พบผลลัพธ์ทั้งหมด 433 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งริบของกลาง แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ และการริบไม่ใช่การเพิ่มเติมโทษ
โจทก์มีคำขอให้ริบไม้และเลื่อยยนต์ของกลางที่จำเลยได้มาจากการกระทำความผิดและใช้ในการกระทำความผิด แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบหรือไม่ริบของกลางดังกล่าว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186 (9) แม้โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง และการริบทรัพย์สินแม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่นซึ่งแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำความผิดหรือกระทำความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ศาลก็มีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางได้ จึงมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ย่อมมีอำนาจสั่งริบของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีนำพาคนต่างด้าว และช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุม
การที่จำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรย่อมเป็นความผิดสำเร็จอยู่ในตัวเมื่อนำและพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว เมื่อจำเลยทั้งสี่กับพวกร่วมกันซ่อนเร้น ช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวพ้นจากการจับกุม ย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่ง แยกการกระทำต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน มิใช่เป็นความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย แต่โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยทั้งสี่ให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ มาตรา 225 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และมีอำนาจวินิจฉัยไปถึงจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ที่มิได้ฎีกาได้ด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6121/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษโดยศาลอุทธรณ์เกินกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ และการพิจารณาโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับป่าไม้
ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน และปรับ 40,000 บาท รอการลงโทษจำคุกไว้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แก้เป็นจำคุก 6 เดือนไม่รอการลงโทษเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษเพียงประการเดียว มิได้อุทธรณ์ขอให้กำหนดโทษสูงขึ้นด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดโทษจำคุกข้อหาความผิดดังกล่าวสูงขึ้น จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษเพียงประการเดียว มิได้อุทธรณ์ขอให้กำหนดโทษสูงขึ้นด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 กำหนดโทษจำคุกข้อหาความผิดดังกล่าวสูงขึ้น จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยโดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์ แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมจากเช็ค ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษให้เหมาะสมกับจำนวนกรรมความผิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) ป.อ. มาตรา 83, 91 จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาด้วยวาจาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 (1) (3) รับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 3 เดือน จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่ออ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตลอดแล้ว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงกรรมเดียวและไม่อาจที่จะเข้าใจหรือแปลความหมายเป็นอย่างอื่นไปได้ เพราะหากนำโทษจำคุก 3 เดือน มาเฉลี่ยเป็นโทษสำหรับความผิด 4 กระทงแล้ว ก็เป็นโทษจำคุกกระทงละ 22 วันครึ่ง ซึ่งผิดวิสัยไม่สอดคล้องกับระวางโทษที่กฎหมายบัญญัติ ศาลชั้นต้นจึงมิได้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพจึงเป็นการที่โจทก์อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิด โดยลงโทษจำคุกกระทงละ 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง จำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวมเป็นจำคุก 4 เดือน 60 วัน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5331/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 18 ปี และการแก้ไขคำพิพากษาเดิมเมื่อจำเลยพ้นสภาพผู้เยาว์ รวมถึงการริบของกลาง
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จนกว่าจำเลยจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาจำเลยมีอายุครบ 18 ปีแล้ว จึงไม่อาจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) ได้ จึงเห็นควรมอบตัวจำเลยให้บิดามารดาจำเลยโดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาจำเลยปฏิบัติตามและกำหนดวิธีการดำเนินการและเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และขอให้ริบปลอกมีดของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 เมื่อปลอกมีดของกลางเป็นส่วนประกอบของมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด จึงให้ริบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 80, 288, 371 และขอให้ริบปลอกมีดของกลาง แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าจะริบของกลางนั้นหรือไม่ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และการริบทรัพย์สินของกลางไม่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 เมื่อปลอกมีดของกลางเป็นส่วนประกอบของมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4647/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายและการพิจารณาโทษรอการลงโทษ ศาลฎีกาแก้เป็นไม่รอการลงโทษเนื่องจากปริมาณยาเสพติดไม่น้อย
จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 20 เม็ด ซึ่งมิใช่จำนวนเล็กน้อย ศาลฎีกาจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่รอการลงโทษให้แก่จำเลย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาโดยตรงว่าไม่สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ฎีกาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว ศาลฎีกาจึงชอบที่จะพิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษให้จำเลยได้ ไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำคุกในคดียาเสพติด และการกำหนดโทษปรับเพื่อใช้บังคับคุมประพฤติ
ความผิดของจำเลยในคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท และตามมาตรา 100/1 บัญญัติว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ปรับด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยก็มีอำนาจกำหนดโทษปรับ เพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะโทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้เป็นโทษที่เบากว่าโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4534/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเคยติดคุก โทษกักขังแทนที่ศาลอุทธรณ์แก้ให้ เป็นคุณแก่จำเลยแล้ว ศาลฎีกาไม่แก้โทษ
จำเลยรับว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 504/2542 ของศาลชั้นต้น ดังนั้น จำเลยจึงเป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมิใช่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 56 ที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษให้แก่จำเลย และที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นกักขังแทนนับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข
เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมิใช่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นกักขังแทน จึงไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225
เมื่อจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนและมิใช่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เปลี่ยนโทษจำคุกจำเลยเป็นกักขังแทน จึงไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 นั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย และมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งศาลอุทธรณ์มิได้แก้โทษจำเลยโดยกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องหรือลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ขึ้นสู่ศาลชั้นต้น หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ จำเลยอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายพอสมควรแก่เหตุ เช่นนี้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุตาม ป.อ. มาตรา 69 นั้น เป็นการไม่ชอบ แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และมีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งศาลอุทธรณ์มิได้แก้โทษจำเลยโดยกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องหรือลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แต่อย่างใด