พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องไม่ใช่การแก้ไขคำพิพากษา หากฎีกาถูกจำกัดสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้นำข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำสืบมาเป็นเหตุผลในการตัดสินตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 ขอให้เพิกถอนการพิจารณาวินิจฉัยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เท่ากับ เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพิกถอนคำวินิจฉัยเดิมและวินิจฉัยพยานหลักฐานใหม่ อันเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 โดยมิใช่เป็นการแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ข้อที่อ้างว่า โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 หาก่อให้เกิดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางโดยเข้าใจว่าเป็นสาธารณะ ไม่ถือเป็นการใช้โดยปรปักษ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณปี 2544 จำเลยทั้งสี่ให้สภาตำบลศรีพรานทำถนนดินระหว่างที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสี่โดยงบประมาณของสภาตำบลศรีพราน ต่อมาก็นำงบประมาณมาทำเป็นถนนคอนกรีตเพื่อให้เป็นเส้นทางเดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ และประชาชนทั่วไปเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ทั้งในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลศรีพรานเป็นผู้ก่อสร้างถนนพิพาทตั้งแต่ปี 2548 แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะมาตั้งแต่ต้น การใช้สิทธิผ่านทางพิพาทของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการใช้โดยปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาท เพื่อให้ได้สิทธิภาระจำยอมแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้หากจะฟังว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่เป็นภาระจำยอมเพื่ออสังหาริมทรัพย์แก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2314/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ภาพฤาษีเป็นสิ่งใช้กันทั่วไป ขัดต่อลักษณะบ่งเฉพาะตามกฎหมาย
ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานนั้น คำว่า โยคี กับฤาษี มีความหมายในทำนองเดียวกัน หากสาธารณชนทั่วไปพบเห็นเฉพาะภาพในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ย่อมอาจเรียกขานได้ว่า ภาพฤาษี ซึ่งเมื่อพิจารณาเครื่องหมายการค้า ตามทะเบียนเลขที่ ค275169 แล้ว ประกอบไปด้วยภาพโยคีหรือฤาษีอยู่ในวงกลม โดยไม่มีชื่อ คำ หรือข้อความใดประกอบอีก ภาพดังกล่าวจึงถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ส่วนเครื่องหมายการค้า ตามทะเบียนเลขที่ ค296443 แม้มีคำว่า "โยคี" และ "YOKI" ประกอบอยู่ใต้ภาพ แต่คำดังกล่าวก็มีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนของภาพ ในเครื่องหมาย จึงมีเฉพาะภาคส่วนภาพเท่านั้นที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายเช่นเดียวกับเครื่องหมายแรก อีกทั้งภาพดังกล่าวไม่พบว่ามีรายละเอียดหรือลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากภาพโยคีหรือฤาษีตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไป เมื่อตามประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 กำหนดให้ "ฤาษี" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าจำพวก 5 รายการสินค้า ยารักษาโรคมนุษย์ การใช้เครื่องหมายการค้าที่มีสาระสำคัญของเครื่องหมายเพียงแค่ภาพโยคีหรือฤาษีดังเช่นเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามฎีกาของโจทก์ย่อมไม่อาจทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าทั้งสองจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง นอกจากนั้นโจทก์ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามฎีกาและได้รับจดทะเบียนเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 และวันที่ 26 มิถุนายน 2551 ตามลำดับ ซึ่งตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นคำขอจดทะเบียน การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้นั้นอาจทำได้เฉพาะกรณี ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตามมาตรา 7 (1) หรือ (2) (เดิม) เท่านั้น เมื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามฎีกาของโจทก์ล้วนมีสาระสำคัญเป็นภาพดังที่ได้วินิจฉัยมาข้างต้น จึงไม่อาจมีลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) ได้ การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองตามฎีกาของโจทก์ย่อมขัดต่อบทกฎหมายข้างต้น ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวจึงชอบแล้ว
แม้ปัจจุบัน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 จะอนุญาตให้พิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าในลักษณะภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นได้แล้ว แต่การจะพิสูจน์เครื่องหมายการค้าในลักษณะดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่ยื่นคำขอจดทะเบียนหลังจาก พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น เนื่องจากตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 มาตรา 35 (1) กำหนดให้บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับในกรณีที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดไว้แล้ว ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เดิมต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด
แม้ปัจจุบัน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 จะอนุญาตให้พิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าในลักษณะภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นได้แล้ว แต่การจะพิสูจน์เครื่องหมายการค้าในลักษณะดังกล่าวได้ต้องเป็นกรณีที่ยื่นคำขอจดทะเบียนหลังจาก พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้น เนื่องจากตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559 มาตรา 35 (1) กำหนดให้บรรดาคำขอที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับในกรณีที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดไว้แล้ว ให้การดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เดิมต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายคล้ายกัน, เครื่องหมายมีชื่อเสียง, ห้ามจดทะเบียน, ทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมาย ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า "F-1" "FORMULA-1 OPTICAL FRAME" และ "COLLECTION" เรียงกัน 3 บรรทัด และภาคส่วนรูปช่อหรีดหรือรวงข้าวประดิษฐ์ โอบล้อมคำว่า "F-1" ซึ่งคำดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าคำอื่น ๆ ในเครื่องหมายภาคส่วนคำว่า "F-1" จึงถือเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า "เอฟ วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยภาคส่วนอักษร "F" ประดิษฐ์ และตัวเลขประดิษฐ์ "1" และคำว่า "Formula 1" ในลักษณะเอียง และภาคส่วนลายเส้นหลังตัวเลขประดิษฐ์ "1" โดยภาคส่วนคำว่า "F1" มีขนาดอักษรใหญ่กว่าคำว่า "Formula 1" อย่างเห็นได้ชัด ภาคส่วนคำว่า "F1" จึงถือเป็นส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย และอาจออกเสียงเรียกขานได้ว่า "เอฟ วัน" เช่นกัน ดังนี้ เครื่องหมายทั้งสองจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่ คำว่า "F-1" และ "F1" ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกันมาก ทั้งสาธารณชนที่พบเห็นโดยทั่วไปก็อาจเรียกขานเครื่องหมายของทั้งสองฝ่ายได้ว่า "เอฟ วัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายทั้งสองจะมีส่วนประกอบอื่นแต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมาย นอกจากนี้เครื่องหมายทั้งสองต่างก็มีคำว่า "FORMULA-1" และ "Formula 1" ในขนาดที่เล็กกว่าวางตำแหน่งอยู่ในบริเวณใต้คำว่า "F-1" และ "F1" อันทำให้สาธารณชนที่พบเห็นเครื่องหมายทั้งสองดังกล่าวเข้าใจได้ว่า คำว่า "FORMULA-1" และ "Formula 1" เป็นคำเต็มของคำว่า "F-1" และ "F1" ดังนี้ เครื่องหมาย และ จึงมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน
เครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยตัวอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA-1" และอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA 1" ในบรรทัดบน กับตัวอักษรไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง ตัวอักษรทั้งสองบรรทัดมีขนาดใกล้เคียงกัน คำในทั้งสองบรรทัดจึงถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย โดยอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมาย และ แล้ว เห็นว่า ทั้งสองเครื่องหมายต่างเป็นเครื่องหมายที่มีคำว่า "FORMULA" มีตัวสะกดเหมือนกันทุกประการ ตามด้วยเลขอารบิก "1" เหมือนกัน และต่างเป็นเครื่องหมายที่มีเฉพาะภาคส่วนคำทั้งสองเครื่องหมายอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่าวัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายของโจทก์จะมีคำภาษาไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง แต่ก็เป็นคำทับศัพท์จากอักษรโรมันซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษในบรรทัดบน โดยอาจอ่านออกเสียงได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน และแม้เครื่องหมายของจำเลยร่วมจะมีเครื่องหมาย "-" อยู่ระหว่างคำว่า "FORMULA" และเลข "1" แต่ก็เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้เสียงเรียกขานแตกต่างไปจากคำในเครื่องหมายของโจทก์ กรณีจึงนับได้ว่าเครื่องหมาย และ มีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกัน
บริษัทโจทก์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 เป็นบริษัทในเครือของเดอะ ฟอร์มูล่า วัน กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำมันเครื่อง อะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนตกแต่งรถยนต์และรถแข่ง รวมถึงอุปกรณ์ในการแข่งขันรถแข่งภายใต้เครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" โจทก์มีหน้าที่ในด้านส่งเสริมการขายและจัดกิจกรรมแข่งขันรถชิงแชมป์โลก "ฟอร์มูล่าวัน" ร่วมกับสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติซึ่งเป็นการแข่งขันรถระดับสูงสุดของโลก มีผู้ติดตามชมการแข่งขันทางโทรทัศน์กว่า 400,000,000 คน ต่อปี ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โจทก์ยื่นขอและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" ในหลายประเทศทั่วโลก เครื่องหมายการค้าและบริการคำว่า "Formula 1" และ "F1" ของโจทก์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยมาประมาณ 70 ปี แล้ว นับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวันเป็นครั้งแรกปี 2490 เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงนับเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ดังนี้ เมื่อได้ความว่าเครื่องหมาย และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมาย และ ของโจทก์ เครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมจึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดังกล่าวของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10)
เครื่องหมายการค้า ของจำเลยร่วม ประกอบไปด้วยตัวอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA-1" และอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" ส่วนเครื่องหมาย ที่จดทะเบียนแล้วของโจทก์ประกอบไปด้วยอักษรโรมันและเลขอารบิกว่า "FORMULA 1" ในบรรทัดบน กับตัวอักษรไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง ตัวอักษรทั้งสองบรรทัดมีขนาดใกล้เคียงกัน คำในทั้งสองบรรทัดจึงถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย โดยอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมาย และ แล้ว เห็นว่า ทั้งสองเครื่องหมายต่างเป็นเครื่องหมายที่มีคำว่า "FORMULA" มีตัวสะกดเหมือนกันทุกประการ ตามด้วยเลขอารบิก "1" เหมือนกัน และต่างเป็นเครื่องหมายที่มีเฉพาะภาคส่วนคำทั้งสองเครื่องหมายอาจเรียกขานได้ว่า "ฟอร์มูล่าวัน" เหมือนกัน แม้เครื่องหมายของโจทก์จะมีคำภาษาไทยและเลขอารบิกคำว่า "ฟอร์มูล่า 1" ในบรรทัดล่าง แต่ก็เป็นคำทับศัพท์จากอักษรโรมันซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษในบรรทัดบน โดยอาจอ่านออกเสียงได้ว่า "ฟอร์มูล่า วัน" เช่นเดียวกัน และแม้เครื่องหมายของจำเลยร่วมจะมีเครื่องหมาย "-" อยู่ระหว่างคำว่า "FORMULA" และเลข "1" แต่ก็เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ไม่ทำให้เสียงเรียกขานแตกต่างไปจากคำในเครื่องหมายของโจทก์ กรณีจึงนับได้ว่าเครื่องหมาย และ มีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกัน
บริษัทโจทก์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2517 เป็นบริษัทในเครือของเดอะ ฟอร์มูล่า วัน กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทน้ำมันเครื่อง อะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนตกแต่งรถยนต์และรถแข่ง รวมถึงอุปกรณ์ในการแข่งขันรถแข่งภายใต้เครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" โจทก์มีหน้าที่ในด้านส่งเสริมการขายและจัดกิจกรรมแข่งขันรถชิงแชมป์โลก "ฟอร์มูล่าวัน" ร่วมกับสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติซึ่งเป็นการแข่งขันรถระดับสูงสุดของโลก มีผู้ติดตามชมการแข่งขันทางโทรทัศน์กว่า 400,000,000 คน ต่อปี ในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โจทก์ยื่นขอและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายคำว่า "Formula 1" และ "F1" ในหลายประเทศทั่วโลก เครื่องหมายการค้าและบริการคำว่า "Formula 1" และ "F1" ของโจทก์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยมาประมาณ 70 ปี แล้ว นับตั้งแต่มีการจัดการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวันเป็นครั้งแรกปี 2490 เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงนับเป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ดังนี้ เมื่อได้ความว่าเครื่องหมาย และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมมีรูปลักษณะและเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมาย และ ของโจทก์ เครื่องหมายการค้า และ ตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยร่วมจึงเป็นเครื่องหมายที่คล้ายกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปดังกล่าวของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8595/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญา: ประจักษ์พยานสำคัญกว่าพยานบอกเล่า แม้มีเหตุผลทางกฎหมายรองรับ
ผู้เสียหายเคยมาศาลแต่มีเหตุต้องเลื่อนการพิจารณา ต่อมาปรากฏตามหนังสือของสถานีตำรวจภูธร ท. แจ้งมายังโจทก์ว่าได้ส่งหมายเรียกให้ผู้เสียหายโดยมี ท. ตาของผู้เสียหายรับหมายเรียกพยานไว้แทนและ ท. แจ้งว่าบิดาของผู้เสียหายได้มารับตัวผู้เสียหายไปอยู่ด้วยที่กรุงเทพมหานคร แต่ไม่ทราบว่าไปพักอาศัยหรือทำงานอยู่ที่ใด ซึ่งเมื่อปรากฏตามสำเนาสูติบัตรของผู้เสียหายแนบท้ายคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนว่าบิดาของผู้เสียหายชื่อ ด. พร้อมระบุหมายเลขประจำตัวประชาชนของ ด. แสดงว่าย่อมสามารถตรวจสอบข้อมูลทะเบียนราษฎรเพื่อหาที่อยู่ของ ด. และผู้เสียหายได้ เชื่อว่ายังอยู่ในวิสัยที่จะติดตามผู้เสียหายมาเบิกความได้ จึงมิใช่กรณีที่มีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ที่ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นด้วยตนเองโดยตรงมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2) ส่วนบันทึกคำให้การของผู้เสียหายและบันทึกภาพและเสียงคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายซึ่งให้การต่อหน้าบุคคลในสหวิชาชีพและในเวลาหลังเกิดเหตุไม่นาน ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อม จึงน่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ตามมาตรา 226/3 วรรคสอง (1)
สำหรับ ส. ซึ่งหลบหนีไปจากภูมิลำเนาไม่สามารถติดต่อได้ และจับกุมไม่ได้ตามหมายจับ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุผลสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำให้การของ ส. ในชั้นสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2)
สำหรับ ส. ซึ่งหลบหนีไปจากภูมิลำเนาไม่สามารถติดต่อได้ และจับกุมไม่ได้ตามหมายจับ จึงเป็นกรณีมีเหตุจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม มีเหตุผลสมควรที่จะรับฟังบันทึกคำให้การของ ส. ในชั้นสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4014/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค้ามนุษย์จากแรงงานต่างด้าว: การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็กและแรงงานต่างด้าวที่ถูกบังคับใช้แรงงาน
"การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล" ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 4 เป็นนิยามที่มุ่งหมายถึงการกระทำอย่างอื่นที่มีลักษณะของการบีบบังคับเพื่อหาผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นของการเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กและเป็นลูกจ้างต้องทำงานตั้งแต่เวลา 2 หรือ 3 นาฬิกา จนถึง 18 นาฬิกา เฉลี่ยวันละ 15 ชั่วโมง ต่อวันทุกวัน และได้รับค่าจ้างเฉลี่ยแล้วไม่ถึง 200 บาท ต่อวัน ซึ่งเทียบกับเวลาทำงานแล้วถือว่าต่ำมาก ทั้งหากทำงานไม่ครบกำหนดเวลาก็จะไม่ได้ค่าจ้าง โดยไม่มีวันหยุดปกติและไม่ได้ค่าล่วงเวลาและค่าจ้างพิเศษ มีเวลาพักระหว่างทำงานในช่วงรับประทานอาหารเช้าและกลางวันครั้งละไม่เกิน 15 ถึง 30 นาที และต้องทำงานเหมือนผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นถึงเจตนาเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมและเป็นการขูดรีดโดยจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์อันเป็นมูลค่าส่วนเกินจากการทำงานปกติของลูกจ้างโดยให้ทำงานเกินเวลาและเกินความคุ้มค่าการทำงานของลูกจ้างอย่างมาก แต่ลูกจ้างกลับได้รับค่าจ้างในอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าปริมาณงานที่ทำ โดยอาศัยเงื่อนไขว่าหากทำงานไม่ครบเวลาทำงานต่อวันจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันนั้นมาเป็นวิธีการบังคับให้ผู้เสียหายไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำงานให้ได้ค่าจ้างครบ อันเป็นการบีบบังคับเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมเข้าองค์ประกอบของเจตนาที่แสวงหาประโยชน์โดยวิธีการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานกระทำการค้ามนุษย์
ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กและเป็นลูกจ้างต้องทำงานตั้งแต่เวลา 2 หรือ 3 นาฬิกา จนถึง 18 นาฬิกา เฉลี่ยวันละ 15 ชั่วโมง ต่อวันทุกวัน และได้รับค่าจ้างเฉลี่ยแล้วไม่ถึง 200 บาท ต่อวัน ซึ่งเทียบกับเวลาทำงานแล้วถือว่าต่ำมาก ทั้งหากทำงานไม่ครบกำหนดเวลาก็จะไม่ได้ค่าจ้าง โดยไม่มีวันหยุดปกติและไม่ได้ค่าล่วงเวลาและค่าจ้างพิเศษ มีเวลาพักระหว่างทำงานในช่วงรับประทานอาหารเช้าและกลางวันครั้งละไม่เกิน 15 ถึง 30 นาที และต้องทำงานเหมือนผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นถึงเจตนาเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมและเป็นการขูดรีดโดยจำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์อันเป็นมูลค่าส่วนเกินจากการทำงานปกติของลูกจ้างโดยให้ทำงานเกินเวลาและเกินความคุ้มค่าการทำงานของลูกจ้างอย่างมาก แต่ลูกจ้างกลับได้รับค่าจ้างในอัตราค่าจ้างที่ต่ำกว่าปริมาณงานที่ทำ โดยอาศัยเงื่อนไขว่าหากทำงานไม่ครบเวลาทำงานต่อวันจะไม่ได้รับค่าจ้างในวันนั้นมาเป็นวิธีการบังคับให้ผู้เสียหายไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องยอมทำงานให้ได้ค่าจ้างครบ อันเป็นการบีบบังคับเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมเข้าองค์ประกอบของเจตนาที่แสวงหาประโยชน์โดยวิธีการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานกระทำการค้ามนุษย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประกอบกิจการ/ดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานประกอบวิชาชีพโดยมิได้มีคุณสมบัติ ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยประกอบกิจการสถานพยาบาลและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตซึ่งตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ได้บัญญัติห้ามมิให้บุคคลใดประกอบกิจการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 16 วรรคหนึ่ง กรณีหนึ่ง และห้ามมิให้บุคคลใดดำเนินการสถานพยาบาล เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง อีกกรณีหนึ่ง โดยหลักเกณฑ์การขอรับใบอนุญาตทั้งสองกรณีแตกต่างกัน แสดงว่าในแต่ละฐานความผิดต่างมีสภาพและลักษณะของการกระทำประกอบด้วยเจตนาแตกต่างกัน สามารถแยกเป็นคนละส่วนต่างหากจากกันได้ แม้จะมีบทลงโทษอยู่ในมาตรา 57 ด้วยกัน หากมีการกระทำฝ่าฝืนก็จะต้องถูกลงโทษเป็นแต่ละกรณีไป การกระทำของจำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน และเป็นการกระทำที่ต่างจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์โดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หรือประกอบโรคศิลปะโดยมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ การกระทำของจำเลยในความผิดฐานประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ดี หรือฐานดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตก็ดี กับความผิดฐานประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ฐานประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์โดยมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์และฐานประกอบโรคศิลปะโดยมิได้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465-2469/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ลักษณะบ่งเฉพาะ, การพิจารณาคำว่า DATA, และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษา
เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการคำว่า ของโจทก์ เป็นการนำคำว่า "NTT" ย่อมาจาก Nippon Telegraph and Telephone ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของโจทก์ มารวมกับคำว่า "DATA" แม้โจทก์อ้างว่าคำว่า เรียงติดกันเป็นคำเดียว แต่เมื่อพิเคราะห์คำดังกล่าวแล้วเห็นได้ว่าคำดังกล่าวมีระยะห่างระหว่างคำว่า "NTT" กับคำว่า "DATA" มากกว่าตัวอักษรอื่น จึงยังคงมองแยกส่วนออกได้เป็นสองคำ สอดคล้องกับที่โจทก์ก็ระบุเสียงเรียกขานในคำขอจดทะเบียนว่า "เอ็นทีที ดาต้า" แสดงว่ามีเสียงเรียกขานแบ่งเป็นสองคำเช่นกัน เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า จึงไม่ได้เรียงติดกันเป็นคำเดียว แต่ประกอบไปด้วยสองภาคส่วน เมื่อพิจารณาในส่วนของคำว่า "NTT" ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรมและมีลักษณะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาเรียงติดกัน โดยคำดังกล่าวไม่ได้เป็นเส้นทึบหนาแตกต่างจากตัวอักษรอื่น และตัวอักษร T ก็หาได้เขียนติดกันโดยส่วนหัวด้านบนเป็นเส้นตรงเชื่อมติดต่อกัน จึงไม่มีลักษณะประดิษฐ์ ส่วนคำว่า "DATA" โจทก์ระบุคำแปลในคำขอจดทะเบียนว่า คำว่า "ดาต้า" แปลว่า ข้อมูล และเมื่อนำคำดังกล่าวมาวางอยู่หลังคำว่า "NTT" เสียงเรียกขานอ่านออกเสียงได้ว่า "เอ็นทีที ดาต้า" โดยคำว่า "DATA" ยังคงอ่านออกเสียง "ดาต้า" และยังมีความหมายว่า ข้อมูล เหมือนเดิม แม้โจทก์จะได้ดัดแปลงคำว่า "DATA" โดยให้ตัวอักษร a เป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์เล็กมีลักษณะแตกต่างจากตัวอักษรตัวอื่นในเครื่องหมายที่เป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ และให้ตัวอักษร a มีขนาดและความสูงเท่ากับตัวอักษรอื่น แต่ก็เป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อย ดังนั้นลำพังการนำคำที่มีความหมายมารวมกับตัวอักษรบางตัวในลักษณะเช่นนี้ จึงยังไม่มีลักษณะถึงขนาดที่จะเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นอันมีลักษณะบ่งเฉพาะ
ส่วนปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า ทั้งห้าคำขอ เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยตรงหรือไม่นั้น เห็นว่า แม้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า ไม่มีลักษณะประดิษฐ์ แต่การเลือกเอาตัวอักษรมาเรียงกันในลักษณะเช่นนี้ ไม่น่าที่จะมีการเรียงตัวอักษรโรมันลักษณะเช่นเดียวกันนี้เป็นการทั่วไป ประกอบกับคำดังกล่าวย่อมาจาก Nippon Telegraph and Telephone ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของโจทก์ ไม่ใช่คำย่อที่มาจากคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของโจทก์โดยตรงจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนที่พบเห็นคำย่อดังกล่าวทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ เพราะเป็นคำย่อที่สาธารณชนทราบว่าสื่อถึงคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง อีกทั้งยังเป็นภาคส่วนของคำที่อยู่ด้านหน้า และใช้เป็นส่วนสำคัญในการเรียกขาน คำว่า "NTT" จึงมีลักษณะเด่นทำให้สาธารณชนโดยทั่วไปจดจำและแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์จากสินค้าหรือบริการอื่นได้ ถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายและมีลักษณะบ่งเฉพาะ ส่วนคำว่า "DATA" ตามพจนานุกรม มีความหมายว่า ข้อมูล สถิติ จึงมีความหมายกว้าง มิได้จำกัดว่าต้องสื่อถึงข้อมูลเพียงอย่างเดียว อีกทั้งเป็นคำธรรมดาทั่วไปที่สามารถสื่อไปถึงสินค้าหรือบริการได้หลายชนิด คำว่า "DATA" จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของคำว่า "NTT" ซึ่งเป็นคำหลัก เมื่อการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการใดมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย การที่ตัวอักษรทั้งสองคำมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อกันเป็นลำดับ โดยคำว่า "NTT" ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของโจทก์โดยตรงและมีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า จึงไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการตามคำขอทั้งห้าคำขอโดยตรงจนถึงขนาดทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันที เพราะเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง และมีลักษณะบ่งเฉพาะ
อย่างไรก็ตามคำว่า "DATA" ซึ่งแปลว่า ข้อมูล สถิติ เมื่อพิจารณากับสินค้าหรือบริการบางชนิดของโจทก์ในแต่ละคำขอเห็นได้ว่าเป็นคำที่บ่งบอกถึงลักษณะของสินค้าหรือบริการของโจทก์ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล ถือว่าคำดังกล่าวไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าว
ที่โจทก์มีคำขอให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอทั้งห้าคำขอของโจทก์นั้น เห็นว่า สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการด้วยเหตุที่เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีเฉพาะเกี่ยวกับเหตุที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยในข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 รวมทั้งข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับการพิจารณารับจดทะเบียนและขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการในการรับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราอื่น ดังนั้น แม้คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์จะเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งสมควรต้องเพิกถอนดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้นก็ตาม แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต่อไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการซึ่งมีอีกหลายขั้นตอน หาใช่โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้เลยไม่ จึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ คงพิพากษาให้ได้แต่เพียงว่าให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า กับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต่อไปเท่านั้น
ส่วนปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า ทั้งห้าคำขอ เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยตรงหรือไม่นั้น เห็นว่า แม้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า ไม่มีลักษณะประดิษฐ์ แต่การเลือกเอาตัวอักษรมาเรียงกันในลักษณะเช่นนี้ ไม่น่าที่จะมีการเรียงตัวอักษรโรมันลักษณะเช่นเดียวกันนี้เป็นการทั่วไป ประกอบกับคำดังกล่าวย่อมาจาก Nippon Telegraph and Telephone ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อนิติบุคคลของโจทก์ ไม่ใช่คำย่อที่มาจากคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของโจทก์โดยตรงจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนที่พบเห็นคำย่อดังกล่าวทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ เพราะเป็นคำย่อที่สาธารณชนทราบว่าสื่อถึงคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง อีกทั้งยังเป็นภาคส่วนของคำที่อยู่ด้านหน้า และใช้เป็นส่วนสำคัญในการเรียกขาน คำว่า "NTT" จึงมีลักษณะเด่นทำให้สาธารณชนโดยทั่วไปจดจำและแยกความแตกต่างระหว่างสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการของโจทก์จากสินค้าหรือบริการอื่นได้ ถือเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายและมีลักษณะบ่งเฉพาะ ส่วนคำว่า "DATA" ตามพจนานุกรม มีความหมายว่า ข้อมูล สถิติ จึงมีความหมายกว้าง มิได้จำกัดว่าต้องสื่อถึงข้อมูลเพียงอย่างเดียว อีกทั้งเป็นคำธรรมดาทั่วไปที่สามารถสื่อไปถึงสินค้าหรือบริการได้หลายชนิด คำว่า "DATA" จึงเป็นเพียงส่วนประกอบของคำว่า "NTT" ซึ่งเป็นคำหลัก เมื่อการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการใดมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของทั้งเครื่องหมาย การที่ตัวอักษรทั้งสองคำมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อกันเป็นลำดับ โดยคำว่า "NTT" ซึ่งเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการของโจทก์โดยตรงและมีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า จึงไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์โดยตรงกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการตามคำขอทั้งห้าคำขอโดยตรงจนถึงขนาดทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันที เพราะเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์คำว่า เป็นคำที่ไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง และมีลักษณะบ่งเฉพาะ
อย่างไรก็ตามคำว่า "DATA" ซึ่งแปลว่า ข้อมูล สถิติ เมื่อพิจารณากับสินค้าหรือบริการบางชนิดของโจทก์ในแต่ละคำขอเห็นได้ว่าเป็นคำที่บ่งบอกถึงลักษณะของสินค้าหรือบริการของโจทก์ที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูล ถือว่าคำดังกล่าวไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ จึงให้โจทก์แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำดังกล่าว
ที่โจทก์มีคำขอให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอทั้งห้าคำขอของโจทก์นั้น เห็นว่า สภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการด้วยเหตุที่เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีเฉพาะเกี่ยวกับเหตุที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ไม่มีประเด็นข้อพิพาทให้ต้องวินิจฉัยในข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6 รวมทั้งข้อพิจารณาอื่น ๆ เกี่ยวกับการพิจารณารับจดทะเบียนและขั้นตอนต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการในการรับจดทะเบียนตามบทบัญญัติมาตราอื่น ดังนั้น แม้คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการตามคำขอของโจทก์จะเป็นคำสั่งและคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งสมควรต้องเพิกถอนดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้นก็ตาม แต่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ายังต้องดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต่อไปตามขั้นตอนต่าง ๆ ในการพิจารณาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการซึ่งมีอีกหลายขั้นตอน หาใช่โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนให้เลยไม่ จึงไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ คงพิพากษาให้ได้แต่เพียงว่าให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า กับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของโจทก์ต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านตู้คาราโอเกะ: การพิสูจน์เจตนา 'รู้' หรือ 'ควรรู้' ถึงการละเมิดลิขสิทธิ์
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) บัญญัติว่า "ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้...(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน..." แม้โจทก์มิได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดดังกล่าว แต่คดีนี้โจทก์ก็บรรยายฟ้องในตอนต้นว่า จำเลยกับพวกร่วมกันละเมิดลิขสิทธิ์ในงานของผู้เสียหายด้วยการทำซ้ำหรือดัดแปลงในงานสร้างสรรค์ประเภทงานดนตรีกรรม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อร้องและทำนองของผู้เสียหาย โดยการนำสิ่งบันทึกเสียงที่มีคำร้อง ทำนองเสียงเพลง อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปบันทึกข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์บรรจุลงในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญในลักษณะทำซ้ำหรือดัดแปลงให้ปรากฏคำร้องและทำนองเสียงเพลงในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ อันเป็นการบรรยายให้พอเข้าใจได้ว่างานที่อยู่ในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวนั้นเป็นงานที่ได้กระทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เนื่องจากอ้างว่าเป็นงานที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องต่อไปในตอนท้ายว่า โดยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยการเปิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายดังกล่าวผ่านทางตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญให้บริการร้องเพลงคาราโอเกะแก่ลูกค้าในร้านที่เกิดเหตุโดยเรียกเก็บเงินค่าตอบแทนจากลูกค้า เพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่าเป็นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องทั้งหมดแล้วย่อมพอเข้าใจได้ว่าเป็นการบรรยายฟ้องที่อ้างว่าจำเลยกับพวกรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่อยู่ในตู้คาราโอเกะหยอดเหรียญดังกล่าวที่นำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2253/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีใช้หนี้ที่สิ้นผลเนื่องจากคำพิพากษาศาลฎีกาแก้: ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
คดีแพ่งที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของบริษัท บ. ถูกศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ยกฟ้อง บริษัท บ. ไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องชำระแก่โจทก์ สิทธิของโจทก์เหนือทรัพย์พิพาทที่จำเลยซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท บ. นำมาตีใช้หนี้ตามคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในคดีดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลไปด้วย การที่จำเลยเอาทรัพย์พิพาทไปจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก