พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่ง ม.148 แม้ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตแก้ฟ้องหรือสืบพยาน
เมื่อฟ้องของโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของใคร นิติกรรมซื้อขายเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ เป็นประเด็นเช่นเดียวกับที่ได้ฟ้องร้องกันมาแล้วในคดีก่อน และศาลได้วินิจฉัยประเด็นข้อโต้เถียงระหว่างโจทก์จำเลยแล้วทุกประเด็นจึงเป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.แพ่งมาตรา148
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้อง ขอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกา คู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยืนคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
การที่ศาลสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องและคำให้การในคดีเรื่องก่อนก็ดี สั่งงดไม่ให้สืบพยานก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องดำเนินการพิจารณาในคดีทั้งสิ้น คำสั่งของศาลดังกล่าวจะเป็นการถูกต้อง ขอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันให้ถึงที่สุดไปด้วยการอุทธรณ์ฎีกา คู่ความจะหาวิธีแก้ด้วยการยืนคำฟ้องใหม่โดยหวังจะให้คำพิพากษาในคดีเรื่องใหม่นี้ลบล้างคำพิพากษาเรื่องก่อนซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายผูกพันคู่ความอยู่แล้วในประเด็นเดียวกันหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการมีสิทธิฎีกาข้อยกเว้นตาม ป.วิ.แพ่ง
การที่ศาลล่างสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เท่ากับสั่งไม่รับคำให้การจำเลย คดีจึงปรับเข้าอยู่ใน ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 228(3) ประกอบด้วยมาตรา 18 วรรค 3 ซึ่งเป็นข้อยกเว้น ให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้.
จำเลยยื่นคำให้การพ้นกำหนดไป 2 วัน และยื่นคำร้องว่า การที่มิได้ยื่นคำให้การในกำหนด มิได้เป็นไปโดยจงใจ ดังนี้ ถือว่ามิได้มีพฤตติการณ์พิเศษแต่อย่างใด เป็นความผิดของจำเลยเอง
จำเลยยื่นคำให้การพ้นกำหนดไป 2 วัน และยื่นคำร้องว่า การที่มิได้ยื่นคำให้การในกำหนด มิได้เป็นไปโดยจงใจ ดังนี้ ถือว่ามิได้มีพฤตติการณ์พิเศษแต่อย่างใด เป็นความผิดของจำเลยเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การและการมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การเท่ากับสั่งไม่รับคำให้การจำเลย คดีจึงปรับเข้าอยู่ใน ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 228(3) ประกอบด้วยมาตรา 18 วรรค 3 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเปลี่ยนชื่อในโฉนดไม่ใช่การเรียกคืนกรรมสิทธิ์ จึงไม่ต้องตีราคาที่ดินเพื่อเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องอ้างว่ากรรมสิทธิในที่ดินเป็นของโจทก์ ขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดโดยถอนชื่อจำเลย ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นตัวแทนออก ใส่ชื่อโจทก์แทน ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการเรียกกรรมสิทธิคืน คำฟ้องจึงยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์คำนวณเป็นราคาเงินได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาให้ที่ดินและการเรียกคืนกรรมสิทธิ ถือเป็นการเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ ฟ้องอ้างว่าโจทก์ได้ให้ที่ดินแก่จำเลยไปแล้ว โจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาให้ ดังนี้ ความประสงค์ก็คือเอากรรมสิทธิ ซึ่งโจทก์ว่าได้โอนไปให้ แล้วกลับคืนมานั่นเอง ดังจะเห็นได้จากคำขอที่ให้ถอนชื่อจำเลยออกเสียจากโฉนด คงชื่อไว้แต่โจทก์ผู้เดียวนั้น เป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน และเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีมรดก การกำหนดให้ฝ่ายใดฟ้องร้อง และการอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอไห้สาลสั่งตั้งผู้ร้องเปนผู้จัดการมรดก มีผู้คัดค้านขึ้นมาโดยอ้างว่าพินายกัมที่ผู้ร้องเปนผู้ฟ้องคดี คำสั่งสาลเช่นนี้เปนคำสั่งระหว่างพิจารนา ต้องห้ามมิไห้อุธรน์.