พบผลลัพธ์ทั้งหมด 433 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทความผิดและบทลงโทษในคดีลักทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และกรรโชกทรัพย์ ศาลจำกัดการเพิ่มโทษ
ความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือมีโทษสถานหนักกว่านั้น แม้จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ต่อเมื่อพยานโจทก์ตามที่นำสืบรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังกล่าวจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่าจำเลยกระทำความผิดและพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิด และขอให้กำหนดโทษให้เบาลงและรอการลงโทษได้กรณีมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ขัดกับคำรับสารภาพ หรือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งจะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยเข้าไปกระตุกสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 จนหลุดออก แล้วได้ตบตีผู้เสียหายที่ 1 การกระตุกสร้อยคอกับการตบตีทำร้ายร่างกาย จึงแยกออกเป็น 2 ตอน จำเลยมิได้ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายที่ 1 เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 339 (1) แต่เป็นการใช้กิริยาฉกฉวยเอาสร้อยคอและรูปสัญลักษณ์ศาสนาอิสลามทองคำของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า จึงเป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 336
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 ไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องมิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (8) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
จำเลยพูดขอเงินกับผู้เสียหายที่ 2 ว่า หากไม่ให้เงินจะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 ต่อไป เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายที่ 2 ให้ยอมให้เงินจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ตามฟ้องศาลพิพากษาลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงปรับบทความผิดและบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 337 (1) วรรคสอง อีกกรรมหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16000/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์และการใช้บัตรปลอม ศาลฎีกาวินิจฉัยกรรมเดียวผิดหลายบทและยืนโทษเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ จำคุก 2 ปี ฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ จำคุก 2 ปี และฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม จำคุก 3 ปี แต่ความผิดฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม ศาลชั้นต้นปรับบทว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/5 ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ปรับบทว่าเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 269/4 วรรคแรก ให้ถูกต้องเท่านั้น ส่วนโทษคงพิพากษาจำคุก 3 ปี เช่นเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15590/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดที่มีเหตุผล, ตัวการร่วม, ลักทรัพย์, แก้ไขบทลงโทษ, รับของโจร
เหตุที่สิบตำรวจโท จ. เดินทางไปที่บ้านของจำเลย ก็เพราะ อ. ให้การในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนว่าร่วมกับจำเลยลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดย อ. ให้จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายหลบหนีไปที่บ้านของจำเลย แม้คำให้การของ อ. นี้มีลักษณะเป็นคำซัดทอดซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 บัญญัติให้ศาลต้องใช้ความระมัดระวังในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานดังกล่าว และไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลยก็ตาม แต่คำซัดทอดของ อ. ก็มิใช่คำซัดทอดเพื่อให้ตนเองพ้นผิด เพราะมีรายละเอียดของการกระทำความผิดทั้งสอง อ. และของจำเลย ทั้งยังพาไปสู่การได้รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่จำเลยขับหลบหนีไปที่บ้านของจำเลยคืน นับว่าเป็นคำซัดทอดที่มีเหตุผล
พฤติการณ์ที่จำเลยรอ อ. อยู่นอกบ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุในลักษณะที่จะเข้าช่วยเหลือ อ. ได้ทันทีเมื่อมีเหตุขัดข้องในขณะที่ อ. เข้าไปลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในบ้าน แล้ว อ. เดินจูงรถจักรยานยนต์นั้นออกมานอกบ้านให้จำเลยขับหลบหนีไปที่บ้านของจำเลยเช่นนี้ นับเป็นตัวการในการกระทำความผิดด้วยกัน
แม้การกระทำของจำเลยกับ อ. จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ตามฟ้องโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ฎีกา แต่โดยที่ความผิดฐานรับของโจรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยมา กับความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติมิให้ถือว่าเป็นข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขบทลงโทษจำเลยในความผิดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาเสียให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามา เพราะจะเป็นการพิจารณาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
พฤติการณ์ที่จำเลยรอ อ. อยู่นอกบ้านของผู้เสียหายซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุในลักษณะที่จะเข้าช่วยเหลือ อ. ได้ทันทีเมื่อมีเหตุขัดข้องในขณะที่ อ. เข้าไปลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในบ้าน แล้ว อ. เดินจูงรถจักรยานยนต์นั้นออกมานอกบ้านให้จำเลยขับหลบหนีไปที่บ้านของจำเลยเช่นนี้ นับเป็นตัวการในการกระทำความผิดด้วยกัน
แม้การกระทำของจำเลยกับ อ. จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ตามฟ้องโจทก์ และโจทก์ไม่ได้ฎีกา แต่โดยที่ความผิดฐานรับของโจรที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยมา กับความผิดฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้อง ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติมิให้ถือว่าเป็นข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ ดังนั้น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจแก้ไขบทลงโทษจำเลยในความผิดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาเสียให้ถูกต้องได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว แต่ศาลฎีกาไม่อาจกำหนดโทษจำเลยให้สูงกว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษามา เพราะจะเป็นการพิจารณาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13689/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารรุกล้ำเขตที่ดิน แม้ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียง ก็ยังต้องรับผิดชอบต่อการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เมื่ออาคารที่จำเลยครอบครองต่อจาก ส. ซึ่งถึงแก่ความตาย ปลูกสร้างห่างจากเขตที่ดินข้างเคียง 45 เซนติเมตร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงและเทศบัญญัติของเทศบาลเมืองสวรรคโลก เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2500 และเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ จึงชอบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 แม้ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดข้อยกเว้นให้สามารถก่อสร้างผนังของอาคารห่างเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เซนติเมตรได้ หากได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงในกรณีก่อสร้างชิดเขตที่ดิน และ ช. เจ้าของที่ดินข้างเคียงได้ทำหนังสือยินยอมเช่นว่าให้แก่ ส. ซึ่งเข้าข้อยกเว้นดังกล่าว อันแตกต่างไปจากกฎหมายเดิมที่ใช้ขณะจำเลยกระทำความผิดและเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นกฎหมายยกเว้นความผิดของจำเลยที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นความผิดสำเร็จไปแล้วกลับกลายเป็นไม่เป็นความผิด จำเลยจึงยังไม่พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 แต่เมื่อจำเลยไม่ต้องรื้อถอนอาคารพิพาทโดยผลของกฎหมายดังกล่าว ก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยรายวันไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ คงลงโทษปรับจำเลยรายวันได้เพียงถึงวันก่อนวันที่กฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษปรับรายวันนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป อันเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นแม้เป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษปรับรายวันนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป อันเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) มีผลใช้บังคับแล้วนั้นแม้เป็นการไม่ถูกต้อง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้ถูกต้องได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13599/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และข้อจำกัดในการลงโทษปรับเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์
เมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 0.484 กรัม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท และตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/1 บัญญัติว่า ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ แต่เมื่อศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง โดยไม่ลงโทษปรับด้วย โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษปรับได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10347/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นกรรมเดียว ศาลฎีกายกประเด็นความผิดซ้ำซ้อนแม้ไม่มีการฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าอาวุธปืนลูกซองเดี่ยวเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนซึ่งใช้ในราชการของกระทรวงมหาดไทยอันเป็นหน่วยราชการและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติให้เป็นความผิดก็เป็นบทมาตราเดียวกัน วัตถุที่ต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ในขณะเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนอีกกรรมหนึ่งตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่แก้ไขเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน บทมาตราที่บัญญัติให้เป็นความผิดก็เป็นบทมาตราเดียวกัน วัตถุที่ต้องห้ามไม่ว่าจะเป็นอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน กฎหมายถือว่าเป็นวัตถุประเภทเดียวกัน การที่จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนอาจออกใบอนุญาตให้ได้ในขณะเดียวกันจึงเป็นกรรมเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนอีกกรรมหนึ่งตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสอง ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติที่แก้ไขเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องวิธีการชำระค่าปรับ และพิพากษาว่าความผิดฐานก่อสร้างอาคารกับยึดครองที่ดินเป็นคนละกรรม
จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าจะชำระค่าปรับอย่างไรต่อศาลเพราะคำว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นหมายความว่าอย่างไร ถึงจะถือว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นที่เป็นวันครบกำหนดชำระเงินต่อศาลที่จะคิดเป็นจำนวนเงินชำระค่าปรับได้นั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาถึงวิธีการบังคับคดีของศาลชั้นต้น ซึ่งเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์จะเป็นผู้ร้องขอให้ออกหมายบังคับคดี โดยจำเลยสามารถที่จะทราบถึงวิธีการที่จะปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้อยู่แล้ว หาจำต้องฎีกาไม่ เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามฎีกา
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันกับความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่โจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด: พยานหลักฐานไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์เจตนาจำหน่าย
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตปรับจำเลย 12,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำตามกฎหมาย จึงไม่ชอบ แต่เนื่องจากโจทก์ฎีกาขอให้ศาลลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าเป็นฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยอยู่ในตัว ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6413/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรประชาชนปลอมขอหนังสือเดินทางและการใช้เอกสารปลอมหลายกรรม ศาลฎีกาแก้ไขโทษและริบของกลาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2544 จำเลยนำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมไปใช้อ้างแสดงต่อเจ้าพนักงานกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอออกหนังสือเดินทาง เจ้าพนักงานหลงเชื่อว่าเป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่แท้จริงและได้ออกหนังสือเดินทางให้แก่จำเลย ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม 2545 จำเลยนำบัตรประจำตัวประชาชนปลอมไปใช้อ้างแสดงต่อร้อยตำรวจเอก ส. ว่าจำเลยเป็นผู้มีชื่อตามบัตรประจำตัวประชาชนปลอม อันเป็นการฟ้องว่าจำเลยใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม 2 ครั้ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้เอกสารราชการปลอมตามวันและเวลาทั้งเจตนาในการใช้จึงเป็นการกระทำที่ต่างกรรมกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องโดยไม่แก้โทษ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ประกอบมาตรา 225 ปัญหาข้อที่ว่า จำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
สำหรับบัตรประจำตัวประชาชนปลอม หนังสือเดินทางปลอม และแผ่นฟิล์มของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม แต่ให้ยกฟ้องฐานปลอมบัตรประจำตัวปลอมและปลอมหนังสือเดินทาง ศาลล่างทั้งสองก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางที่โจทก์ขอให้ริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) และมาตรา 215 การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด สำหรับหนังสือเดินทางปลอมและแผ่นฟิล์มเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลำดับ จึงให้ริบ
สำหรับบัตรประจำตัวประชาชนปลอม หนังสือเดินทางปลอม และแผ่นฟิล์มของกลางที่โจทก์ขอให้มีคำสั่งริบนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม แต่ให้ยกฟ้องฐานปลอมบัตรประจำตัวปลอมและปลอมหนังสือเดินทาง ศาลล่างทั้งสองก็ชอบที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับของกลางที่โจทก์ขอให้ริบด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (9) และมาตรา 215 การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบัตรประจำตัวประชาชนของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด สำหรับหนังสือเดินทางปลอมและแผ่นฟิล์มเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามลำดับ จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมโทษหลายกระทง, ลดโทษที่ถูกต้อง, และการลงโทษปรับควบคู่จำคุกในคดีอาญา
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง เพิ่งจะบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 22)ฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 23 ธันวาคม 2547 แต่คดีนี้เหตุเกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 พนักงานสอบสวนทำการสอบคำให้การจำเลยทั้งสองซึ่งมีอายุ 48 ปี และ 37 ปี ตามลำดับ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนที่มาตรา 38 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะใช้บังคับ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ย้อนหลังดังนั้น การสอบสวนและจัดทำบันทึกการสอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งพนักงานสอบสวนดำเนินการตามบทบัญญัติของกฎหมายเดิมย่อมชอบด้วยกฎหมายในขณะนั้นแล้ว
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลชั้นต้นรวมโทษทุกกระทงแล้วจึงลดโทษให้จำเลยทั้งสองแทนที่จะลดโทษแต่ละกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ทั้งอัตราโทษสูงสุดที่จะลงแก่จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้นถ้าเป็นกรณีที่มีการเพิ่มโทษหรือลดโทษแล้วจะต้องมีการเพิ่มโทษหรือลดโทษก่อน มิใช่ต้องปรับบทมาตรา 91 เสียก่อนแล้วจึงจะเพิ่มโทษหรือลดโทษ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเดินทางไปนอกราชอาณาจักรปรับคนละ 1,000 บาท ฐานเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายและฐานมีเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยทั้งสองให้ประหารชีวิต รวมโทษจำเลยทั้งสองทุกกระทงแล้ว คงประหารชีวิตสถานเดียวแล้วลดโทษให้จำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (1) หนึ่งในสาม และมาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) กึ่งหนึ่ง ตามลำดับ เป็นจำคุกตลอดชีวิต และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบเพราะไม่ได้ลดโทษก่อนตามมาตรา 78 แล้วจึงรวมโทษตามมาตรา 91 นอกจากนี้โทษปรับมิใช่การจำคุกดังนั้น แม้จะจำคุตลอดชีวิตแล้วก็ปรับได้ด้วยไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 91 ที่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้ลงโทษปรับย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาก็ไม่อาจลงโทษปรับจำเลยทั้งสองได้เนื่องจากเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225