คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 224

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 645 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก, การจัดการมรดกสิ้นสุดเมื่อใด, การยินยอมทายาทต่อการจัดการมรดก
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้ที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงรวมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาท 2 แปลง เป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ ณ. เจ้ามรดก และเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดรวมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ทั้งห้า โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์แต่ละคนรวมทั้งจำเลยที่ 1 ต่างได้รับมรดกดังกล่าวคนละส่วนเท่า ๆ กัน รวม 6 ส่วน คิดเป็นเงินรวม 398,200 บาท จำเลยทั้งสามให้การว่า ที่ดินพิพาททั้งหมดรวมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดก แม้โจทก์ทั้งห้าฟ้องรวมกันมา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่ดินทั้งสี่ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ต้องคิดแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนมีสิทธิได้รับ มิใช่กรณีนำเฉพาะราคาที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 27623 มาคิดแยกรายแปลงเป็นทุนทรัพย์ของโจทก์ทั้งห้า
มูลเหตุที่โจทก์ทั้งห้าอ้างนำคดีนี้มาฟ้องเกิดจากการที่ ท. ผู้จัดการมรดกละเลยและไม่ปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก โดยไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ บ. ทายาทอย่างถูกต้อง อันเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 เมื่อ ท. และ บ. ถึงแก่ความตายก่อนฟ้องคดีนี้ โจทก์ทั้งห้าในฐานะผู้สืบสันดานของ บ. จึงสืบสิทธิของ บ. มาฟ้องคดีนี้ ซึ่งเป็นการฟ้องเกี่ยวกับการจัดการมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ได้บัญญัติเรื่องอายุความในการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกไว้โดยเฉพาะว่า ห้ามมิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง จำเลยที่ 1 เป็นผู้สืบสิทธิของ บ. เช่นเดียวกับโจทก์ทั้งห้า ถือว่าเป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท ดังนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิของ บ. ยกอายุความห้าปีตามบทบัญญัติดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งห้าได้ โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้เกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2262/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6617-6619/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินกำหนดระยะเวลา และการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 คู่ความไม่อุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในชั้นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 หลังจากระยะเวลาในการบังคับคดีล่วงเลยมานานถึง 9 ปีเศษ ใกล้จะพ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีแล้วจึงนับว่าเป็นความบกพร่องอันเป็นความผิดของโจทก์เองที่ไม่รีบดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยเสียแต่เนิ่น ๆ ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่า ตามคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีของโจทก์ไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่มีเหตุสุดวิสัย เท่ากับศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าไม่มีเหตุดังที่โจทก์อ้างมาในคำร้อง อันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุสุดวิสัยที่ศาลควรอนุญาตขยายระยะเวลาบังคับคดีให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 หรือไม่ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2557 มีเหตุที่จะขยายระยะเวลา เนื่องจากรายงานผลการส่งคำบังคับยังไม่เข้าสำนวน โจทก์จึงสามารถยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดีได้และตามคำร้องขอขยายระยะเวลาบังคับคดีฉบับลงวันที่ 1 ตุลาคม 2557 โจทก์สืบทราบว่าจำเลยทำงานที่บริษัท บ. ซึ่งอยู่ภายในระยะเวลาบังคับคดีเช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษหรือมีเหตุสุดวิสัยนั้น เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์แม้จะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกัน ก็ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14296/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องห้ามตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง ป.วิ.พ. กรณีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และหน้าที่การยื่นคำร้องขอรับรองเหตุอุทธรณ์
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติข้อยกเว้นให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ เมื่อผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นได้ทำความเห็นแย้งไว้หรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ ถ้าไม่มีความเห็นแย้งหรือคำรับรองเช่นว่านี้ ต้องได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาชั้นต้นหรืออธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจ แล้วแต่กรณีซึ่งการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้นั้นมาตรา 224 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลได้รับคำร้องเช่นว่านั้น ให้ศาลส่งคำร้องพร้อมด้วยสำนวนความไปยังผู้พิพากษาดังกล่าวเพื่อพิจารณารับรอง ดังนั้น หากโจทก์ประสงค์จะขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์โดยไม่ได้ยื่นคำร้องเพื่อให้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว อุทธรณ์ของโจทก์จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนความแล้วเห็นว่าอุทธรณ์นั้นต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียได้ตามมาตรา 242 (1) ทั้งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์มาโดยไม่ชอบนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243 (1) อันจะเป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้มีคำสั่งใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12502/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในครอบครัว: การดูแลบุตรหลังการจดทะเบียนรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยได้ดำเนินการจดทะเบียนผู้เยาว์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1548 แล้ว ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของทั้งโจทก์และจำเลย ตามมาตรา 1546 และ 1547
ศาลล่างทั้งสองยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาว่าผู้เยาว์สมควรจะอยู่กับโจทก์หรือจำเลย เพราะข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์เพิ่งจะปรากฏขึ้นในชั้นฎีกา แต่เมื่อคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวไม่ต้องห้ามอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และ 248 ทั้งข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนเพียงพอที่จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนลงไปให้ศาลล่างวินิจฉัยก่อน ศาลฎีกาสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ไปเลย
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ มีอำนาจปกครองและเลี้ยงดูผู้เยาว์ด้วยกัน แต่เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้อยู่ด้วยกัน กรณีจึงพิจารณาความเหมาะสมว่าผู้เยาว์อยู่กับผู้ใดจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์สูงสุด เมื่อโจทก์เพิ่งจะประกอบอาชีพค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนจำเลยทำงานมีความมั่นคง ทั้งผู้เยาว์อยู่อาศัยกับจำเลยมาโดยตลอด ผู้เยาว์เข้ารับการศึกษาในโรงเรียน มีเพื่อน มีความอบอุ่นอยู่แล้ว ทั้งไม่มีข้อบกพร่องในการดูแลของจำเลย การจะให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับโจทก์ เป็นการให้ผู้เยาว์ไปเผชิญสภาพแวดล้อมใหม่ หาโรงเรียนใหม่ เข้าสู่สังคมใหม่ ที่ไม่ปรากฏว่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์หรือผู้เยาว์จะได้รับประโยชน์หรือไม่ กรณีไม่มีความเหมาะสมที่จะให้ผู้เยาว์ไปอยู่กับโจทก์ การที่ผู้เยาว์อยู่อาศัยกับจำเลยจึงมีความเหมาะสมกว่า ทั้งนี้ ให้จำเลยเปิดโอกาสให้โจทก์ได้พบผู้เยาว์ได้ตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10493/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัด โจทก์ต้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงตามขั้นตอนกฎหมาย
คดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วเห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ หรืออัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 และมาตรา 22 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ซึ่งขั้นตอนในการปฏิบัติตามข้อยกเว้นให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ดังกล่าวมิได้มีบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือ โจทก์ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้น อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องดังที่กล่าวข้างต้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์และให้ส่งสำเนาให้จำเลยทั้งสามแก้ จึงไม่มีผลตามกฎหมายให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9800/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและอำนาจฟ้องในคดีขับไล่ การยกฎีกาจำเลยร่วมที่ไม่เคยอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยได้เช่าจากโจทก์ที่ 2 ในอัตราค่าเช่าปีละ 200 บาท กับเรียกค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์ที่ 2 จะขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 10,000 บาท ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ในอัตราเดือนละ 100 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ย่อมต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง จำเลยอุทธรณ์ว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่นอกเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นฎีกา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยร่วมไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยร่วมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7165/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ต่อคดีอื่น: ศาลไม่ตัดสิทธิคู่ความในการโต้แย้งข้อเท็จจริงในคดีที่เปิดให้มีการอุทธรณ์
แม้คดีตามฟ้องแย้งของจำเลยและคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 312/2548 ของศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ก็ไม่มีผลทำให้คดีนี้ซึ่งไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคู่ความยังโต้แย้งกันอยู่ว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของฝ่ายใด ต้องรับฟังข้อเท็จจริงยุติไปตามคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษามานั้นไม่ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12701/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายไม้โตเร็ว และเหตุงดเบี้ยปรับ
อุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การพิจารณาทุนทรัพย์พิพาทต้องพิจารณาแต่ละเดือนภาษีเป็น 1 ข้อหา แยกออกจากกันได้ เมื่อเดือนภาษีเมษายน 2548 เดือนภาษีกรกฎาคม 2548 และเดือนภาษีพฤศจิกายน 2548 มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25
โจทก์ซื้อที่ดินที่มีไม้โตเร็วปลูกอยู่และขายไม้โตเร็วให้แก่บริษัท ช. โดยมีเหตุผลให้เชื่อว่าเจ้าของที่ดินเดิมผู้ขายที่ดินให้โจทก์น่าจะขายที่ดินในราคารวมต้นไม้โตเร็วที่ปลูกไว้และโจทก์รับซื้อไว้โดยคาดเห็นว่าจะนำไปขายหาประโยชน์ต่อไปได้ โดยใช้เวลาในการดูแลต้นไม้เพื่อขายพอสมควร อันเป็นพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าโจทก์ได้ประกอบการขายไม้โตเร็วตามคำนิยามมาตรา 77/1 (5) แห่ง ป.รัษฎากร และเมื่อโจทก์ขายไม้โตเร็วให้แก่บริษัท ช. เพื่อนำไม้ไปใช้ก่อสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรอันเป็นการขายต้นไม้ในลักษณะเพื่อเป็นไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างโรงเรือน เป็นการขายต้นไม้เพื่อให้ผู้ซื้อโค่นเป็นท่อนแล้วเลื่อยแปรรูปเพื่อทำเป็นเสาเข็มหรือใช้ในการก่อสร้าง ต้องด้วยลักษณะของไม้ซุงและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ อันเป็นลักษณะยกเว้นที่ไม่ถือเป็นการขายพืชผลทางการเกษตรที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) ก โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม มาตรา 77/2 (1)
บทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มิได้ห้ามเจ้าพนักงานประเมินแก้ไขการประเมินที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินยกเลิกการประเมินครั้งแรกเพราะเห็นว่าไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินใหม่ตามที่เห็นว่าถูกต้องได้ แม้การประเมินครั้งหลังจะทำให้โจทก์ต้องชำระภาษีมากกว่าการประเมินครั้งแรก แต่มีผลทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีเพียงครั้งเดียว มิใช่การประเมินซ้ำซ้อนและยังคงเป็นการประเมินในเรื่องเดิม การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งยกเลิกใบแจ้งภาษีอากรแล้วประเมินใหม่จึงชอบแล้ว
of 65