คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 306 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิในที่ดินและการชดใช้ค่าเสียหาย แม้ไม่ได้เสียหายจากเงินมัดจำที่ถูกริบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยคัดค้านการแบ่งแยกที่ดินทำให้โจทก์แบ่งขายที่ดินไม่ได้ โจทก์จึงไม่ด้เงินไปชำระราคาที่ดินซึ่งโจทก์วางมัดจำซื้อไว้เป็นเหตุให้โจทก์ถูกริบเงินมัดจำแม้จะปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่จะถือว่าเงินมัดจำที่โจทก์ถูกริบเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดไม่ได้
เมื่อมีการละเมิดขึ้นแล้ว ศาลย่อมวินิจฉัยให้จำเลยให้ค่าสินไหมทดแทนได้ตามควรแก่พฤติการณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดขอค่าเสียหายที่ถูกริบมัดจำหนึ่งหมื่นบาท เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในเงินมัดจำที่โจทก์ถูกริบศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการละเมิดแก่โจทก์หนึ่งพันบาทก็ได้ไม่เกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดทางอาญา: การประเมินจากพฤติการณ์และข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
จำเลยกระทำอย่างไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แต่การกระทำนั้นจะเป็นความผิดหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงต่างๆประกอบ เมื่อขาดข้อเท็จจริงบางอย่างเช่นขวากวางห่างหัวคันนาเพียงใด แล้วก็หาอาจวินิจฉัยได้ไม่ว่าจำเลยมีเจตนาจะให้ผู้เดินนอกนาต้องได้รับบาดเจ็บจากขวาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดอาญา: การวางขวากกีดขวางทางเดินและการพิสูจน์เจตนาทำร้าย
จำเลยกระทำอย่างไรเป็นปัญหาข้อเท็จจริง แต่การกระทำนั้นจะเป็นความผิดหรือไม่เป็นปัญหาข้อ ก.ม.
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายจำต้องอาศัยข้อเท็จจริงต่าง ๆ ประกอบ เมื่อขาดข้อเท็จจริงบางอย่างเช่นขวากวางห่างหัวคันนาเพียงใดแล้วก็หาอาจวินิจฉัยได้ไม่ว่าจำเลยมีเจตนาจะให้ผู้เดินนอกนาต้องได้รับบาดเจ็บจากขวาก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดทรัพย์ซ้ำซ้อนในหนี้สินเดียวกัน: ศาลไม่อนุญาตคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษา
เมื่อปรากฏว่าหนี้สินที่ฟ้องและขออายัดทรัพย์ของจำเลยคดีนี้เคยติดบัญชีกันแล้วจำเลยยังเป็นหนี้เงินโจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง ทั้งเป็นหนี้สินเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ได้เคยฟ้องเรียกเงินจากจำเลยไว้ในคดีก่อนทั้งยังได้ขออายัดทรัพย์จำเลยไว้แล้วด้วย. ดังนี้ย่อมไม่มีเหตุสมควรที่จะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษามาใช้บังคับในคดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นถือเป็นข้อห้ามตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องพิพาทยังไม่ถึง 1 เดือนก็มาฟ้องจำเลยเช่นนี้ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 โจทก์จึงฟ้องจำเลยไม่ได้
แต่เมื่อปรากฏว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้เช่า: เหตุฟ้องไม่ชอบและข้อต่อสู้ใหม่ที่ศาลชั้นต้นไม่ได้พิจารณา
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกจากห้องพิพาทยังไม่ถึง 1 เดือนก็มาฟ้องจำเลยเช่นนี้ไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.ม.566 โจทก์จึงฟ้องจำเลยไม่ได้
แต่เมื่อปรากฎว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้คูร่วมกันตามสัญญาเช่า แม้ถมคูสร้างอาคารก็ยังต้องเปิดคูคืนสภาพเดิม
เช่าที่ส่วนหนึ่งจากเจ้าของที่ดิน และมีข้อตกลงกันว่าคู่สัญญามีสิทธิใช้คูร่วมกัน ในการใช้น้ำก็ดี ในการจอดเรือก็ดี ดังนี้ เจ้าของที่ดินหรือผู้รับโอนถมคูดังกล่าวเสีย ทำให้ผู้เช่าที่ดินไม่ได้ใช้น้ำ ไม่สามารถนำเรือเข้าออกในคู ผู้เช่าที่ดินมีสิทธิเรียกค่าเสียหายและให้เปิดคูให้คืนดีตามสภาพเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246-1247/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา, การครอบครองทรัพย์สิน, สิทธิเจ้าของรวม, อายุความ
คดีสองเรื่องพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์รายเดียวกัน สำนวนแรกตั้งทุนทรัพย์มาเกิน 2,000 บาท ส่วนสำนวนหลังตั้งทุนทรัพย์มาไม่เกิน 2,000 บาท (คือ2,000 บาท ดังนั้นเฉพาะคดีหลังย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 (อ้างฎีกาที่ 79,80/2494)
กล่าวฟ้องว่าโจทก์และผู้มีชื่อในโฉนดปกครองร่วมกันมาทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าเมื่อซื้อแล้วก็ใส่ชื่อผู้ซื้อในโฉนดแล้วโจทก์และผู้มีชื่ออีกคนหนึ่งมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดูแลปกครองที่ดิน ดังนี้ย่อมถือว่าเป็นการสืบถูกต้องตามประเด็นในฟ้องแล้ว
เมื่อปรากฏว่าจำเลยครอบครองแทนผู้มีชื่อในโฉนดอื่นแล้วอายุความฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองตาม มาตรา 1375 ก็ไม่ตั้งต้นจนกว่าจะได้บอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าตนไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองคือเจ้าของอีกต่อไปตาม มาตรา 1381
เจ้าของรวมคนหนึ่งในโฉนดมีสิทธิจำหน่ายส่วนที่ตนมีสิทธิได้ตาม มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง เพราะไม่ใช่เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินทั้งหมดตาม ในวรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246-1247/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์, กรรมสิทธิร่วม, อายุความครอบครอง, และการจำหน่ายสิทธิในที่ดิน
คดีสองเรื่องพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์รายเดียวกัน สำนวนแรก+ทุนทรัพย์มาเกิน 2,000 บ.ส่วนสำนวนหหลังตั้งทุนทรัพย์มาไม่เกิน 2,000 บ. (คือ 2000 บ.) ดังนั้นฉะเพาะคดีหลังย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.แพ่ง ม.248 (อ้างฎีกาที่ 79,80/94)
กล่าวฟ้องว่าโจทก์และผู้มีชื่อในโฉนดปกครองร่วมกันมาทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าเมื่อซื้อแล้วก็ใส่ชื่อผู้ซื้อในโฉนดแล้วโจทก์และผู้มีชื่ออีกคนหนึ่งมอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดูแลปกครองที่ดินดังนี้ย่อมถือว่าเป็นการสืบถูกต้องตามประเด็นในฟ้องแล้ว
เมื่อปรากฎว่าจำเลยครอบครองแทนผู้มีชื่อในโฉนดอื่นแล้วอายุความฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองตาม ม.1375 ก็ไม่ตั้งต้นจนกว่าจะได้บอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าตนไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองคือเจ้าของอีกต่อไปตาม ม.1381
เจ้าของรวมคนหนึ่งในโฉนดมีสิทธิจำหน่ายส่วนที่ตนมีสิทธิได้ ตาม ม.1361 วรรค 1 เพราะไม่ใช่เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินทั้งหมดตามในวรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดพ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์: ความผิดเฉพาะเจาะจง vs. ความผิดต่อเนื่อง
ความผิดฐานไม่จดทะเบียนพานิชย์เสียภายในกำหนด 30 วันอันมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาทนั้น ถ้าไม่ได้ฟ้องเสียภายในกำหนด 1 ปี ย่อมขาดอายุความ แต่ความผิดในการที่ประกอบพานิชย์กิจต่อๆ มาโดยไม่ได้จดทะเบียนอันมีโทษปรับเป็นรายวันนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องปรับได้ไม่เกิน 1 ปี วันใดที่เกิน 1 ปี ย่อมขาดอายุความเช่นกัน(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2499)
of 31