พบผลลัพธ์ทั้งหมด 433 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การลงโทษหลายกรรม และการชักชวนผู้เสียหาย
พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 4 วรรคแรก บัญญัติว่า "ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชน หรือกระทำด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืนเงินตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน" การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไป อันจะทำให้เป็นความผิดสำเร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้น เพียงแต่จำเลยแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายบางคน แล้วเป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำเงินมาให้จำเลยกู้ยืม ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยไปชักชวนผู้เสียหายแต่ละคน คนละหลายครั้ง ดังนั้น การที่ผู้เสียหายแต่ละคนนำเงินมาให้กู้ยืมและจำเลยรับไว้ ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จสำหรับผู้เสียหายแต่ละคน จึงเป็นความผิดหลายกรรมตามจำนวนผู้เสียหาย คือ 14 กรรม ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยหลายกรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขเรื่องโทษได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพคดีอาญา และการพิจารณาโทษกรรมต่างกัน ศาลฎีกาชี้ขาดประเด็นความชัดเจนคำรับสารภาพและโทษกรรม
โจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และฐานรับของโจรซึ่งข้อหาความผิดตามฟ้องมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ และรับของโจร แต่ศาลชั้นต้นจดคำให้การจำเลยว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร แม้คำให้การดังกล่าวจะมีลักษณะเป็นแบบพิมพ์ซึ่งมีข้อความเดิมว่า ข้าพเจ้าขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้อง และมีการเติมคำว่า "รับของโจร" ด้วยลายมือ โดยไม่มีผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ แต่ตามคำให้การของจำเลยก็สามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจนว่าจำเลยขอให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามฟ้องข้อหารับของโจร โดยโจทก์ได้ลงชื่อไว้ในคำให้การของจำเลย และตามรายงานกระบวนพิจารณาในแบบพิมพ์เดียวกันก็ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าศาลอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพตามที่ศาลบันทึกไว้ คำให้การฉบับนี้ย่อมชัดเจนว่าจำเลยให้การรับสารภาพเฉพาะข้อหาความผิดฐานรับของโจร และต้องถือว่าโจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และโจทก์จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว เท่ากับโจทก์ไม่ติดใจที่จะสืบพยานในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ จึงฟังลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดนี้ไม่ได้ คงฟังลงโทษจำเลยได้เพียงข้อหาความผิดฐานรับของโจรเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 กรรมหนึ่ง กับกระทำความผิดฐานรับของโจรเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2549 อีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร และคดีไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องสืบพยานโจทก์อีก ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดฐานรับของโจร 2 กรรม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรแต่เพียงกรรมเดียวนั้นจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎ หมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษให้ผิดไปจากที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในศาลอุทธรณ์โดยโจทก์อุทธรณ์คัดค้านการกระทำผิด และการแก้ไขโทษจำคุกของศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์โดยตรงในข้อที่ว่าขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านว่าการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองเป็นการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงชอบที่จะพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองได้ หาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกอุทยานฯ การริบ/รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และการบังคับใช้กฎหมายอุทยานฯ
บ้านของกลางทั้ง 2 หลังที่จำเลยปลูกสร้างขึ้นในเขตอุทยานแห่งชาติมิใช่เครื่องมือ อาวุธ สัตว์พาหนะ ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใดๆ ซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดโดยตรง ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 74 ทวิ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 29 ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคห้า จึงไม่อาจริบได้
พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 22 มีเจตนารมณ์ให้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ออกไปให้พ้นอุทยานแห่งชาติฯ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยรื้อถอนบ้านของกลางทั้ง 2 หลัง แต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบบ้านของกลางทั้ง 2 หลัง ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนบ้านของกลางทั้ง 2 หลัง ออกไปให้พ้นอุทยานแห่งชาติได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ มาตรา 22 มีเจตนารมณ์ให้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯ ออกไปให้พ้นอุทยานแห่งชาติฯ ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยรื้อถอนบ้านของกลางทั้ง 2 หลัง แต่เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบบ้านของกลางทั้ง 2 หลัง ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนบ้านของกลางทั้ง 2 หลัง ออกไปให้พ้นอุทยานแห่งชาติได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง และการใช้ดุลพินิจรอการลงโทษ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังตาม ป.อ. มาตรา 23 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษแก่จำเลยตามสมควรแก่ความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง และโทษกักขังก็เป็นโทษในสถานเบากว่าโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงมิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งที่โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 หาได้ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 หรือมาตรา 212 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมต่างกัน ลักทรัพย์และใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษและรอการลงโทษ
จำเลยลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายแล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นทรัพย์คนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ ดังนั้น การลักบัตรอิเล็กทรอนิกส์ไปจากผู้เสียหายกับลักเงินของผู้เสียหายโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์เบิกถอนเงินผ่านเครื่องฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติในแต่ละครั้งจึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าการกระทำแต่ละครั้งดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา 269/7 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยรวม 14 กระทง ได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตและครอบครองยาเสพติด: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดหลายกรรมต่างกันและบทลงโทษ
การที่จำเลยที่ 1 มีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นกรณีที่มีเจตนาครอบครองเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไว้ในลักษณะต่างกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือหลายกรรมต่างกัน เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกรรมหนึ่ง แต่โจทก์ก็มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาเห็นสมควรปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจกำหนดโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4858/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันฐานทำไม้และมีไม้หวงห้าม การปรับบทความผิดและการแก้ไขโทษ
การะกระทำความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง และฐานมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองนั้น ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ ทั้งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปกับไม้หวงห้ามแปรรูปของกลางเป็นคนละชนิดและคนละจำนวนกัน แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 และที่ 4 จะกระทำความผิดในคราวเดียวกันก็ตาม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามดังกล่าว ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีไม้นนทรี ไม้ติ้ว ไม้โมง อันยังมิได้แปรรูป รวมจำนวน 21 ท่อน ซึ่งเกินกว่า 20 ท่อน ไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 20 ท่อน ดังที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดอัตราโทษได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และปัญหาการปรับบทดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 6 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ 225
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีไม้นนทรี ไม้ติ้ว ไม้โมง อันยังมิได้แปรรูป รวมจำนวน 21 ท่อน ซึ่งเกินกว่า 20 ท่อน ไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ให้การรับสารภาพ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองเกิน 20 ท่อน ดังที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดอัตราโทษได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และปัญหาการปรับบทดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 6 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาแก้ไขให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 6 ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีทำลายทรัพยากรธรรมชาติ: ข้อจำกัดการเพิ่มโทษจากข้อผิดพลาดของศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำไม้ยาง โดยใช้เลื่อยโซ่รถยนต์ภายในบริเวณป่าทะเลน้อย ซึ่งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ร่วมกันมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง ร่วมกันแปรรูปไม้ยางและร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 6, 7, 11, 48, 69, 73, 74, 74 ทวิ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 42, 54, 63 ป.อ. มาตรา 32, 33, 83, 91 ริบของกลาง จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ มาตรา 11, 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง, 73 วรรคสอง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฯ มาตรา 42 วรรคสอง, 54 วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 83 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันทำไม้ยางโดยไม่ได้รับอนุญาตในเขตสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกคนละ 2 ปี ฐานร่วมกันมีไม้ยางอันยังมิได้แปรรูป โดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง จำคุกคนละ 2 ปี ฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุกคนละ 2 ปี รวมจำคุกคนละ 8 ปี
จากคำพิพากษาศาลชั้นต้นปรากฏว่า ศาลชั้นต้นมิได้ระบุความผิดฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและกำหนดโทษไว้ในคำพิพากษา คงระบุไว้เพียง 3 ฐานความผิด แต่รวมโทษจำคุกเป็นคนละ 8 ปี ซึ่งน่าจะเป็นความผิดหลงหรือความพลั้งเผลอของศาลชั้นต้นที่มิได้ระบุความผิดฐานดังกล่าวเอาไว้ในคำพิพากษา ทั้งโจทก์และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ จำเลยทั้งสามคงอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษเท่านั้น และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็มิได้แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานี้ เพียงแต่เติมข้อความไว้ในวงเล็บต่อท้ายความผิดฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางจำคุกคนละ 2 ปี ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า "ที่ถูกฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูป จำคุกคนละ 2 ปี ด้วย" ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทฐานความผิดให้ตรงตามคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามตามฟ้องและถูกต้องตรงตามโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนที่จะลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสาม โดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสามให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้แก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสามลดลงจากโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
จากคำพิพากษาศาลชั้นต้นปรากฏว่า ศาลชั้นต้นมิได้ระบุความผิดฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและกำหนดโทษไว้ในคำพิพากษา คงระบุไว้เพียง 3 ฐานความผิด แต่รวมโทษจำคุกเป็นคนละ 8 ปี ซึ่งน่าจะเป็นความผิดหลงหรือความพลั้งเผลอของศาลชั้นต้นที่มิได้ระบุความผิดฐานดังกล่าวเอาไว้ในคำพิพากษา ทั้งโจทก์และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ จำเลยทั้งสามคงอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษเท่านั้น และศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็มิได้แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหานี้ เพียงแต่เติมข้อความไว้ในวงเล็บต่อท้ายความผิดฐานร่วมกันแปรรูปไม้ยางจำคุกคนละ 2 ปี ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า "ที่ถูกฐานร่วมกันมีไม้ยางแปรรูป จำคุกคนละ 2 ปี ด้วย" ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทฐานความผิดให้ตรงตามคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสามตามฟ้องและถูกต้องตรงตามโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนที่จะลดโทษให้แก่จำเลยทั้งสาม โดยศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสามให้สูงขึ้นแต่อย่างใด ตรงกันข้ามศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้แก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยทั้งสามลดลงจากโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสามอีกด้วย คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และไม่เป็นการพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมโทษจากศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ในการลดโทษปรับ
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะข้อหาที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยโจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์ในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงต้องถือว่าโจทก์พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยในข้อหาดังกล่าวแล้ว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้โทษจำเลยในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายเป็นไม่รอการลงโทษและไม่ลงโทษปรับจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212