คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักตัวคนต่างด้าวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สถานที่กักขังไม่เหมาะสม และการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง
การกักตัวคนต่างด้าวตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ไม่อยู่ในความหมายบทนิยาม "คุมขัง" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (12) โดยที่ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกักตัวคนต่างด้าวไว้ ณ สถานที่ใดตามที่เห็นเหมาะสม แต่การที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไม่มีห้องกักตัวที่เหมาะสมเป็นของตัวเอง แล้วนำผู้ร้องซึ่งเป็นคนต่างด้าวไปกักตัวไว้ในห้องคุมตัวหรือควบคุมผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาของสถานีตำรวจ จึงมิใช่เป็นการกักตัวผู้ร้องไว้ ณ สถานที่เหมาะสม และกรณีมีเหตุจำเป็นต้องกักตัวผู้ร้องไว้เกินกำหนดเจ็ดวัน โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไม่ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีอำนาจกักตัวคนต่างด้าวต่อไปอีก เป็นการไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 20 วรรคสอง การกักตัวผู้ร้องไว้ในห้องคุมตัวหรือควบคุมผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาของสถานีตำรวจดังกล่าว จึงเป็นการคุมขังในกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง และผลผูกพันตามสัญญา
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา5แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองรวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนดตามมาตรา19แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522ดังนี้ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลยก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผ่อนผันค่าปรับจากสัญญาประกันคนต่างด้าวของผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง มิได้ต้องรอความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจ
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง รวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522ดังนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสามและหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลย ก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อนดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันคนต่างด้าว: สิทธิหน้าที่คู่สัญญา, การปลดหนี้, อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่
ในคดีที่ฎีกาได้แต่เฉพาะในปัญหาข้อฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 5แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 แต่งตั้งให้ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง รวมทั้งอำนาจในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และหากพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรก็มีอำนาจเรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันเพื่อประกันว่าคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด ตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ดังนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้เรียกประกันหรือเรียกทั้งประกันและหลักประกันดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจเข้าทำสัญญาประกันโดยเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับผู้ประกันได้ เมื่อโจทก์เป็นคู่สัญญากับจำเลยตามสัญญาประกันคนต่างด้าวทั้งสาม และหากจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และหากผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของโจทก์เห็นสมควรมีคำสั่งให้ผ่อนผันการปรับจำเลย ก็ย่อมมีอำนาจออกคำสั่งเช่นนั้นในฐานะคู่สัญญากับจำเลยและตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวได้โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมตำรวจหรือกรมตำรวจก่อน ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้แสดงเจตนาปลดหนี้ให้จำเลยแล้วตามสัญญาประกันย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 340 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาค้ำประกัน, ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง, อำนาจฟ้องพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าว5 ราย โดยจำเลยทำสัญญาค้ำประกันเป็นรายฉบับรวม 5 ฉบับ สำหรับลูกประกันแต่ละรายหากจำเลยผิดสัญญายอมให้ปรับรายละ 20,000 บาท ทุนทรัพย์ในคดีจึงแยกออกตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับ แม้จะปรับรวมกันมา ก็ถือว่ากำหนดค่าปรับภายในวงเงินตามสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับไม่เกินฉบับละ 20,000 บาท คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้จำเลยจะฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา โดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้ทำสัญญาประกันได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่โดยใช้ชื่อตำแหน่งของตนได้
จำเลยสัญญาแก่โจทก์ว่า หากผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งย่อมให้โจทก์ปรับเป็นเงิน 20,000 บาท จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ตามสัญญาจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายมิได้