คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 90

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติ: การพิจารณาและสั่งการทุก 3 เดือนเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการฯ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1. ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้.
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว.จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2. ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุกๆ 3 เดือนว่า. บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป. ถ้าคณะกรรมการฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด. การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน. เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติ การพิจารณาปล่อยตัวต้องทำภายใน 3 เดือน หากไม่พิจารณา การควบคุมต่อไปถือว่าไม่ชอบ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 ไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้ว จึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการ ฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุก ๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการ ฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือน เป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมตัวบุคคลอันธพาลตามประกาศคณะปฏิวัติ การควบคุมเกิน 3 เดือนโดยไม่พิจารณาคำสั่งเป็นโมฆะ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 ข้อ 1 ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ประพฤติตนเป็นอันธพาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21ไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้
เมื่อบุคคลดังกล่าวเข้าไปอยู่ในสถานอบรมและฝึกอาชีพแล้วจึงตกเป็นอำนาจของคณะกรรมการฯ ที่จัดตั้งขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43ข้อ 2 ที่จะต้องพิจารณาและมีคำสั่งทุกๆ 3 เดือนว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้นควรให้ควบคุมไว้หรือให้ปล่อยตัวไป ถ้าคณะกรรมการฯ มิได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด การควบคุมบุคคลดังกล่าวไว้เมื่อพ้นกำหนด 3 เดือนเป็นการควบคุมที่ไม่ชอบตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่105/2506)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1853/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดการควบคุมตัวและการไม่มีอำนาจร้องขอปล่อยตัว
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยบุตรผู้ร้องซึ่งถูกตำรวจควบคุมไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขณะไต่สวนคำร้อง บุตรผู้ร้องหนีที่ควบคุมไปบุตรผู้ร้องจึงไม่ได้ถูกควบคุมตัวอยู่โดยเจ้าพนักงานที่ผู้ร้องอ้างว่าควบคุมตัวไว้โดยผิดกฎหมายนั้นแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องต่อศาลขอให้ปล่อย ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นงดการไต่สวนและจำหน่ายคดีผู้ร้อง ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1155/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ศาลอาญาไม่มีอำนาจสั่งปล่อยตัวผู้ถูกขังโดยหมายศาลทหาร แม้เป็นคดีที่โต้แย้งถึงอำนาจศาล
ศาลยุติธรรมตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม และศาลทหารตามพระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหารต่างมีฐานะเป็นศาลที่ใช้อำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน จึงต่างไม่มีอำนาจเหมือนกัน ศาลต่อศาลจะมีอำนาจเหนือกันได้ก็แต่เฉพาะที่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย ฉะนั้น ศาลอาญาจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะมีอำนาจสั่งให้ปล่อยตัวบุคคลที่ศาลทหารในเวลาไม่ปกติได้ออกหมายขังไว้ได้
บุคคลที่ลงชื่อในหมายขังของศาลหาใช่กระทำเป็นส่วนตัวไม่ แต่กระทำในนามของศาลและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ตามกฎหมาย จึงต้องถือว่าศาลนั้นเป็นผู้ก่อให้เกิดการขังนั้นขึ้น
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น ให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานหรือบุคคลอื่นซึ่งก่อให้เกิดการควบคุม ขับ หรือจำคุก ฯ มาได้เท่านั้น จะขยายความออกไปให้ศาลหมายเรียกศาลด้วยกันมาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-327/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในคดีคอมมิวนิสต์: ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ต้องไม่เกินความจำเป็นและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ให้อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในกรณีกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ฯ ได้เท่าที่จำเป็นแก่การสอบสวนเท่านั้น ไม่ใช่ให้ควบคุมโดยไม่มีกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วางหลักเป็นประกันเสรีภาพของประชาชนไว้ 2 ตอน ตอนต้นว่า จะควบคุมตัวผู้ต้องหาเกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่ได้ตอนที่สองว่า ความจำเป็นดังกล่าว จะจำเป็นเพียงใดก็ตามก็จะควบคุมเกินกว่ากำหนดเวลาดังบัญญัติไว้ไม่ได้
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 เป็นการแก้ไขและขยายระยะเวลาขั้นสูงดังกำหนดไว้ในมาตรา 87 ไม่ได้ยกเลิกหลักใหญ่ของมาตรานี้ที่ให้ควบคุมผู้ต้องหาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-327/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในคดีคอมมิวนิสต์: ประกาศ คปค.ฉบับที่ 12 ต้องเป็นไปตามหลัก 'จำเป็น' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 ให้อำนาจควบคุมผู้ต้องหาในกรณีกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ฯ ได้เท่าที่จำเป็นแก่การสอบสวนเท่านั้น ไม่ใช่ให้ควบคุมโดยไม่มีกำหนด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 วางหลักเป็นประกันเสรีภาพของประชาชนไว้ 2 ตอน ตอนต้นว่า จะควบคุมตัวผู้ต้องหาเกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดีไม่ได้ ตอนที่สองว่า ความจำเป็นดังกล่าวจะจำเป็นเพียงใดก็ตาม ก็จะควบคุมเกินกว่ากำหนดเวลาดังบัญญัติไว้ไม่ได้
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 12 เป็นการแก้ไขและขยายระยะเวลาคั่นสูงดังกำหนดไว้ในมาตรา 87 ไม่ได้ยกเลิกหลักใหญ่ของมาตรานี้ที่ให้ ควบคุมผู้ต้องหาได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มาตรา 90 ป.วิ.อ. คุ้มครองสิทธิบุคคลจากการถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล หาใช่บทบัญญัติลงโทษการกระทำผิดไม่ ฉะนั้น เมื่อคำร้องของผู้ร้องบรรยายข้อความเข้าดังบัญญัติไว้ในมาตรา 90 แล้ว ศาลก็ชอบที่จะยกมาตรานี้ขึ้นพิจารณาและปรับกับกรณีได้
คำว่า "ควบคุม" หรือ "ขัง" ในมาตรา 90 นี้ เป็นถ้อยคำที่ใช้ตามความหมายธรรมดา หาใช่จำกัดดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(21) และ (22) อธิบายไว้ไม่ ฉะนั้น มาตรา 90 จึงเป็นบทบัญญัติสำหรับกรณีที่บุคคลต้องถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหรือขังโดยเจ้าพนักงานหรือคนธรรมดาก็ตาม
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องถูกควบคุมโดยมิชอบ แม้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร
ถึงแม้ผู้ร้องถูกจับกุมในข้อหาที่อยู่ในอำนาจศาลทหารจะพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 12 ก็ตาม เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาลและไม่ได้ถูกควบคุมโดยอำนาจของศาล แต่ถูกควบคุมโดยพนักงานสอบสวนตำรวจสันติบาลทั้งประกาศของคณะปฏิวัติก็ไม่มีกล่าวไว้ถึงกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประการใดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลอ้างว่า ถูกควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 2 (1) นั่นเอง เมื่อผู้ร้องถูกควบคุมอยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญา ศาลอาญามีอำนาจรับคำร้องไว้ดำเนินการต่อไป ตามกฎหมายได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องถูกควบคุมโดยมิชอบ แม้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร
ถึงแม้ผู้ร้องถูกจับกุมในข้อหาที่อยู่ในอำนาจศาลทหารจะพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 12 ก็ตาม เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาลและไม่ได้ถูกควบคุมโดยอำนาจของศาล แต่ถูกควบคุมโดยพนักงานสอบสวนตำรวจสันติบาลทั้งประกาศของคณะปฏิวัติก็ไม่มีกล่าวไว้ถึงกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประการใดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลอ้างว่าถูกควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น ย่อมหมายถึงศาลยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(1) นั่นเอง เมื่อผู้ร้องถูกควบคุมอยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญา ศาลอาญามีอำนาจรับคำร้องไว้ดำเนินการต่อไปตามกฎหมายได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)
of 6