คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 90

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องปล่อยตัวระงับเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับ
สิทธิของผู้ร้องในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น จะมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ร้องถูกควบคุมหรือขังอยู่เท่านั้นถ้าผู้ร้องได้รับการปล่อยตัวไปแล้วสิทธิในการขอให้ศาลสั่งปล่อยตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมระงับ ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของผู้ร้องและผู้ร้องอุทธรณ์แต่ปรากฏว่าผู้ร้องได้รับการปล่อยตัวไปแล้วก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์ สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยจึงเป็นอันระงับไปแล้วก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1853/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาการควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นภัยต่อสังคม และสิทธิในการร้องขอความเป็นธรรม
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 22 ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าบุคคลผู้ถูกควบคุมนั้นมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่โดยเฉพาะในคำสั่งก็ไม่มีข้อความระบุว่าให้อำนาจในการจับกุมและควบคุมของเจ้าพนักงานเป็นที่สุด หรือห้ามบุคคลใด ๆ นำกรณีดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าบุคคลใดมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ อันจะนำข้อเท็จจริงไปสู่ข้อวินิจฉัยว่าการที่เจ้าพนักงานควบคุมบุคคลผู้นั้น เป็นการควบคุมโดยชอบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90และศาลได้หมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งก่อให้เกิดการควบคุมหรือขังเข้ามาในคดีแล้ว ย่อมถือว่ามีข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดค้าน และเป็นคู่ความ เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไร หากผู้ร้องหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยตามคำสั่งก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องปล่อยตัวผู้ถูกควบคุมตามคำสั่ง คปถ. และสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 22 ไม่ตัดอำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่า บุคคลผู้ถูกควบคุมนั้นมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ โดยเฉพาะในคำสั่งก็ไม่มีข้อความระบุว่าให้อำนาจในการจับกุมและควบคุมของเจ้าพนักงานเป็นที่สุด หรือห้ามบุคคลใด ๆ นำกรณีดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาล ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าบุคคลใดมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่ อันจะนำข้อเท็จจริงไปสู่ข้อวินิจฉัยว่าการที่เจ้าพนักงานควบคุมบุคคลผู้นั้น เป็นการควบคุมโดยชอบหรือผิดกฎหมาย
เมื่อมีคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 และศาลได้หมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งก่อให้เกิดการควบคุมหรือขังเข้ามาในคดีแล้ว ย่อมถือว่ามีข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับเจ้าพนักงานหรือบุคคลซึ่งเป็นผู้คัดค้าน และเป็นคู่ความ เมื่อศาลพิจารณาและมีคำสั่งอย่างไร หากผู้ร้องหรือผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยตามคำสั่ง ก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน ไม่ใช่เพียงหลักฐานเลื่อนลอย
พฤติการณ์อันเป็นเหตุที่จะควบคุมบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมได้นั้นจะต้องมีหลักฐานประกอบพอสมควรที่จะฟังได้ว่า บุคคลที่ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์เช่นนั้น มิใช่มีแต่เพียงหลักฐานอันเลื่อนลอยและคลุมเครือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมต้องมีหลักฐานชัดเจน ไม่ใช่แค่พฤติการณ์เลื่อนลอย
พฤติการณ์อันเป็นเหตุที่จะควบคุมบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคมได้นั้นจะต้องมีหลักฐานประกอบพอสมควรที่จะฟังได้ว่า บุคคลที่ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์เช่นนั้น มิใช่มีแต่เพียงหลักฐานอันเลื่อนลอยและคลุมเครือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 กรณีบุคคลอันธพาลและข้อหาลักทรัพย์
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่ แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าว ซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไป ก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุม พนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้วและรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า 12รายได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ต้องหารับสารภาพ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ลักษณะของผู้ประพฤติตนเป็นบุคคลอันธพาล หาได้จำกัดแต่เพียงกรณีที่เป็นบุคคลดำรงชีพอยู่ด้วยการกระทำผิดกฎหมายอันเป็นภัยต่อเศรษฐกิจของชาติเท่านั้นไม่แต่บุคคลที่ประพฤติตนเช่นที่อธิบายไว้ตอนต้นของประกาศดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นภยันตรายแก่ความสงบสุขของประชาชนพลเมืองโดยทั่วไปก็ถือว่าเป็นบุคคลอันธพาล อยู่ในข่ายที่จะถูกดำเนินการตามประกาศนี้ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ต้องหาที่มีการประพฤติตนเป็นคนอันธพาลได้เป็นพิเศษนอกเหนือไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 แต่การที่จะควบคุมบุคคลใดตามประกาศนี้ได้นั้น บุคคลผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาลนั้นต้องกระทำการซึ่งเป็นการละเมิดต่อกฎหมายขึ้น และมีความจำเป็นต้องควบคุมไว้เพื่อสอบสวน กรณีที่ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจร และตามทางสืบสวนสอบสวนปรากฏว่าผู้ต้องหานี้เป็นบุคคลอันธพาลด้วย พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจที่จะควบคุมไว้ทำการสอบสวนได้ไม่เกิน 30 วัน ตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 ข้อ 1 ให้อำนาจไว้ เมื่อการกระทำและคำสั่งของพนักงานสอบสวนที่ให้ควบคุมผู้ต้องหานี้เป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 90
ผู้ต้องหาถูกจับมาในข้อหาว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์และเป็นซ่องโจรแม้ผู้ต้องหาได้รับสารภาพว่าได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์รวม 10 รายแล้ว เมื่อยังอยู่ในระยะเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันจับกุมพนักงานสอบสวนก็ยังมีอำนาจควบคุมต่อมาเพื่อสอบสวนในความผิดรายที่รับสารภาพแล้ว และรายอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วได้ความว่ามีไม่น้อยกว่า12 ราย ได้ เพราะแม้จะให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวนก็ยังจะต้องสอบสวนพยานหลักฐานเพื่อให้ได้ความชัดแจ้งว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่รับสารภาพหรือไม่ เพราะผู้ต้องหาอาจมาปฏิเสธในชั้นศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการปล่อยตัวนักโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ: ศาลจังหวัดนนทบุรีมีอำนาจเหนือศาลทหารกรุงเทพ
จำเลย (ที่ 1) ถูกศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ.2503 แต่จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้งตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2504 และ พ.ศ. 2506 ลดโทษลงเป็นจำคุก 20 ปี นับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2502 จำเลยจึงเป็นนักโทษเด็ดขาด ถูกจำคุกไว้ที่เรือนจำกลางบางขวาง ครั้นต่อมาได้มี พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2514 ออกใช้บังคับ ซึ่งผู้ร้องผู้เป็นภริยาจำเลยเห็นว่า ตามความในมาตรา 5(จ)
จำเลยอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่ก็ยังมิได้รับการพิจารณาสั่งปล่อย ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 โดยถือว่าจำเลยถูกควบคุมโดยผิดกฎหมาย การยื่นคำร้องดังกล่าวนั้นต้องยื่นต่อศาลจังหวัดนนทบุรีตามความในมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจแก่ศาลแห่งท้องที่ที่ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษอยู่ในเขตมีอำนาจออกหมายสั่งปล่อย หาใช่ศาลทหารกรุงเทพ(ศาลอาญา) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าถูกจำคุก ผิดจากคำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ สั่งจำคุกเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ และขอบเขตการตรวจสอบของศาล
ถ้อยคำในมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่ว่า'.....ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฯลฯ' นั้น ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุกก็ทำได้ ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรฯ
เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งว่า การกระทำของผู้ร้องที่ร่วมกันมียาปลอมไว้ขายและปลอมยาของผู้อื่นเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรให้จำคุกผู้ร้องไว้นั้นผู้ร้องจะเถียงว่าการกระทำของผู้ร้องไม่ถึงกับเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรหาได้ไม่ เพราะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีสั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย และไม่มีบทกฎหมายใดให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีในกรณีเช่นนี้ได้ เว้นแต่มตินั้นเป็นการกระทำนอกเหนือความในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
มาตรา 17 บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้น ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฉะนั้นที่ นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17จึงไม่ขัดต่อ มาตรา 5 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรอีกทั้งการวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวก็หาขัดต่อมาตรา 20 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแต่อย่างใดไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ในธรรมนูญนี้ไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีนี้ได้ จึงจะต้องวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ สั่งจำคุกเพื่อระงับภัยคุกคามความมั่นคง: การใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครอง
ถ้อยคำในมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่ว่า'.....ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฯลฯ' นั้น ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุกก็ทำได้ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรฯ
เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งว่า การกระทำของผู้ร้องที่ร่วมกันมียาปลอมไว้ขายและปลอมยาของผู้อื่น เป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรให้จำคุกผู้ร้องไว้นั้นผู้ร้องจะเถียงว่าการกระทำของผู้ร้องไม่ถึงกับเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หาได้ไม่ เพราะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีสั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย และไม่มีบทกฎหมายใดให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีในกรณีเช่นนี้ได้ เว้นแต่มตินั้นเป็นการกระทำนอกเหนือความในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
มาตรา 17 บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้น ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฉะนั้นที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17จึงไม่ขัดต่อ มาตรา 5 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร อีกทั้งการวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวก็หาขัดต่อมาตรา 20 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแต่อย่างใดไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ในธรรมนูญนี้ไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีนี้ได้ จึงจะต้องวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย
of 6