คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 224

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 645 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่า และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในการต่อสู้คดี
เมื่อค่าเช่าอาคารพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องได้กำหนดกันไว้แน่นอนแล้วว่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไปว่า อาคารพิพาทดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละเท่าใด คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคดีเช่า และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสาร
เมื่อค่าเช่าอาคารพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องได้กำหนดกันไว้แน่นอนแล้วว่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไปว่าอาคารพิพาทดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละเท่าใดคดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมายล.1ไปถึงโจทก์ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมายล.1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6086/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายที่บังคับใช้ ณ ขณะยื่นอุทธรณ์ แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง
การที่จะพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อ20 มีนาคม 2535 จึงต้องใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 27 ตุลาคม 2534 เป็นต้นไป
แม้ว่าจำเลยจะได้เคยยื่นอุทธรณ์มาแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้พิจารณาและพิพากษาใหม่ โดยอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้าม แต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ในขณะที่ ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ยังไม่มีผลบังคับ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับแล้วกรณีจะไม่บังคับใช้แก่กรณีที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยยกเว้นไม่ให้ย้อนหลังหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6086/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายใหม่กับการอุทธรณ์คดีแพ่ง: ผลกระทบจากพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534
การที่จะพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อ20มีนาคม2535จึงต้องใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่27ตุลาคม2534เป็นต้นไป แม้ว่าจำเลยจะได้เคยยื่นอุทธรณ์มาแล้วและศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้พิจารณาและพิพากษาใหม่โดยอุทธรณ์ของจำเลยไม่ต้องห้ามแต่ก็เป็นการยื่นอุทธรณ์ในขณะที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่ยังไม่มีผลบังคับเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ที่แก้ไขใหม่มีผลบังคับแล้วกรณีจะไม่บังคับใช้แก่กรณีที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยยกเว้นไม่ให้ย้อนหลังหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกคำนวณทุนทรัพย์พิพาทในคดีผิดสัญญาหลายวง
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดนั้นเกิดจากสัญญาเล่นแชร์2 วง แต่ละวงมีรายละเอียดข้อสัญญาต่างกัน จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาวงหนึ่งวงใดไม่เป็นเหตุให้ผิดสัญญาอีกวงหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเล่นแชร์วงแรกจึงมิได้เกี่ยวข้องกับข้อหาที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเล่นแชร์วงที่สอง แม้โจทก์จะได้รวมฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นสองข้อหารวมกันมาเป็นคดีเดียว โดยศาลชั้นต้นรับคำฟ้องไว้พิจารณา มิได้มีคำสั่งให้แยกคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 29 ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามฟ้อง โดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวเนื่องจากเป็นหนี้ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ในการคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นั้น ศาลต้องแยกคำนวณตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตามข้อหาของการผิดสัญญาเล่นแชร์แต่ละวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีที่มีราคาทรัพย์สินไม่เกิน 50,000 บาท: ผู้พิพากษาต้องพิจารณาเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้นการที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องขออุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อมีข้อจำกัดด้านมูลค่าทรัพย์สินที่พิพาท และหน้าที่ของผู้พิพากษาที่นั่ง
ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้นการที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่1และที่3โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีที่มีราคาทรัพย์สินไม่เกิน 50,000 บาท: ผู้พิพากษาต้องพิจารณาเหตุอันควรอุทธรณ์ตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้นการที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่1และที่3โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่มีราคาทรัพย์สินไม่เกิน 50,000 บาท และการรับรองเหตุอุทธรณ์ของผู้พิพากษา
คดีของผู้ร้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท และต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีผู้ร้องมีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้นการที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้อง จึงเป็นการสั่งโดยหลงผิดและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่งแล้ว ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องว่าจะรับรองหรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีที่มีราคาทรัพย์สินไม่เกิน 50,000 บาท และการรับรองเหตุอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีของผู้ร้องมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000บาทและต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีผู้ร้องมีเหุตอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้นการที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นการสั่งโดยหลงผิดและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่ได้ปฎิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งแล้วศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องว่าจะรับรองหรือไม่แล้วดำเนินการต่อไป
of 65