คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 240.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายนา การโอนที่ไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ประเด็นอยู่ที่การพิสูจน์ความสุจริตและค่าตอบแทน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขายนาให้โจทก์ ๆ ชำระราคาแล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนนาให้แก่จำเลยที่ 2-3 โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลเพิกถอนและบังคับให้จำเลยโอนขายให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยให้การว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ประเด็นจึงมีว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ ซึ่งต้องฟังคำพะยานต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเช่า: การใช้พื้นที่เช่าเพื่ออยู่อาศัยกับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ปัญหาโต้เถียงกันว่า สัญญาเช่าจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ หรือไม่นั้น เมื่อตามสัญญาเช่าที่รับกัน ปรากฎว่าเช่าเพื่อเป็นที่ไว้ฉะเพาะแต่สินค้าเท่านั้น แต่จำเลยยังเถียงอยู่ว่า จำเลยและบริวารได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วย โดยโจทก์รู้เห็นยินยอมมิว่ากล่าวทักท้วงประการใด ซึ่งเป็นประเด็นโต้เถียงกันในข้อเท็จจริง ซึ่งศาลต้องดำเนินการสืบพะยานฟังข้อเท็จจริงกันต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1037/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากผิดสัญญา: ผู้ผิดสัญญาต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงและค่าเสียหายตามที่ตกลงกันไว้
คดีเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา เมื่อจำเลยรู้ดีว่า เมื่อตนผิดสัญญา โจทก์จะต้องเสียหาย ดังนี้จำเลยต้องรับผิดในค่าเสียหายตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 380 วรรค 2 ซึ่งศาลอาจจะให้ค่าเสียหายได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญา 1,000 บาท และค่าเสียหายจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง 7000 บาท ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 1000 บาท โจทก์อุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์เห็นควรให้ค่าเสียหายทั้งหมดรวมกัน 7,000 บาท ดังนี้ จะเรียกว่าศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยในเรื่อง 1000 บาท ซึ่งโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ไม่ได้
เมื่อมีกรณีผิดสัญญาแล้ว ก็ย่อมเรียกค่าเสียหายแก่กันได้ ถ้าผู้ได้รับความเสียหายพิสูจน์ได้ว่าตนได้เสียหายจริงจังเป็นเงินเท่าใดแล้ว ศาลก็ให้ตามนั้น หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลก็ให้ค่าเสียหายตามควรแก่กรณีโดยศาลกำหนดให้เองแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร และผู้เสียหายอาจได้รับค่าเสียหายทั้งสองประเภทก็ได้
คดีนี้โจทก์ต้องเสียหายเพราะต้องรื้อสิ่งปลูกสร้างไป และต้องเสียหายเพราะไม่ได้ที่ดิน โจทก์ชอบที่จะได้ค่าเสียหายทั้งสองรวมกันเป็น 8, 000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าบำเหน็ดนำจับ: การกำหนดจำนวนเงินที่ชัดเจนในคำฟ้องและการอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
ไนกรนีที่จำเลยอุธรน์ขอลดค่าบำเหน็ดนำจับนั้นสาลอุธรน์มีอำนาดวินิฉัยว่า ฟ้องของโจทไนเรื่องบำเหน็ดนำจับถูกต้องตามกดหมายหรือไม่
โจทฟ้องเรื่องบำเหน็ดนำจับโดยกล่าวว่าเจ้าพนักงานสัญญาจะจ่ายเงินไห้แล้วแต่สาลจะเห็นสมควนท้ายฟ้องขอไห้สาลบังคับไห้จำเลยไช้ตามแต่สาลจะเห็นสมควนนั้น ถือว่าเปนการไม่ชอบด้วยกดหมายสาลไม่บังคับไห้จำเลยไช้.