คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 212

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 433 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8384/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงแชร์ทองคำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดกรรมเดียวหรือไม่ และการเพิ่มโทษโดยมิชอบ
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ในช่วงเดือนเมษายน 2556 จำเลยมาที่บ้านโจทก์ร่วมและพูดชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามให้เล่นแชร์ทองคำกับจำเลย โดยบอกว่าจะได้ผลตอบแทนในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ลงเล่นแชร์ทองคำภายใน 1 ถึง 2 วัน แต่ในวันดังกล่าวโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามยังไม่สนใจ หลังจากนั้นจำเลยพูดชักชวนโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนให้เล่นแชร์ทองคำกับจำเลยอีกหลายครั้งจนกระทั่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามตกลง โดยโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยผ่านทางบัญชีธนาคารของโจทก์ร่วม ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ได้เงินไปจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสาม โดยจำเลยมีเจตนาให้เกิดผลต่อโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนแยกต่างหากจากกัน เป็นความผิดสำเร็จสำหรับโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดรวม 4 กรรม ส่วนที่โจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งสามนำเงินโอนเข้าบัญชีธนาคารของจำเลยหลายครั้งหลายคราวตามฟ้องนั้น เป็นเพียงผลสืบเนื่องจากการกระทำของจำเลยในครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน โจทก์และโจทก์ร่วมไม่อุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียว ลงโทษจำคุก 2 ปี จึงเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7032/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการร่วมทำร้ายร่างกาย, การพิจารณาค่าสินไหมทดแทน และความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการส่งตัวจำเลยไปจำคุก
ผู้เสียหายทั้งสามไม่ได้ฎีกาขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่การพิพากษาในคดีส่วนแพ่ง ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ศาลฎีกาจึงต้องมีคำพิพากษาคดีส่วนแพ่งด้วย และที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปี โดยวินิจฉัยว่าการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนในคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่จำเลย และให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกในเรือนจำ มีกำหนด 2 ปี นั้น เห็นว่า ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจกระทำได้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เนื่องจากจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นพิพากษา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย โดยที่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายและแก้ไขโทษในคดีทำลายป่าสงวน การใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์และการยืนตามคำพิพากษา
คดีนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานยึดถือครอบครอง ก่นสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ในป่าสงวนแห่งชาติ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ต้นน้ำลำธารอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง (3) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีฯ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง และลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี จึงต่ำกว่าระวางโทษขั้นต่ำ โจทก์จึงไม่เห็นด้วยและขอให้พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำคุกจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคสอง (3) นั้น อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าว นอกจากโจทก์อุทธรณ์ขอให้ปรับบทให้ถูกต้องแล้วยังอุทธรณ์โต้แย้งโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยและขอให้ลงโทษตามมาตรา 31 วรรคสอง (3) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกขั้นต่ำสูงกว่าโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลย ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์ที่จะให้เพิ่มเติมโทษ ประกอบกับเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิจารณาแล้วเห็นว่าศาลชั้นต้นปรับบทกฎหมายผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ก็มีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามที่โจทก์อุทธรณ์ และมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะเปลี่ยนแปลงโทษที่จะลงแก่จำเลยให้เหมาะสมและเป็นไปตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ใช้ดุลพินิจเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกแก่จำเลย และไม่รอการลงโทษ ไม่คุมความประพฤติและไม่ปรับ จึงเป็นการชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ จากประกาศ คสช. และการพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีไม้พะยูง
คดีนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557 ซึ่งได้ประกาศและให้มีผลบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 และมาตรา 48 ความในวรรคสองของมาตรา 69 และมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และความในลำดับที่ 53 ในช่องประเภท ก. ไม้หวงห้ามธรรมดาของบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 และให้ใช้บทบัญญัติตามความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 และมาตรา 48 ความในวรรคสองของมาตรา 69 และมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่แก้ไขใหม่ มีผลให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับไม้พะยูงตามฟ้อง ฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป นับตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป ต้องถูกลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ซึ่งความผิดทั้งสองฐานต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท ที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเดิม และพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ให้จำคุกกระทงละ 3 เดือน และปรับกระทงละ 5,000 บาท จึงเป็นโทษที่ต่ำกว่าอัตราโทษตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิด ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยโดยปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ที่แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 โดยไม่รอการลงโทษแก่จำเลย อันเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปรับบทกฎหมายและลงโทษจำเลยตามฟ้องเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (1), 73 วรรคสอง (1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะกระทำความผิด และมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงสองล้านบาท สูงกว่าระวางโทษตามบทกฎหมายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ย่อมถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงชอบที่จะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยได้
การที่จำเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและการที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ลักษณะความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้หวงห้ามที่มีราคาแพงมีความต้องการในตลาดสูง แม้มีจำนวนไม่มากแต่ก็เป็นการทำลายทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ เป็นเหตุให้สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติถูกทำลาย ประกอบกับปัจจุบันปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนมีมากมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และบทปรับบทตามมาตรา 80 กรณีความพยายามสำเร็จ
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ด. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,570 เม็ด และอาวุธปืน ในระหว่างที่ ด. ถูกควบคุมตัวจำเลยที่ 4 โทรศัพท์สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ด. ด.ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานตำรวจสั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ว. ให้จำเลยที่ 4 ว. ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งให้ ด. เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 40,000 เม็ด แล้วขยายผลการจับกุมโดยให้สิบตำรวจเอก ท. ปลอมตัวเป็นลูกน้องของ ด. นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 3 มารับเมทแอมเฟตามีนแทน การที่สิบตำรวจเอก ท. ส่งมอบกระเป๋าซึ่งภายในไม่มีเมทแอมเฟตามีนของกลางให้จำเลยที่ 3 คงเป็นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจเกรงว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งมารับเมทแอมเฟตามีนอาจแย่งชิงเมทแอมเฟตามีนของกลางจากสิบตำรวจเอก ท. ไปมากกว่าเหตุอื่น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หาใช่เป็นการแน่แท้เด็ดขาดว่าเป็นเรื่องพ้นวิสัยที่จำเลยที่ 3 จะกระทำความผิดสำเร็จไม่ได้เพราะเหตุไม่มีเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดได้ แต่เป็นกรณีที่อาจบรรลุผลได้ตามเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่ต้องการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดฐานพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.อ. มาตรา 80 ไม่ใช่พยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามมาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยอาศัยภาวะจิตของผู้เสียหาย ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานความผิดตามมาตรา 342(2) แทนมาตรา 341
การที่จำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาทรัพย์ไปจากผู้เสียหายที่ 1 ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 มีอาการป่วยทางจิต ซึ่งเป็นบุคคลที่มีภาวะแห่งจิตต่ำกว่าปกติ และย่อมถูกหลอกลวงได้โดยง่ายกว่าคนปกติทั่วไปนั้น ถือเป็นการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงโดยอาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้เสียหายที่ 1 ผู้ถูกหลอกลวง จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 342 (2) หาใช่เป็นเพียงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 ดังที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยไม่ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงเพียงแก้ไขปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสี่เสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ก็ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสี่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14645/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาท้ายอุทธรณ์ของจำเลยว่า คดีที่โจทก์ขอให้เพิ่มโทษนั้น ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกและปรับ แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ จึงเป็นกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลจากอุทธรณ์ของจำเลยว่า ภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ในคดีก่อน จำเลยมากระทำความผิดเป็นคดีนี้อีก จึงต้องนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ แม้โจทก์มิได้ขอให้บวกโทษก็ตาม ทั้งกรณีมิใช่การพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบัญญัติให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วยเสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9440/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด: อำนาจฟ้องเมื่อผู้ต้องหาต้องโทษจำคุกคดีอื่น
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ซึ่งจะได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดต้องเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด คำว่า ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลนั้น หมายถึง วันที่จำเลยกระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดนั้นจำเลยต้องหาหรือถูกดำเนินคดีอื่นหรืออยู่ระหว่างรับโทษจำคุก หาใช่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามที่จำเลยแก้ฎีกาไม่ จำเลยกระทำความผิดคดีนี้วันที่ 13 ธันวาคม 2554 ซึ่งในขณะนั้นจำเลยต้องคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำคุก ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1801/2553 ของศาลชั้นต้น จำเลยจึงเป็นผู้อยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ดังนี้ พนักงานสอบสวนจึงไม่ต้องนำตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280-7281/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน, ฟ้องซ้ำ, คำขอคืนเงิน, ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง
โจทก์มีคำขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 38 และร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 39 ถึงที่ 46 การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกคำขอของโจทก์ในส่วนที่ขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 38 โดยกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 21 คืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายทั้ง 46 คนนั้น เห็นว่า ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) ประกอบมาตรา 44 บัญญัติให้คำพิพากษาคดีอาญาต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในเรื่องของกลางหรือในเรื่องฟ้องทางแพ่ง อันเป็นบทบังคับให้ศาลต้องมีคำวินิจฉัยในส่วนดังกล่าวและมาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำขอของโจทก์ที่ขอให้จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดคืนหรือใช้เงิน 10,047,100 บาท แก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้ให้เหตุผลและพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ถึงที่ 10 ที่ 14 ที่ 15 และที่ 21 คืนหรือใช้เงิน 10,463,700 บาท แก่ผู้เสียหายทั้ง 46 คน อันเป็นการเกินคำขอ ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ได้แก้ไข จึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ซึ่งปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 เป็นผู้ร่วมกันกระทำความผิด จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 จึงต้องร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้ง 46 ด้วย และกรณีนี้ไม่ใช่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษแก่จำเลยที่ 1 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 ที่ 15 และที่ 21 จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6011/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดค้ามนุษย์กับเจ้าของสถานค้าประเวณีเป็นคนละกรรม ศาลฎีกายกประเด็นเพื่อแก้ไขคำพิพากษา
ความผิดฐานค้ามนุษย์ ฐานเป็นธุระจัดหาบุคคลไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี และฐานเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิง กฎหมายมุ่งที่จะบังคับแก่ผู้ที่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นธุระจัดหาหญิงไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เพื่อการอนาจารหรือเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี ไม่ว่าการเป็นธุระจัดหาดังกล่าวกระทำขึ้นโดยวิธีการใด ส่วนความผิดฐานเป็นเจ้าของ ผู้ดูแล ผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีหรือสถานการค้าประเวณีนั้น กฎหมายมุ่งที่จะบังคับแก่ผู้จัดการกิจการหรือสถานที่ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าประเวณีหรือเพื่อใช้ในการติดต่อหรือจัดหาบุคคลเพื่อกระทำการค้าประเวณีเป็นการเฉพาะ เมื่อสภาพแห่งความผิดทั้งสองอย่างดังกล่าวมีความมุ่งหมายให้เกิดผลต่อผู้กระทำความผิดที่มีเจตนากระทำความผิดแตกต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกรรม มิใช่กรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหานี้ขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษในความผิดฐานเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณีโดยกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 11 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดได้ เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
of 44