พบผลลัพธ์ทั้งหมด 645 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดีที่ดิน: ใช้เนื้อที่จริงในการคิดค่าธรรมเนียมและอุทธรณ์ แม้การประมาณการในชั้นต้นจะต่างกัน
การคำนวณราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่ว่าเพื่อเสียค่าธรรมเนียมศาลหรืออุทธรณ์ฎีกา ต้องคำนวณตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ตามความเป็นจริง
ตามคำฟ้อง คำให้การ และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความได้คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ที่ดินพิพาทได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาท ราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท ต้องถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
ตามคำฟ้อง คำให้การ และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความได้คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ที่ดินพิพาทได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาท ราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท ต้องถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตรงกัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทแม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ6,000 บาท ซึ่งหมายถึงอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท หรือมากกว่านี้ก็ตามแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละ 3,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง และ 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้ว และประเด็นการโอนสิทธิการเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทแม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,000 บาท ซึ่งหมายถึงอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท หรือมากกว่านี้ก็ตามแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละ 3,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง และ248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7382/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังแผนที่พิพาทเป็นพยานหลักฐาน และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 7450ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนขนย้ายบ้านพิพาทพร้อมทรัพย์สินต่าง ๆ และบริวารออกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 7450 กับชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเดือนละ 380 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทภายใน 7 วัน ต่อมาโจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยได้คำนวณทุนทรัพย์ของที่ดินพิพาทรวมเป็นเงิน 620,000 บาท คำสั่งของศาลชั้นต้นนี้จะชอบหรือไม่ประการใดคู่ความทุกฝ่ายรวมทั้งจำเลยต้องรู้ หากจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องชอบที่จะยื่นคำร้อง ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณามีคำสั่งในเรื่องนี้ใหม่หรือโต้แย้งคัดค้านไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในภายหลังได้ แต่หากไม่ดำเนินการจนเกิดความผิดพลาดขึ้นก็จะกลับมาปฏิเสธเพื่อให้พ้นความรับผิดมิได้
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1จะได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้โดยอาจเข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 และผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้อีก
โจทก์อ้างแผนที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการจัดทำแล้วเป็นเพียงการอ้างเอกสารเป็นพยานเท่านั้น ส่วนศาลจะรับฟังหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล และการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลต้องรับรองความถูกต้องเสียก่อน
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1จะได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้โดยอาจเข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ชอบถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ถือเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 และผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้อีก
โจทก์อ้างแผนที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการจัดทำแล้วเป็นเพียงการอ้างเอกสารเป็นพยานเท่านั้น ส่วนศาลจะรับฟังหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล และการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลต้องรับรองความถูกต้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7382/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ในวันนัดพร้อม คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงรับข้อเท็จจริงว่าแผนที่พิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ศาลชั้นต้นจึงให้เลื่อนนัดชี้สองสถานไป ครั้งถึงวันนัดชี้สองสถาน จำเลยแถลงคัดค้านเรื่องเนื้อที่ตามแผนที่พิพาทจึงขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำแผนที่พิพาทใหม่ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ยกเลิกการทำแผนที่พิพาทกลาง ต่อมาโจทก์ได้อ้างพนักงานที่ดินผู้จัดทำแผนที่พิพาทมาเป็นพยานต่อศาล เพื่อเบิกความยืนยันถึงรายละเอียดและวิธีการจัดทำแผนที่พิพาทดังกล่าว พร้อมกันนั้นทนายโจทก์ได้ส่งเอกสารแผนที่พิพาทมาเป็นพยานต่อศาลด้วย กรณีจึงเห็นได้ว่า โจทก์เพียงแต่อ้างแผนที่พิพาทเป็นเอกสารฉบับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งศาลจะรับฟังหรือไม่ก็แล้วแต่ดุลพินิจของศาลทั้งการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลต้องรับรองความถูกต้องเสียก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานเอกสาร ถือเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อคดีจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้โดยอาจเข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ก็ย่อมเป็นการไม่ชอบตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ดังนี้ ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้อีก ทั้งศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยได้ด้วยเพราะเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์สั่งคดีมีทุนทรัพย์ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลย จำเลย ให้การว่า มารดาของจำเลยได้ครอบครองสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาเป็นเวลาถึง 36 ปีที่พิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระ ตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาสั่งต่อไปศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วให้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ ถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้เห็นสมควรยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และยกฎีกา ของจำเลย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระ ตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 แต่จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาสั่งต่อไปศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะสั่งว่า จำเลยทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 246 แต่ศาลอุทธรณ์กลับสั่งว่าคดีของจำเลยมีทุนทรัพย์ ให้ศาลชั้นต้นเรียกให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วให้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ ถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 243 ประกอบมาตรา 247 ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้เห็นสมควรยกคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี และยกฎีกา ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าต้องมีเหตุความจำเป็นตามนโยบายที่ชัดเจน การใช้พื้นที่จริงเป็นเกณฑ์
จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเรื่องความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างทางขึ้น-ลง เพิ่มเติมสำหรับทางด่วนเฉลิมมหานครผิดไปจากพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน เป็นอุทธรณ์ใน ข้อกฎหมายไม่ใช่เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน
ตามสัญญาจัดหาประโยชน์ในเขตทางพิเศษระบุว่าถ้าผู้ร้องสอดมีความจำเป็นตามนโยบายแล้วผู้ร้องสอด มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ และตามสัญญาเช่าช่วงระบุว่าถ้ามีความจำเป็นตามนโยบายของผู้ร้องสอดแล้ว โจทก์มีสิทธิบอกเลิกการเช่าได้ การบอกเลิกการเช่าก่อนครบกำหนดตามสัญญาทั้งสองฉบับจึงขึ้นอยู่กับความจำเป็นของผู้ร้องสอด และคำว่า "จำเป็น" ตามพจนานุกรมหมายความว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องทำ ขาดไม่ได้ กรณีจึงหมายความว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จะขาดพื้นที่ส่วนนี้เสียมิได้ แต่ในขณะที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2537 เห็นชอบตามโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ขออนุมัตินั้น ยังไม่มีการออกแบบรายละเอียดทางขึ้น - ลง และกำหนดจุดก่อสร้างที่แน่ชัด เป็นเพียงระบุสถานที่ ก่อสร้างไว้กว้าง ๆ ว่าเป็นบริเวณถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และทางแยกต่างระดับคลองเตย ซึ่งในส่วนของทางแยกต่างระดับคลองเตยที่โจทก์เช่าจากผู้ร้องสอดก็มีพื้นที่ถึง 8,000 ตารางวา ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงอนุมัติเพียงหลักและ วิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการอันตรงกับความหมายของคำว่า "นโยบาย" ตามพจนานุกรมเท่านั้น ยังไม่อาจระบุรายละเอียดที่แน่ชัดได้ว่าผู้ร้องสอดต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้างหรือไม่ และก่อนที่ผู้ร้องสอดจะบอกเลิกการเช่าบางส่วนแก่โจทก์ก็ยังปรากฏอีกว่าตำแหน่งเสาของโครงการปรับปรุงแก้ไขทางขึ้น - ลง เพิ่มเติม ไม่ได้ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 อีกทั้งทางขึ้น - ลงเพิ่มเติมนั้นได้ก่อสร้างเสร็จและเปิดใช้มาเป็นเวลาประมาณ 1 ปี แล้วโดยตึกแถวเลขที่ 98/57 ก็ยังคงตั้งอยู่ ดังนั้นแม้จะไม่ใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ผู้ร้องสอดก็ยังคงก่อสร้างทางขึ้น - ลง เพิ่มเติมได้ เมื่อผู้ร้องสอดไม่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 ในการก่อสร้าง จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ในส่วนพื้นที่ตึกแถวเลขที่ 98/57 แก่โจทก์ และโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลา แม้จะมีเหตุผล ก็ไม่สามารถขยายเวลาอุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้นหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วันเพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต และการขยายระยะเวลาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้น หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วัน เพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟัง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่