พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกักตัวคนต่างด้าวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สถานที่กักขังไม่เหมาะสม และการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
การกักตัวคนต่างด้าวตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ไม่อยู่ในความหมายบทนิยาม "คุมขัง" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (12) โดยที่ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกักตัวคนต่างด้าวไว้ ณ สถานที่ใดตามที่เห็นเหมาะสม แต่การที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไม่มีห้องกักตัวที่เหมาะสมเป็นของตัวเอง แล้วนำผู้ร้องซึ่งเป็นคนต่างด้าวไปกักตัวไว้ในห้องคุมตัวหรือควบคุมผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาของสถานีตำรวจ จึงมิใช่เป็นการกักตัวผู้ร้องไว้ ณ สถานที่เหมาะสม และกรณีมีเหตุจำเป็นต้องกักตัวผู้ร้องไว้เกินกำหนดเจ็ดวัน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไม่ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีอำนาจกักตัวคนต่างด้าวต่อไปอีก เป็นการไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 20 วรรคสอง การกักตัวผู้ร้องไว้ในห้องคุมตัวหรือควบคุมผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาของสถานีตำรวจดังกล่าว จึงเป็นการคุมขังในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องซ้ำซ้อน: การคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แม้มีหรือไม่มีหมายจับ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอปล่อยตัวอ้างว่า เจ้าพนักงานคุมขัง ธ. ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2558 เวลา 12 นาฬิกา ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2558 เวลา 13 นาฬิกา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ส่วนคดีก่อนผู้ร้องยื่นคำร้องว่า เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2558 จนถึงวันที่ 14 ธันวาคม 2558 เจ้าพนักงานคุมขัง ธ. ขณะเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อการคุมขัง ธ. คดีนี้และคดีก่อนเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกัน ประเด็นแห่งคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกันว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเจ้าพนักงานคุมขัง ธ. โดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าการคุมขัง ธ. นั้น เจ้าพนักงานผู้จับจะมีหมายจับ ธ. หรือไม่ เพราะไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ผู้ร้องก็อ้างว่าเป็นการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้น คำร้องคดีนี้จึงเป็นคำร้องซ้อนกับคำร้องคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7237/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนคำร้องกรณีถูกควบคุมตัวโดยมิชอบ: ขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ร้องอ้างตามคำร้องว่า ช. หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน กับพวกควบคุมตัว พ. ไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อไต่สวนพยานผู้ร้องเสร็จสิ้นแล้วศาลชั้นต้นต้องพิจารณาคำร้องของผู้ร้องและพยานที่ผู้ร้องนำเข้าไต่สวนก่อนว่าคดีของผู้ร้องมีมูลหรือไม่หากเห็นว่ามีมูลจึงหมายเรียก ช. และบุคคลที่เกี่ยวข้องตามคำร้องให้นำตัว พ. มาศาล การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างขึ้น จึงให้หมายเรียก ช. กับพวก ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ ช. อันอาจถือว่าเป็นบุคคลที่ผู้ร้องอ้างว่าเกี่ยวข้องในการควบคุม พ. มาไต่สวนเพิ่มเติม จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอน ที่ ป.วิ.อ. มาตรา 90 บัญญัติไว้ การดำเนินการไต่สวน ช. กับพวกดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้ พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2555: หลักเกณฑ์การลดโทษและปล่อยตัวนักโทษเด็ดขาด
ในชั้นขอปล่อยบุคคลซึ่งถูกคุมขังโดยมิชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 โจทก์ก็ถือเป็นคู่ความในคดี แม้จะไม่เคยเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็ตาม แต่เป็นเพราะศาลชั้นต้นมิได้มีหมายแจ้งให้โจทก์ทราบถึงการยื่นคำร้องของผู้ร้องหรือส่งสำเนาอุทธรณ์ของผู้ร้องให้โจทก์แก้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้ปล่อยตัวจำเลยย่อมมีผลกระทบต่อการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลฎีกา โจทก์จึงมีสิทธิฎีกาได้
คดีนี้ผู้ร้องในฐานะเป็นบุตรซึ่งถือเป็นญาติของจำเลยซึ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบ แม้ผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 15 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจให้ปล่อยได้
พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2555 มาตรา 6 (2) (ง) เป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 หมายความว่า หากนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 8 แล้ว จึงจะนำมาตรา 6 มาพิจารณาได้ เมื่อจำเลยเป็นนักโทษเด็ดขาดซึ่งได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรกและวรรคสาม อันเป็นความผิดตามบัญชีลักษณะความผิดท้าย พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 8 (2) ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษแล้ว จำเลยจึงไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัวตามมาตรา 6 (2) (ง) อีก
คดีนี้ผู้ร้องในฐานะเป็นบุตรซึ่งถือเป็นญาติของจำเลยซึ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบ แม้ผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 15 พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 ผู้ร้องก็มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจให้ปล่อยได้
พ.ร.ฎ.อภัยโทษ พ.ศ.2555 มาตรา 6 (2) (ง) เป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 หมายความว่า หากนักโทษเด็ดขาดรายใดไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับพระราชทานอภัยโทษตามมาตรา 8 แล้ว จึงจะนำมาตรา 6 มาพิจารณาได้ เมื่อจำเลยเป็นนักโทษเด็ดขาดซึ่งได้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรกและวรรคสาม อันเป็นความผิดตามบัญชีลักษณะความผิดท้าย พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 8 (2) ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ลดโทษแล้ว จำเลยจึงไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัวตามมาตรา 6 (2) (ง) อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องปล่อยตัวผู้ต้องขัง: แม้ผู้ร้องไม่อุทธรณ์ ผู้ถูกคุมขังก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องตามมาตรา 90 (5) เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ผู้ถูกคุมขัง เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง แม้ผู้ร้องไม่อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถูกคุมขังเองเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดห้ามหรือจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในกรณีนี้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14293/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาและการใช้สิทธิขอปล่อยตัวชั่วคราว จำเลยต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ ไม่ใช่คำร้องขอปล่อยตัวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
คำร้องของจำเลยที่อ้างว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลชั้นต้นตรวจสอบถึงสาระสำคัญคลาดเคลื่อน จึงออกคำพิพากษาที่มิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่จำเลยโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ ซึ่งหากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร ก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 จำเลยจะยกเอาเหตุดังกล่าวขึ้นมากล่าวอ้างว่าจำเลยถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพื่อยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอปล่อยตัวจากการคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายระงับเมื่อศาลมีคำสั่งคุมขังระหว่างพิจารณา
สิทธิในการร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ถูกคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ผู้ร้องถูกจับกุมก่อนที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนทั้งมิใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือกรณีใดๆ ที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การคุมขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งปล่อยตัวผู้ร้อง พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา ดังนั้น แม้การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การคุมขังนั้นก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับไป ผู้ร้องจึงไม่อาจจะร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง ด้วยการ้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเองต่อไป ทั้งการจับกุมและคุมขังเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณา ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71, 88 แล้ว การคุมขังร้องในระหว่างพิจารณาจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ร้อง
ผู้ร้องถูกจับกุมก่อนที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนทั้งมิใช่ความผิดซึ่งหน้าหรือกรณีใดๆ ที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้การคุมขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย แต่ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งปล่อยตัวผู้ร้อง พนักงานอัยการได้ฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้นในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดต่อ พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา ดังนั้น แม้การคุมขังผู้ร้องโดยพนักงานสอบสวนจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การคุมขังนั้นก็สิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ศาลประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องในระหว่างพิจารณา สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ปล่อยจากการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายจึงระงับไป ผู้ร้องจึงไม่อาจจะร้องขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90
การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้อง ด้วยการ้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเองต่อไป ทั้งการจับกุมและคุมขังเป็นขั้นตอนต่างหากจากการสอบสวน การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยในชั้นพิจารณาของศาล เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ระหว่างพิจารณา ซึ่งเป็นอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 71, 88 แล้ว การคุมขังร้องในระหว่างพิจารณาจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพิเศษนายกฯ ตามธรรมนูญการปกครอง 2520 และความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งจำคุก
เมื่อคณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 และประกาศให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2519 ต่อมาได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2520 ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งจะได้จัดร่างขึ้นใหม่ตามบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ ดังนั้น ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 จึงเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและบริหารราชการแผ่นดินในขณะนั้น
เมื่อตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนหรือทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้และไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย" ถ้อยคำในมาตรา 27 ที่ว่า ...ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้" ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุก ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร
เมื่อปรากฏตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ว่า อ. ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกมีเฮโรอีนน้ำหนัก 92 กิโลกรัมเศษ มอร์ฟีน 98 กิโลกรัมเศษ และฝิ่นสุกอีก 81 กิโลกรัมเศษ อันเป็นยาเสพติดให้โทษจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ บ่อนทำลายสุขภาพอนามัยของประชาชน เป็นภัยร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ครบองค์ประกอบความผิดที่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นสามารถใช้อำนาจตามมาตรา 27 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและสภานโยบายแห่งชาติสั่งให้จำคุกตลอดชีวิต อ. ในข้อหาร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้ อันเป็นการใช้อำนาจโดยชอบตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2521 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้การออกคำสั่งดังกล่าวมีผลเป็นการลงโทษจำกัดสิทธิเสรีภาพบุคคล ซึ่งโดยปกติจะกระทำได้โดยอาศัยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการและมาตรา 29 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร พ.ศ.2520 จะบัญญัติว่า "ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย" ก็ตาม ก็ไม่ขัดหรือแย้งกันเอง และหาทำให้คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 กลับกลายเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายไม่ ทั้งนี้เพราะการใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 เป็นการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะมีคำสั่งใดๆ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27 ดังกล่าว ส่วนอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาและตุลาการสำหรับคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 27
กรณีไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 ที่บัญญัติว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย" เพราะการสั่งจำคุก อ. ในคดีนี้เป็นการสั่งโดยชอบด้วยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 หาใช่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรนี้ใช้บังคับไม่ ดังนั้น คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2521 จึงชอบด้วยกฎหมาย กรณีของผู้ร้องไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 90 ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยตัว อ.
เมื่อตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนหรือทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือการกระทำอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือการกระทำอันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศ หรือเป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัยของประชาชน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันใช้ธรรมนูญการปกครองนี้และไม่ว่าจะเกิดขึ้นภายในหรือภายนอกราชอาณาจักร ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้ และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำของนายกรัฐมนตรีรวมทั้งการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย" ถ้อยคำในมาตรา 27 ที่ว่า ...ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและของสภานโยบายแห่งชาติ มีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใดๆ ได้" ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุก ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร
เมื่อปรากฏตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ว่า อ. ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกมีเฮโรอีนน้ำหนัก 92 กิโลกรัมเศษ มอร์ฟีน 98 กิโลกรัมเศษ และฝิ่นสุกอีก 81 กิโลกรัมเศษ อันเป็นยาเสพติดให้โทษจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นการบ่อนทำลายเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ บ่อนทำลายสุขภาพอนามัยของประชาชน เป็นภัยร้ายแรงต่อประเทศชาติและประชาชน ครบองค์ประกอบความผิดที่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นสามารถใช้อำนาจตามมาตรา 27 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและสภานโยบายแห่งชาติสั่งให้จำคุกตลอดชีวิต อ. ในข้อหาร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และพยายามส่งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้ อันเป็นการใช้อำนาจโดยชอบตามที่กำหนดไว้ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2521 จึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้การออกคำสั่งดังกล่าวมีผลเป็นการลงโทษจำกัดสิทธิเสรีภาพบุคคล ซึ่งโดยปกติจะกระทำได้โดยอาศัยคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการและมาตรา 29 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร พ.ศ.2520 จะบัญญัติว่า "ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย" ก็ตาม ก็ไม่ขัดหรือแย้งกันเอง และหาทำให้คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 กลับกลายเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายไม่ ทั้งนี้เพราะการใช้อำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 เป็นการใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะมีคำสั่งใดๆ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 27 ดังกล่าว ส่วนอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาและตุลาการสำหรับคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่มีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 27
กรณีไม่ถือว่าเป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 ที่บัญญัติว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย" เพราะการสั่งจำคุก อ. ในคดีนี้เป็นการสั่งโดยชอบด้วยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 มาตรา 27 หาใช่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรนี้ใช้บังคับไม่ ดังนั้น คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 28/2521 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2521 จึงชอบด้วยกฎหมาย กรณีของผู้ร้องไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 90 ผู้ร้องไม่มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยตัว อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอปล่อยตัวจากการควบคุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 เกิดขึ้นได้เฉพาะขณะถูกควบคุมเท่านั้น
สิทธิของผู้ถูกคุมขังในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 นั้น มีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ตามคำร้องปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องถูกควบคุมตัว พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ร้องชั่วคราวไปแล้ว โดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้ กรณีจึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องในขณะยื่นคำร้องแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอตามมาตรา 90 ได้ หากการจับไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้องด้วยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลตามกฎหมายเรื่องนั้น ๆ ต่อไป
ทรัพย์สินซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจคืนแก่ผู้ร้องนั้น ก็มิใช่กรณีที่จะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 เช่นกัน ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2550)
ทรัพย์สินซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจคืนแก่ผู้ร้องนั้น ก็มิใช่กรณีที่จะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90 เช่นกัน ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2550)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4827/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอปล่อยตัวชั่วคราวและการคืนทรัพย์สินหลังพ้นการควบคุมตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90
สิทธิของผู้ถูกคุมขังในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90 นั้น มีอยู่เพียงชั่วระยะยาวเวลาที่ผู้ถูกคุมขังยังถูกควบคุมหรือขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ตามคำร้องปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องถูกควบคุมตัว พนักงานสอบสวนได้ปล่อยตัวผู้ร้องชั่วคราวไปแล้วโดยให้ผู้ร้องทำสัญญาประกันไว้ กรณีจึงไม่มีการควบคุมตัวผู้ร้องในขณะยื่นคำร้องแล้วผู้ร้องจึงไม่อาจจะร้องขอตามมาตรา 90 ได้อีกต่อไป หากการจับเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะดำเนินคดีแก่เจ้าพนักงานตำรวจที่จับผู้ร้องด้วยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานหรือฟ้องคดีต่อศาลด้วยตนเองตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องนั้น ๆ ต่อไป สำหรับทรัพย์สินซึ่งผู้ร้องกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดไปโดยมิชอบด้วยกำหมายและขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจคืนแก่ผู้ร้องนั้น ก็มิใช่กรณีที่จะยื่นคำขอมาพร้อมกับคำร้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 90 ได้เช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง
(ประชุมใหญ่)
(ประชุมใหญ่)