คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 586

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาจ้างต่อเนื่อง: ตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระยังคงมีผลผูกพัน แม้สัญญาจ้างแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ 1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน"โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538 และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเซ่น เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี..." ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในการได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระตามสัญญาจ้างต่อเนื่อง แม้สัญญาฉบับแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539 ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน 4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน" โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเช่นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี" ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด 1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 ให้ คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำ ไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยปริยายและการจ่ายค่าแรงงานแทนลูกจ้างเดิม
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 11 คูหาโจทก์ได้ก่อสร้างมาระยะหนึ่งก็หยุดไม่ทำต่อไป เมื่อโจทก์ทิ้งงานแล้ว จำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุแสดงเจตนาไว้ว่าไม่ให้โจทก์มาเกี่ยวข้อง ในการก่อสร้างต่อไป และจำเลยได้สอบถามคนงานว่าสามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ หัวหน้าคนงานของโจทก์ก็ตอบว่าสามารถทำงานต่อไปได้แม้จะไม่มีโจทก์ก็ตามและได้ทำงานต่อไปจนเสร็จโดยจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้แก่คนงานดังกล่าว การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานให้จำเลยโดยทิ้งงานไป จำเลยก็แสดงเจตนาที่ไม่ต้องการให้โจทก์ทำงานตามสัญญาต่อไปอีก สัญญาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์จำเลย เป็นอันเลิกกันโดยปริยาย หลังจากโจทก์ทิ้งงานแล้ว คนงานอื่น ๆ ของโจทก์อีกประมาณ80 คน ก็ทำงานต่อในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย เช่นนี้คนงานของโจทก์ที่ทำงานต่อไปจึงทำในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยมิใช่ในฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่คนงานที่ทำงานหลังจากโจทก์ทิ้งงานต่อไปจนเสร็จดังกล่าวหาใช่เป็นการจ่ายแทนโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าแรงงานในส่วนนี้จากโจทก์ตามฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาก่อสร้างโดยปริยายและการจ่ายค่าแรงงาน
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 11 คูหา โจทก์ได้ก่อสร้างมาระยะหนึ่งก็หยุดไม่ทำต่อไป เมื่อโจทก์ทิ้งงานแล้ว จำเลยได้ไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้เป็นหลักฐาน โดยระบุแสดงเจตนาไว้ว่าไม่ให้โจทก์มาเกี่ยวข้องในการก่อสร้างต่อไป และจำเลยได้สอบถามคนงานว่าสามารถทำงานต่อไปได้หรือไม่ หัวหน้าคนงานของโจทก์ก็ตอบว่าสามารถทำงานต่อไปได้แม้จะไม่มีโจทก์ก็ตามและได้ทำงานต่อไปจนเสร็จโดยจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้แก่คนงานดังกล่าว การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำงานให้จำเลยโดยทิ้งงานไป จำเลยก็แสดงเจตนาที่ไม่ต้องการให้โจทก์ทำงานตามสัญญาต่อไปอีก สัญญาก่อสร้างอาคารระหว่างโจทก์จำเลย เป็นอันเลิกกันโดยปริยาย
หลังจากโจทก์ทิ้งงานแล้ว คนงานอื่น ๆ ของโจทก์อีกประมาณ80 คน ก็ทำงานต่อในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย เช่นนี้ คนงานของโจทก์ที่ทำงานต่อไปจึงทำในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลย มิใช่ในฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่คนงานที่ทำงานหลังจากโจทก์ทิ้งงานต่อไปจนเสร็จดังกล่าวหาใช่เป็นการจ่ายแทนโจทก์ จำเลยจึงไม่อาจเรียกค่าแรงงานในส่วนนี้จากโจทก์ตามฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวเลิกจ้าง, ฟ้องเคลือบคลุม, ค่าเดินทางกลับ: ประเด็นความชอบธรรมและการเรียกร้องสิทธิในคดีแรงงาน
จำเลยจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน การที่จำเลยแจ้งโจทก์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2534 ให้โจทก์ออกจากงานในวันที่30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างประจำเดือนตุลาคม 2534 เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดการจ่ายสินจ้างครั้งถัดไปคือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534เป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าที่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยให้โจทก์มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 3 สัปดาห์ และขอให้จำเลยรับผิดชอบเงินเดือนในส่วนที่ชดเชยการไม่ได้ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน 16,650 บาท โดยมิได้บรรยายเลยว่าโจทก์มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีในปีใดบ้าง ปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31,35เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวและพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ จึงไม่ชอบ จำเลยจ้างโจทก์มาจากประเทศอิตาลีโดยออกค่าเดินทางจากประเทศอิตาลีมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถึงโจทก์โดยเสนอจะให้เงินค่าตั๋วเครื่องบินกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกหรือประเทศยุโรป โจทก์ไม่ตกลงตามเงื่อนไขในข้อเสนอดังกล่าว ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตั๋วเดินทางกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกหรือประเทศยุโรปจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องค่าเดินทางกลับถิ่นที่จำเลยจ้างโจทก์มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 586

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าพาหนะเดินทางของลูกจ้างที่ถูกบรรจุและส่งไปประจำต่างท้องถิ่น ต้องเป็นการเดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นที่เริ่มจ้าง
ตามระเบียบของจำเลยกำหนดว่า พนักงานที่เดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นหรือเดินทางกลับท้องถิ่นที่เริ่มจ้างเมื่อออกจากงาน มีสิทธิเบิกค่าพาหนะสำหรับครอบครัวและคนใช้ จำเลยมีคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นพนักงานควบคุมผู้บ่มอิสระสำนักงานไร่ยาสูบเชียงรายตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2491 และมีหนังสือถึงผู้จัดการไร่ยาสูบ เชียงรายส่งตัวโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวในเดือนเดียวกันนั้น เช่นนี้โจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในตำแหน่งนั้นตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งดังกล่าวแล้วจำเลยมิได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานของจำเลยในกรุงเทพมหานครก่อนแล้วมีคำสั่งให้โจทก์ไปประจำการที่จังหวัดเชียงรายอันเป็นการประจำการต่างท้องถิ่นแต่อย่างใด ไม่โจทก์จึงมิใช่พนักงานที่เดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นที่เริ่มจ้าง อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าพาหนะเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพมหานครตามระเบียบของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเบิกค่าพาหนะเดินทางของลูกจ้างเมื่อมีการบรรจุและส่งไปประจำต่างท้องถิ่น มิได้เริ่มจ้างที่ต่างท้องถิ่น
ตามระเบียบของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่เดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นหรือเดินทางกลับท้องถิ่นที่เริ่มจ้างเมื่อออกจากงานมีสิทธิเบิกค่าพาหนะสำหรับครอบครัวและคนใช้ จำเลยมีคำสั่งบรรจุโจทก์เป็นพนักงานควบคุมผู้บ่มอิสระสำนักงานไร่ยาสูบเชียงรายตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2491 และมีหนังสือถึงผู้จัดการไร่ยาสูบ เชียงรายส่งตัวโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวในเดือนเดียวกันนั้นเช่นนี้โจทก์มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในตำแหน่งนั้นตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งดังกล่าวแล้วจำเลยมิได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งอื่นในสำนักงานของจำเลยในกรุงเทพมหานครก่อนแล้วมีคำสั่งให้โจทก์ไปประจำการที่จังหวัดเชียงรายอันเป็นการประจำการต่างท้องถิ่นแต่อย่างใดไม่โจทก์จึงมิใช่พนักงานที่เดินทางไปประจำการต่างท้องถิ่นที่เริ่มจ้างอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเบิกค่าพาหนะเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพมหานครตามระเบียบของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง vs. สัญญาอาสัย: การบอกเลิกสัญญาเช่าช่วงที่ไม่มีกำหนดเวลา
ทีแรกทำสัญญาไห้เช่าช่วง แต่ภายหลังทำสัญญาอาสัยต่อกันโดยไม่ได้ตั้งไจผู้พันกันจิงจังดังนี้ต้องถือตามสัญญาเช่าช่วง
ไห้เช่าช่วงไม่มีกำหนดเวลาไห้เช่าช่วงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยบอกกล่าวล่วงหน้าชั่วระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเปนหย่างน้อย มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าห้ามเช่าช่วง ผู้เช่าผิดสัญญา สิทธิการเช่าเป็นโมฆะ
สัญญาเช่าที่มีข้อห้ามว่ามีไห้เช่าช่วงด้วยนั้น ถ้าผู้เช่าทำผิดสัญญาเอกไปไห้เช่าช่วง ผู้เช่าย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้และผู้เช่าช่วงไม่มีสิทธิที่จะหยู่ไนที่เช่านั้นต่อไป.