คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2477

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสอบสวนคดีอาญาของทหาร และการแจ้งข้อหา
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 430ถึง 33 แสดงให้เห็นว่า"ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหาร" ย่อมออกคำสั่งหรือข้อบังคับให้ใช้บังคับทหาร เช่นกฎหมายของเขาเหล่านั้นได้ ปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายทหารศาลต้องพิจารณาแปลความหมายในบรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของฝ่ายทหารประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดีไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพที่จะให้ศาลทหารพิจารณานั้น บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า "ไต่สวน" ในข้อบังคับนั้นมุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่งวินัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในหน่วยทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายเพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 หมายความเพียงว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดอันเป็นประธาน มิได้หมายความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกระทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฏว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฏขึ้นในการพิจารณาของศาลหาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดบทลงโทษในความผิดหลายบท ศาลต้องใช้บทที่มีโทษหนักที่สุด แม้ความผิดอื่นจะอยู่ในอำนาจศาลแขวง
ในกรณีที่ฟ้องอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดซึ่งเป็นการละเมิด ก.ม. หลายบทด้วยกันนั้น หากพิจารณาได้ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แล้ว ศาลก็ต้องใช้อาญาที่เป็นบทนักลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 70 ฉะนั้นเมื่อความผิดตามบท ก.ม. ที่หนักนั้นเกินอำนาจศาลแขวงแม้ความผิดบทเบา จะอยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลแขวงก็ต้องพิพากษายกฟ้องเสีย เพราะต้องถือว่าเป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุคคล: การพิสูจน์สัญชาติของจำเลยที่หลบหนีการเนรเทศ และการรับราชการ
จำเลยเป็นจีนต่างด้าวโดยกำเนิดและถูกสั่งเนรเทศออกไปจากราชอาณาจักรจนตลอดชีวิต แล้วภายหลังได้หลบหนีเข้ามาและอ้างตนว่าเป็นคนไทย จนได้เข้ารับราชการทหาร ดังนี้ คดีก็คงอยู่ในอำนาจศาลพลเรือนที่จะพิจารณาพิพากษากรณีหลบหนีการเนรเทศของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันกระทำผิดในคดีฉ้อโกง: ความรู้ภายหลังไม่เปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงในระหว่างคดีที่ต้องขึ้นศาลทหาร แม้โจทก์จะทราบความผิดของจำเลยภายหลัง ก็ไม่ทำให้วันกระทำผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับแต่วันกระทำผิด แม้เพิ่งรู้ความจริงภายหลัง
โจทฟ้องว่าจำเลยกะทำผิดถานฉ้อโกงไนระหว่างคดีที่ต้องขึ้นสาลทหาน แม้โจทจะซาบความผิดของจำเลยพายหลัง ก็ไม่ทำไห้วันกะทำผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คดีอาญาคาบเกี่ยวระหว่างศาลพลเรือนและทหาร ต้องพิจารณาเวลาเกิดเหตุอย่างชัดเจนเพื่อกำหนดเขตอำนาจ
คดีอาญาที่การกะทำผิดเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกับสาลพลเรือนและสาลทหาน เมื่อไม่ปรากดแน่ชัดว่าเปนกรนีที่เกิดขึ้นพายไหเวลาที่บัญญัติว่าจะต้องดำเนินคดีทางสาลทหานเช่นนี้ ต้องนำคดีขึ้นสาลพลเรือน