พบผลลัพธ์ทั้งหมด 645 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8046/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีร่วมกันของลูกหนี้หลายคน การคำนวณทุนทรัพย์ และข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ทั้งสิบสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่างวดและดอกแชร์ที่จำเลยได้เรียกเก็บจากลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ไปแล้ว แต่ไม่ส่งมอบให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 242,157.50 บาท แม้โจทก์ทั้งสิบสองจะร่วมเล่นแชร์ในวงแชร์ที่มีจำเลยเป็นนายวง แต่โจทก์แต่ละคนก็ไม่มีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกัน กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสิบสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 การคำนวณทุนทรัพย์จึงต้องแยกตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เมื่อโจทก์แต่ละคนไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ตนเรียกร้องก็ต้องถือว่าโจทก์แต่ละคนเรียกร้องจำนวนเงินเท่าๆ กัน ซึ่งคือคนละ 20,179.75 บาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6032/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากไม่มีทุนทรัพย์เป็นมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดิน ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
แม้คำขอโจทก์ท้ายฟ้องจะขอให้จำเลยพร้อมทั้งบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่พิพาทจำเลยเป็นผู้ครอบครองตลอดมาเท่ากับจำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ศาลชั้นต้นจึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ ซึ่งนัยความหมายของประเด็นดังกล่าวคือโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทหรือไม่อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะขอให้จำเลยพร้อมบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างได้หรือไม่ ดังนั้น ราคาของที่พิพาทในคดีนี้จึงอาจคำนวณราคาเป็นราคาเงินได้ คดีโจทก์เดิมที่บังคับขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์นั้นจึงกลายเป็นคดีที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาของที่พิพาทซึ่งเท่ากับ 25,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, ขาดนัดพิจารณา, การพิจารณาคดีฝ่ายเดียว, ฟ้องแย้ง, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่ามีค่าเช่าเดือนละ 24,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าค่าเช่ามีเพียงเดือนละ 2,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์เดือนละ 2,000 บาท โจทก์ไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท และในส่วนฟ้องแย้งนั้นจำเลยมีคำขอบังคับให้โจทก์คืนเงินมัดจำ 50,000 บาท แก่จำเลยพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คดีตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วย เมื่อโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จนเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.พ. 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยไม่มาศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมถือได้ว่าจำเลยขาดนัดทั้งสองฐานะ คือทั้งที่เป็นจำเลยและที่เป็นโจทก์ฟ้องแย้งด้วย เมื่อโจทก์ได้นำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นตามฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์จนเสร็จแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าโจทก์ในฐานะจำเลยฟ้องแย้งได้ขอดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตาม ป.วิ.พ. 201 (เดิม) แล้ว การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาคดีในส่วนฟ้องแย้งจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีครอบครองที่ดินพิพาทที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้จับจองครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะ ขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีมีข้อพิพาทโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ตีราคามาเป็นเงิน 50,000 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าแผงขายสินค้าที่จำเลยปลูกสร้างอยู่ในเขตที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าว อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์และพิพากษาคดีมาจึงเป็นการไม่ชอบ ฎีกาโจทก์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการพิสูจน์กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม โดยอ้างเหตุผลความถูกต้องของประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย
คดีสืบเนื่องจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดบ้านของจำเลยเพื่อบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทอ้างว่าเป็นของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า บ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือของผู้ร้อง จึงตรงตามคำร้องขอ มิได้เป็นการคลาดเคลื่อนต่อกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาทมิใช่ของผู้ร้อง ก็มีผลเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยบ้านพิพาทโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่อีก
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของผู้ร้องกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาของผู้ร้องที่ว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 ฎีกาข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้ฎีกาของผู้ร้องกลับกลายเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และผลกระทบจากความเข้าใจผิดเรื่องกระบวนพิจารณา
คดีโจทก์มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ตลอดจนศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยต่อมาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ต้นดำเนินการอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์และศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์มาทำให้โจทก์ผิดหลงเข้าใจว่าคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โดยเข้าใจว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิในการยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองอุทธรณ์หรือได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่ารวมเงินกินเปล่าไม่เกินเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ไม่เป็นอุปสรรคการอุทธรณ์
สัญญาเช่าอาคารมีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่า ค่าเช่าเดือนละ 4,000 บาท และผู้เช่าชำระเงินกินเปล่า 500,000 บาท เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้า จึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าสำหรับการยื่นอุทธรณ์ด้วย สัญญาเช่ากำหนดเวลาเช่า 9 ปี 6 เดือน ดังนั้น เงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้า 500,000 บาท คิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 4,385.96 บาท รวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ 4,000 บาท เป็นค่าเช่าเดือนละ 8,385.96 บาท ในขณะยื่นคำฟ้อง ซึ่งเป็นค่าเช่า ที่เกินเดือนละ 4,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง คดีหมั้นหมาย ทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท และการโต้เถียงดุลพินิจพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3ร่วมกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกัน เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหาดังกล่าวให้ เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาปัญหาเพียงข้อเดียวว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีราคารวมเป็นเงิน 162,500บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของขำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์ทั้งสองตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีราคารวมเป็นเงิน 162,500บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของขำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นเจ้าของที่ดินพิพาทเป็นหลัก: คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยปักเสาและทำกำแพงคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แม้จะมีคำขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกไปและทำให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพเดิม อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การว่า จำเลยกั้นรั้วล้อมรอบที่ดินของจำเลยเอง มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ตามคำฟ้องและคำให้การมีประเด็นโต้เถียงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลักดังนั้น ตามคำฟ้องที่ขอให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกไปและทำให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพเดิม จึงเป็นผลอันเนื่องมาจากว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เพราะศาลจะบังคับตามคำขอนี้ได้ก็ต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีขับไล่ที่จำเลยปฏิเสธการเช่าและอ้างที่ดินสาธารณะ ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์ แม้จะให้การมาด้วยว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่บนที่ดินสาธารณประโยชน์ แต่คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธนิติสัมพันธ์และนิติเหตุตามฟ้องซึ่งเป็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อยู่ในประเด็นแห่งคดีตามฟ้องโจทก์ที่ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปพร้อมทั้งรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาทกับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าเดือนละ 1,000 บาท ข้อต่อสู้ดังกล่าวไม่ทำให้คดีมีประเด็นใหม่นอกเหนือจากประเด็นแห่งคดีตามฟ้อง จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท ซึ่งห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง