พบผลลัพธ์ทั้งหมด 645 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ต้นทุนทรัพย์สินเพื่อหักค่าเสื่อมราคาตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ซึ่งบัญญัติว่า "ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง..." จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกินห้าหมื่นบาทนั้น หมายถึง จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันตั้งแต่ชั้นฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลาง แตกต่างจาก ป.วิ.พ. มาตรา 224 ซึ่งบัญญัติว่า "ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง..." ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้ถือเอาราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นข้อพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์คิดเป็นเงินภาษีที่พิพาทกันจำนวน 347,380.91 บาท อันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทตามมาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 28 และ 30 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนซึ่งเกี่ยวพันกันจึงขออนุญาตให้เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์โต้แย้งการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว แม้เหตุผลการคัดค้านในคำอุทธรณ์จะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายจ่ายก็ตามแต่โจทก์ได้ยกรายจ่ายต่าง ๆ ขึ้นอ้างในการฟ้องคดีนี้อันเป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นการสนับสนุนว่า การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทไม่ชอบนั่นเอง โดยโจทก์ได้แสดงรายละเอียดของรายจ่ายในคำฟ้อง รายจ่ายที่โจทก์อ้างในคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (1), 8 ป.รัษฎากร มาตรา 30
ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 210/2546 ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2533 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2533 และรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โดยให้เพิ่มต้นทุนของทรัพย์สินในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินหลายรายการ ให้นำดอกเบี้ยที่จ่ายไปนั้นรวมเป็นต้นทุนของอาคารและทรัพย์สินอีกหลายรายการด้วย เป็นผลให้การบันทึกราคาต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ตลอดจนดอกเบี้ยที่จ่ายไปในระหว่างการจัดหาทรัพย์สินนั้นเพิ่มขึ้นและมีผลถึงการหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทด้วย ตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าววินิจฉัยถึงจำนวนต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ที่โจทก์สามารถพิสูจน์จำนวนเงินที่จ่ายไปอันเป็นต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ ทำให้หักค่าเสื่อมราคาได้มากขึ้นจริง โจทก์จึงสามารถพิสูจน์จำนวนเงินที่จ่ายไปในการก่อสร้างอาคารและอุปกรณ์อันเป็นต้นทุนในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินในคดีดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิว่า โจทก์คิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสูงไปสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงไม่ถูกต้อง
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนซึ่งเกี่ยวพันกันจึงขออนุญาตให้เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์โต้แย้งการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว แม้เหตุผลการคัดค้านในคำอุทธรณ์จะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายจ่ายก็ตามแต่โจทก์ได้ยกรายจ่ายต่าง ๆ ขึ้นอ้างในการฟ้องคดีนี้อันเป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นการสนับสนุนว่า การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทไม่ชอบนั่นเอง โดยโจทก์ได้แสดงรายละเอียดของรายจ่ายในคำฟ้อง รายจ่ายที่โจทก์อ้างในคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในประเด็นนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (1), 8 ป.รัษฎากร มาตรา 30
ศาลภาษีอากรกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 210/2546 ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2533 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2533 และรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 โดยให้เพิ่มต้นทุนของทรัพย์สินในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินหลายรายการ ให้นำดอกเบี้ยที่จ่ายไปนั้นรวมเป็นต้นทุนของอาคารและทรัพย์สินอีกหลายรายการด้วย เป็นผลให้การบันทึกราคาต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ตลอดจนดอกเบี้ยที่จ่ายไปในระหว่างการจัดหาทรัพย์สินนั้นเพิ่มขึ้นและมีผลถึงการหักค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทด้วย ตามคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าววินิจฉัยถึงจำนวนต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ที่โจทก์สามารถพิสูจน์จำนวนเงินที่จ่ายไปอันเป็นต้นทุนของอาคารและอุปกรณ์ ทำให้หักค่าเสื่อมราคาได้มากขึ้นจริง โจทก์จึงสามารถพิสูจน์จำนวนเงินที่จ่ายไปในการก่อสร้างอาคารและอุปกรณ์อันเป็นต้นทุนในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินในคดีดังกล่าวได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิว่า โจทก์คิดค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินสูงไปสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทในคดีที่โจทก์หลายคนครอบครองที่ดินแยกส่วน การอุทธรณ์ต้องพิจารณาทุนทรัพย์ของแต่ละคน
โจทก์ทั้งสามร่วมกันฟ้องจำเลยทั้งสี่เป็นคดีเดียวกันเพราะโจทก์ทั้งสามมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 แต่โจทก์ที่ 1 อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ม. บิดาโจทก์ที่ 1 เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายที่ดินเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ที่ 1 ต่อมาโจทก์ที่ 1 แบ่งที่ดินออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่ 1 เนื้อที่ 9 ไร่ 93 ตารางวา ราคาประมาณ 45,000 บาท โจทก์ที่ 1 ครอบครองทำประโยชน์ ส่วนที่ 2 เนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่ 1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 2 และส่วนที่ 3 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 39 ตารางวา ราคาประมาณ 40,000 บาท โจทก์ที่ 1 โอนสิทธิครอบครองให้แก่โจทก์ที่ 3 หลังจากนั้นโจทก์ทั้งสามขอออกโฉนดที่ดินแต่ละส่วนของแต่ละคน เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามส่วนที่แต่ละคนขอรังวัดออกโฉนด อันเป็นการที่โจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามมาตรา 55 การพิจารณาทุนทรัพย์ว่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง จึงต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน
โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไปเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม)
โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 และให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาใหม่ตามรูปคดีต่อไปเท่านั้น จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันและความรับผิดร่วม: ศาลฎีกาชี้ว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในสัญญาซื้อขาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระค่าปรับเพราะผิดสัญญาซื้อขายรวม 4 ฉบับ โดยมีจำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายรายฉบับรวม 4 ฉบับ หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาซื้อขายโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับและหลักประกันสัญญาตามรายสัญญา แม้โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายรวมกันมาทั้งสี่ฉบับการกำหนดค่าปรับก็ต้องพิจารณาภายในวงเงินตามสัญญาซื้อขายแต่ละฉบับ จำนวนทุนทรัพย์แห่งคดีจึงต้องคำนวณแยกตามสัญญาซื้อขายและหนังสือค้ำประกันนั้นเป็นรายสัญญา เมื่อมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาในแต่ละสัญญาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับรวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,325.37 บาท และหลักประกันสัญญารวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 3,212.57 บาท รวมเป็นเงิน 10,537.94 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าปรับให้ 3,000 บาท คงเหลือจำนวนค่าปรับที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 7,537.94 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับปัญหาในการกำหนดค่าปรับเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะเห็นพ้องกับการกำหนดค่าปรับของศาลอุทธรณ์และไม่ฎีกาค่าปรับในส่วนนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขได้ตามมาตรา 142 (5)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 กำหนดอัตราค่าปรับให้หน่วยราชการใช้และถือปฏิบัติเป็นหลักทั่วไปเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม หากให้แต่ละหน่วยราชการต่างกำหนดค่าปรับเองกรณีผิดสัญญาก็จะทำให้เกิดความลักลั่นไม่เป็นธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าอัตราค่าปรับที่กำหนดในระเบียบดังกล่าวจะเหมาะสมแก่ทุกกรณี เมื่อค่าปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันเป็นความรับผิดที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าปรับตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันระบุว่า ยอมผูกพันตนโดยไม่มีเงื่อนไขที่จะค้ำประกันชนิดเพิกถอนไม่ได้เช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น และให้โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อนซึ่งมีลักษณะต้องร่วมรับผิดอยู่แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับรวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 7,325.37 บาท และหลักประกันสัญญารวมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 3,212.57 บาท รวมเป็นเงิน 10,537.94 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าปรับให้ 3,000 บาท คงเหลือจำนวนค่าปรับที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เพียง 7,537.94 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ที่เกี่ยวกับปัญหาในการกำหนดค่าปรับเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่ชอบ แม้โจทก์จะเห็นพ้องกับการกำหนดค่าปรับของศาลอุทธรณ์และไม่ฎีกาค่าปรับในส่วนนี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขได้ตามมาตรา 142 (5)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 กำหนดอัตราค่าปรับให้หน่วยราชการใช้และถือปฏิบัติเป็นหลักทั่วไปเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเป็นธรรม หากให้แต่ละหน่วยราชการต่างกำหนดค่าปรับเองกรณีผิดสัญญาก็จะทำให้เกิดความลักลั่นไม่เป็นธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าอัตราค่าปรับที่กำหนดในระเบียบดังกล่าวจะเหมาะสมแก่ทุกกรณี เมื่อค่าปรับดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันเป็นความรับผิดที่เกิดจากการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าปรับตามสัญญาซื้อขายแก่โจทก์ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันระบุว่า ยอมผูกพันตนโดยไม่มีเงื่อนไขที่จะค้ำประกันชนิดเพิกถอนไม่ได้เช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น และให้โจทก์เรียกร้องจากจำเลยที่ 2 ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อนซึ่งมีลักษณะต้องร่วมรับผิดอยู่แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ให้โจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์จำกัดเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินขอบเขต เป็นการละเมิดอำนาจและต้องห้ามตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นให้เหตุผลในคำพิพากษาว่า การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยตลอด เป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ มิใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อจะขายอันจะเป็นการครอบครองแทนจำเลยที่ 1 เมื่อครอบครองโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ แต่ขออุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายว่าเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันแล้ว คู่ความจะต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมหรือไม่ มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นว่า ไม่ชอบอย่างไร การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายให้จำเลยทั้งห้า แต่ได้ก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ยังไม่ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 1 ว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น และเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายก่อน ทั้งที่อุทธรร์ของจำเลยทั้งห้าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6448/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้บุกรุกหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด และประเด็นการห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องและขอให้เรียการรถไฟแห่งประเทศไทยเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เช่าที่ดินจากโจทก์ร่วม แต่โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมได้ เนื่องจากมีอาคารของจำเลยปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารที่ปลูกอยู่และส่งมอบที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย กับให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วม ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็คือจำเลยไม่ยอมขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารออกไป และไม่ยอมรื้อถอนอาคารของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่โจทก์เช่าจากโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ส่วนคำขอบังคับก็คือให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งรื้อถอนอาคารและส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์รวมทั้งใช้ค่าเสียหาย ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่า โจทก์ร่วมบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยหรือไม่ อย่างไร และจำเลยไม่มีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนอาคารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แม้จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 3,200 บาท หรือเดือนละ 96,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 96,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนอาคารออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แม้จะขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 3,200 บาท หรือเดือนละ 96,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 96,000 บาท แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท กรณีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้รับวินิจฉัยเพราะเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของจำเลยกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่จำเลยทำกับโจทก์ร่วมได้ระงับไปแล้ว การที่จำเลยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปอีกจึงเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ แม้การอยู่ในที่ดินพิพาทของจำเลยจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมผู้ให้เช่า มิได้เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินรวมทั้งที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่เมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทก็ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เพราะเข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิที่มีอยู่ตามสัญญาเช่าไม่ได้เนื่องจากมีจำเลยเป็นผู้รอนสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 477 ประกอบมาตรา 549 แม้โจทก์ระบุข้อหาหรือฐานความผิดในคำฟ้องคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดและสรุปการกระทำของจำเลยตามที่บรรยายมาในคำฟ้องว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ แต่ในการวินิจฉัยคดีศาลย่อมมีอำนาจปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องให้จำเลยรับผิดตรงตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้
การวินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ต้องพิจารณาถึงสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6179/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่, สัญญาเช่าช่วง, นิติกรรมอำพราง, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุของกองจัดประโยชน์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง อาคารตึกแถวเลขที่ 231 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าขณะยื่นฟ้องเดือนละ 2,000 บาท แม้โจทก์จะเรียกร้องค่าเสียหายนับแต่วันบอกเลิกสัญญาเดือนละ 10,000 บาท ก็เป็นค่าเสียหายอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์มิได้ให้เช่าช่วงแต่มีเจตนาโอนสิทธิการเช่า เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาเช่าช่วงเป็นนิติกรรมอำพรางการโอนสิทธิการเช่าหรือไม่ จำเลยอุทธรณ์ในประเด็นนี้โดยผู้พิพากษาซึ่งนั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมิได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
สัญญาเช่าช่วงอาคารชั้นล่างบางส่วนมีข้อตกลงว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกสัญญาจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 566 สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวมีข้อตกลงระบุชำระค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท ไม่ระบุวันที่ชำระค่าเช่าแน่นอน จึงต้องถือเอาวันสิ้นเดือนเป็นกำหนดชำระค่าเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 559 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยได้รับหนังสือวันที่ 4 สิงหาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มีนาคม 2538 การบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงจึงชอบแล้ว
สัญญาเช่าช่วงอาคารชั้นล่างบางส่วนมีข้อตกลงว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา การเลิกสัญญาจึงต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 566 สัญญาเช่าช่วงดังกล่าวมีข้อตกลงระบุชำระค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท ไม่ระบุวันที่ชำระค่าเช่าแน่นอน จึงต้องถือเอาวันสิ้นเดือนเป็นกำหนดชำระค่าเช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 559 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงและจำเลยได้รับหนังสือวันที่ 4 สิงหาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 มีนาคม 2538 การบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4707/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีที่ดินสาธารณประโยชน์: การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม & ข้อกล่าวอ้างนอกประเด็น
องค์การบริหารส่วนตำบลโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาที่ดินพิพาทตามกฎหมาย จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย ประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์และจำเลยโต้เถียงกันจึงมีว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือเป็นที่ดินของจำเลย หากศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายใดชนะคดีย่อมมีผลทำให้คู่ความฝ่ายนั้นได้รับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ โดยถือทุนทรัพย์เท่ากับราคาที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์เรียกร้อง 32,240 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่คู่ความมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง นั้น จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ฎีกา โดยข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ กล่าวคือต้องมิใช่ข้อเท็จจริงในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น หรือไม่เกี่ยวกับที่คู่ความฝ่ายในฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง มิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ คดีจึงไม่มีประเด็นที่คู่ความจะต้องนำสืบว่า ส. และ พ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่อาจนำมาวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกามาได้ และถือว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่คู่ความมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง นั้น จำต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่ฎีกา โดยข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ กล่าวคือต้องมิใช่ข้อเท็จจริงในเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น หรือไม่เกี่ยวกับที่คู่ความฝ่ายในฝ่ายหนึ่งมีหน้าที่ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โดยอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่จำเลยมีสิทธิครอบครอง มิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ คดีจึงไม่มีประเด็นที่คู่ความจะต้องนำสืบว่า ส. และ พ. ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาห้ามโอนตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่อาจนำมาวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกามาได้ และถือว่าฎีกาของจำเลยในข้อนี้เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ฐานโกงเจ้าหนี้: ปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง
อุทธรณ์โจทก์ที่ว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ผู้ตายโอนที่ดินของผู้ตายเป็นชื่อของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 แต่เพิ่งโอนที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อของจำเลยในฐานะส่วนตัวเมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2544 เนื่องจากจำเลยทราบว่า ศาลจังหวัดนครปฐมมีคำพิพากษาแล้ว และจำเลยสามารถนำที่ดินของผู้ตายไปวางเป็นหลักประกันต่อศาลในการขอทุเลาการบังคับคดีภายในเวลาที่ศาลกำหนดได้ แต่จำเลยกลับขอขยายระยะเวลาในการวางหลักประกันออกไป เมื่อศาลไม่อนุญาต จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งและนำที่ดินของบุคคลอื่นไปวางเป็นหลักประกันต่อศาลแทน แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนโดยรู้ว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้วนั้น เป็นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วนั้นว่าเข้าองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993-3994/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาต้องพิจารณาทุนทรัพย์รายคดี และการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญา
คดี 2 เรื่อง ได้พิจารณาพิพากษารวมกัน ต้องพิจารณาทุนทรัพย์เป็นรายคดีมิใช่ถือทุนทรัพย์ 2 คดี มารวมกันคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่อุทธรณ์ เมื่อคดีสำนวนหลังมีทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์เพียง 42,168.49 บาท ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 อุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ในสำนวนหลังด้วยจึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในสำนวนหลังชอบแล้ว แม้ในชั้นฎีกาผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และศาลชั้นต้นได้สั่งรับฎีกาของจำเลยก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลต้องฟังข้อพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด และสิ่งใดที่บุคคลธรรมดาอาจตรวจเห็นได้แล้วศาลก็ย่อมตรวจเห็นเองได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมีอำนาจตรวจสอบลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหลายฉบับในสำนวนเปรียบเทียบกันเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดว่าลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยได้
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุใบเสร็จรับเงินท้ายฎีกาเป็นพยานและไม่ได้นำสืบไว้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
การวินิจฉัยลายมือชื่อในเอกสารว่าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลต้องฟังข้อพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญแต่อย่างใด และสิ่งใดที่บุคคลธรรมดาอาจตรวจเห็นได้แล้วศาลก็ย่อมตรวจเห็นเองได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จึงมีอำนาจตรวจสอบลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารหลายฉบับในสำนวนเปรียบเทียบกันเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดว่าลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยได้
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุใบเสร็จรับเงินท้ายฎีกาเป็นพยานและไม่ได้นำสืบไว้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีขับไล่และฟ้องแย้งสัญญาเช่า: การพิจารณาค่าเช่าและประเภทคดี
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นจากยกฟ้องแย้งเป็นให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวที่พิพาทให้แก่จำเลย แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแต่เพียงว่าคดีจำเลยต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาให้ยกอุทธรณ์โดยมิได้วินิจฉัยคดีในส่วนของฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวที่พิพาทเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตึกแถวที่พิพาทเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง