำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดไปเมื่อจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจสั่งอนุมัติจ่ายเงินรางวัลโดยทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจับกุมสินค้าและการเสนอขออนุมัติเบิกเงินรางวัลได้กระทำโดยถูกต้องตามขั้นตอนตามระเบียบการปฏิบัติราชการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ดุลพินิจโดยประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสั่งจ่ายเงินรางวัลของอธิบดีกรมศุลกากร การใช้ดุลพินิจต้องไม่ขัดระเบียบ และการพิสูจน์ความผิดตามปกติวิสัย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่2ที่อนุมัติให้จ่ายเงินรางวัลตามบันทึกเสนอของจำเลยที่5เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายจำเลยทั้งห้าสิบเจ็ดจึงต้องคืนเงินรางวัลแก่โจทก์ตามส่วนที่จำเลยแต่ละคนรับไปสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามฟ้องจึงตั้งฐานมาจากคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่2แม้โจทก์จะเรียกร้องจากจำเลยแต่ละคนมีจำนวนเงินที่แน่นอนแต่โจทก์ก็ยังมีคำขอให้จำเลยที่2และที่5ร่วมกันชดใช้เงินรางวัลทั้งหมดแทนจำเลยอื่นทั้งศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยที่2และที่5ร่วมกันชดใช้แทนจำเลยอื่นด้วยจำเลยทุกคนจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีอันมีทุนทรัพย์ทั้งหมดตามที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยทุกคนอุทธรณ์ของจำเลยที่50ถึงที่57จึงมิใช่อุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย อุทธรณ์ที่ว่าอำนาจการสั่งจ่ายเงินรางวัลเป็นอำนาจโดยเฉพาะตัวของอธิบดีเป็นอำนาจทางด้านการบริหารราชการและเป็นอำนาจเด็ดขาดของอธิบดีไม่อาจถูกเพิกถอนได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อกฎหมายซึ่งหาได้ต้องห้ามอุทธรณ์แต่อย่างใดไม่ ระเบียบกรมศุลกากร ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลพ.ศ.2517ข้อ4(1),6(5)ออกโดยมาตรา102ตรีแห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากรพ.ศ.2469หาเป็นเงื่อนไขเด็ดขาดที่จะต้องงดการจ่ายเงินรางวัลดังเช่นที่กำหนดไว้ในข้อ11และข้อ12แห่งระเบียบดังกล่าวข้างต้นไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่ามีการกระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือของต้องห้ามต้องกำจัดในการนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันมีผลทำให้มีการจ่ายเงินรางวัลตามระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ.2517ข้อ4(1)และจำเลยที่2ซึ่งใช้อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรพิจารณาสั่งให้จ่ายเงินรางวัลโดยไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้พิจารณาเห็นว่าความผิดที่เกิดขึ้นเป็นความผิดซึ่งตามปกติวิสัยย่อมจะตรวจพบอยู่แล้วคำสั่งให้จ่ายเงินรางวัลของจำเลยที่2จึงหาเป็นคำสั่งที่ผิดต่อระเบียบกรมศุลกากรว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและรางวัลพ.ศ.2517ดังที่โจทก์อ้างในฟ้องไม่จำเลยที่1ถึงที่57จึง ไม่ต้องคืน เงินรางวัลแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9342/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คืนของหมั้นสินสอดต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่ง
อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามที่ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้คืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะว่าไม่มีการหมั้น อีกทั้งไม่มีเหตุที่ต้องคืนสินสอดให้แก่โจทก์ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสามจึงไม่ได้ผิดสัญญาและไม่ต้องคืนของหมั้นและสินสอดเป็นเงินรวม 41,250 บาท แก่โจทก์เป็นการ โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาว่ามีการหมั้น และ จำเลยทั้งสามเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอด แก่โจทก์ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท อีกทั้งมิได้เป็นคดีที่ เกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7549/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และคดีขอปลดเปลื้องทุกข์
โจทก์กล่าวในฟ้องถึงการกระทำของจำเลยแยกจากกันเป็นสองกรณี คือ จำเลยเป็นตัวการจ้างวานบุคคลอื่น ทำการขุดร่องน้ำในที่ดินบริเวณรัศมีคลองชลประทานสัมปทวน ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังของบุคคลซึ่งจำเลยว่าจ้างทำให้โดนท่อน้ำประปาของโจทก์ ซึ่งฝังไว้บริเวณทางเข้าที่ดินโจทก์แตกหักเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเงิน 100 บาท จำเลยในฐานะตัวการและผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชอบต่อ ความเสียหายดังกล่าวกรณีหนึ่ง และหลังจากที่จำเลยจ้างบุคคลอื่นขุดร่องน้ำในที่ดินดังกล่าวซึ่งโจทก์ใช้เป็นที่ทำสวนและเข้าออกสู่ถนนสาธารณประโยชน์แล้ว จำเลยได้เอาเครื่องสูบน้ำไปตั้งสูบน้ำขึ้นจากคลองชลประทานสัมปทวน เข้าไปในร่องน้ำดังกล่าว เป็นเหตุให้น้ำไหลเอ่อท่วมที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถปลูกพืชทำสวนในที่ดินนั้น ตลอดจนบริเวณพื้นที่รัศมีคลองชลประทานสัมปทวนได้อีกกรณีหนึ่ง ดังนี้ ในกรณีแรกโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ ค่าเสียหายในการซ่อมแซมท่อน้ำประปาเป็นเงิน 100 บาท เมื่อความเสียหายส่วนนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ส่วนกรณีหลัง โจทก์ขอให้บังคับจำเลยกลบร่องน้ำที่ขุดและทำที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิม กับห้ามจำเลยสูบน้ำจากคลองชลประทานสัมปทวนเข้าไปในร่องน้ำ ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคสอง แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการทำสวนในที่ดินบริเวณรัศมีคลองชลประทานสัมปทวนที่จำเลยขุดร่องน้ำและที่ดิน ของโจทก์เป็นเงิน 1,500 บาท และค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ 1,000 บาท มาด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบและเมื่อคดีในส่วนนี้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ส่วนกรณีหลัง โจทก์ขอให้บังคับจำเลยกลบร่องน้ำที่ขุดและทำที่ดินให้อยู่ในสภาพเดิม กับห้ามจำเลยสูบน้ำจากคลองชลประทานสัมปทวนเข้าไปในร่องน้ำ ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็น ราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคสอง แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการทำสวนในที่ดินบริเวณรัศมีคลองชลประทานสัมปทวนที่จำเลยขุดร่องน้ำและที่ดิน ของโจทก์เป็นเงิน 1,500 บาท และค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ 1,000 บาท มาด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบและเมื่อคดีในส่วนนี้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7046/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดีแพ่งและขอบเขตการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง กรณีทรัพย์สินพิพาทเป็นมรดกหรือทรัพย์สินอื่น
โจทก์ทั้งแปดฟ้องเรียกที่ดินสองแปลงจากจำเลยทั้งหก ขอให้แบ่งเป็น 4 ส่วน โจทก์ทั้งแปดขอแบ่ง 3 ส่วน ราคา 80,000 บาท โดยโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เรียกคนละ 1 ส่วน โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 8 เรียกรวมกัน 1 ส่วน แต่จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้ว่า ที่ดินสองแปลงไม่ใช่มรดก แต่เป็นทรัพย์ของ ป.ซึ่งจำเลยทั้งหกได้ร่วมกับ ป.ครอบครอง จนกระทั่ง ป.ถึงแก่ความตายจำเลยทั้งหกจึงได้สิทธิครอบครองที่ดินทั้งสองแปลง ศาลชั้นต้น พิพากษาให้จำเลยทั้งหกร่วมกันไปจดทะเบียนโอนแบ่งแยกที่ดิน ทั้งสองแปลงให้โจทก์ทั้งแปดโดยแบ่งที่ดินทั้งสองแปลงออกเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กัน และให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้คนละ 1 ส่วน โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 8 ได้รวมกัน 1 ส่วน จำเลยทั้งหกอุทธรณ์ ว่าที่ดินทั้งสองแปลงไม่ใช่มรดก แต่เป็นทรัพย์ของ ป.เมื่อ ป.ถึงแก่ความตาย จึงตกเป็นของจำเลยทั้งหกทั้งสองแปลง เท่ากับโต้เถียงว่า ที่ดินทั้ง 3 ส่วนของทั้งสองแปลง ราคา 80,000 บาท เป็นของจำเลยทั้งหกทั้งหมด ประกอบกับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นระหว่าง จำเลยทั้งหกก็ไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงต้องคิดทุนทรัพย์ที่ พิพาทรวมกัน ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงมีราคาเกินกว่า 50,000 บาท ไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกและการหมดอายุความมรดก กรณีทายาทผู้จัดการมรดกครอบครองแทนทายาทอื่น
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินเนื้อที่ 13 ไร่เป็นทรัพย์มรดกของ บ. ให้จำเลยแบ่งที่ดินแก่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทคนละ 1 ใน 5 ส่วน คิดเป็นที่ดินรวมกัน7 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา ราคา 78,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ว่าที่ดินทั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยจึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาท/ผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ทำให้เกิดอายุความ
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ 1 ใน 5 ส่วน โดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน 78,000 บาท จำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลย มิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ 78,000 บาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วย จำเลยจึงยกอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด 1 ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6560/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดก ไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องแบ่งมรดก
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.จากจำเลยให้แก่โจทก์คนละ1ใน5ส่วนโดยตีราคาทุนทรัพย์รวมกันมาในคำฟ้องเป็นเงิน78,000บาทจำเลยโต้เถียงว่าที่พิพาททั้งสามส่วนดังกล่าวเป็นของจำเลยมิใช่ทรัพย์มรดกของ บ. จึงไม่อาจแยกคิดทุนทรัพย์แต่ละส่วนตามที่โจทก์ทั้งสามขอมาได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์78,000บาทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ.ในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดีถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยจำเลยจึงยกอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทย่อมฟ้องขอแบ่งที่พิพาทจากจำเลยได้แม้เกินกำหนด1ปีนับแต่ บ. ถึงแก่ความตายก็ตาม