พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4727/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดตัวบุคคลในคดีแบ่งมรดก และการบังคับให้แบ่งทรัพย์สินโดยมิชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกในฐานะผู้จัดการมรดกร่วมกันแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ โดยระบุในคำฟ้องว่า จ. โดย ท. ผู้แทนโดยชอบธรรม จำเลยที่ 4 และ ด. โดย ส. ผู้แทนโดยชอบธรรม จำเลยที่ 5 จึงเป็นการฟ้อง จ. และ ด. เป็นจำเลย โดย จ. และ ด. มิได้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามคำสั่งศาล และไม่มีสิทธิหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้มีการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ อันเป็นการฟ้องผิดตัวบุคคล ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลจะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้แบ่งทรัพย์สิน มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย นำทรัพย์สินกองมรดกออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันให้แก่โจทก์หากจำเลยไม่ดำเนินการ เป็นการไม่ถูกต้อง ทั้งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลจะสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาได้ก็เฉพาะกรณีที่วัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง คดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้แบ่งทรัพย์สิน มิใช่เป็นการบังคับให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย นำทรัพย์สินกองมรดกออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งปันให้แก่โจทก์หากจำเลยไม่ดำเนินการ เป็นการไม่ถูกต้อง ทั้งไม่เป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: คำร้องซ้ำหลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว ถือสิ้นสุดสิทธิ
คำร้องของจำเลยลงวันที่ 4 มีนาคม 2565 ที่ขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่นั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ทำการไต่สวน แต่ศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาคำร้องของจำเลยแล้วและเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากคำร้องแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วโดยไม่จำต้องไต่สวน จึงมีคำสั่งให้งดการไต่สวน และทำความเห็นพร้อมส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 ซึ่งการจะงดการไต่สวนหรือทำการไต่สวนไปเป็นอำนาจโดยทั่วไปของศาลชั้นต้นหากเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้ว โดยพิจารณาเพียงจากคำร้องของจำเลย ศาลชั้นต้นก็อาจสั่งให้งดการไต่สวนได้ การดำเนินการในส่วนนี้ของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ได้มีคำวินิจฉัยไปโดยมิได้มีคำสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนแต่อย่างใด โดยศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยไว้อย่างแจ้งชัดว่าคำร้องของจำเลยอ้างแต่เพียงว่ามี ม. ประจักษ์พยาน ซึ่งเป็นพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี ที่รู้เห็นว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่ปรากฏข้ออ้างโดยละเอียดชัดแจ้งเพื่อให้เห็นว่าพยานหลักฐานใหม่มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจำเลยจึงมิได้นำ ม. มาพิสูจน์ว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตั้งแต่แรก ที่สำคัญพยานหลักฐานใหม่นั้นมีความสำคัญแก่คดีมากพอที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาที่ได้พิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้วหรือไม่ เมื่อคำร้องมิได้อ้างเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งเช่นนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี คำร้องของจำเลยจึงไม่มีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ให้ยกคำร้อง คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ดังกล่าว เป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาแห่งคำร้องแล้ว โดยฟังว่าคำร้องของจำเลยไม่มีมูลเพียงพอที่จะฟังว่ามีพยานหลักฐานใหม่อันควรให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ได้ ซึ่งตามพ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น และในวรรคสองบัญญัติว่า คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่สั่งว่าคำร้องของจำเลยไม่มีมูลและให้ยกคำร้อง จึงถึงที่สุดแล้ว การยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ของจำเลยดังกล่าวจึงสิ้นสุด ไม่อาจดำเนินการใดต่อไปได้อีก เนื่องจากมาตรา 18 ระบุไว้อย่างแจ้งชัดว่า คำร้องเกี่ยวกับผู้ต้องรับโทษอาญาคนหนึ่งให้ยื่นได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้น เมื่อคำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 4 มีนาคม 2565 ถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ ฉบับลงวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3686/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.3(1) กรณีแก้ไขกฎหมายยาเสพติด และการเพิ่มโทษฐานกระทำผิดซ้ำ
หลักการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีใดแล้ว คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจหรือไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เว้นแต่ถูกจำกัดสิทธิตามบทบัญญัติของกฎหมาย และการพิจารณาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ต้องเป็นไปดังที่บัญญัติไว้ในภาค 4 ลักษณะ 1 อุทธรณ์ ตาม ป.วิ.อ. ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ดังนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์เฉพาะขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษจำคุกและปรับในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาใหม่โดยเห็นว่าโทษจำคุกและปรับสูงเกินไป โดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการปรับบทกำหนดโทษฐานเสพเมทแอมเฟตามีนตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 104, 162 และฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 90, 145 วรรคหนึ่ง จึงถือว่าจำเลยพอใจไม่โต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดบทกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว การกำหนดบทกำหนดโทษย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จะก้าวล่วงไปวินิจฉัยการปรับบทกำหนดโทษอีกครั้งหนึ่งและปรับบทกำหนดโทษเสียใหม่ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (1) ซึ่งยุติไปแล้วนั้นมิได้ ทั้งกรณีไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดที่ให้อำนาจศาลอุทธรณ์ในกรณีเช่นนี้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่วินิจฉัยดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดีภาค 1 ลักษณะ 1 อุทธรณ์ และไม่ก่อสิทธิให้จำเลยฎีกาในข้อที่ว่า ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทกำหนดโทษตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสอง (1) ชอบหรือไม่ แม้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3374/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษใหม่ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.3(1) กรณีโทษเดิมขัดแย้งกับกฎหมายใหม่ (ยาเสพติด)
ศาลชั้นต้นเป็นศาลจังหวัด การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีและมีคำสั่งยกคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่ของจำเลยโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณานั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากการพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องและมีผลให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 อย่างไรก็ตามคดีนี้เป็นชั้นขอให้กำหนดโทษใหม่ เนื่องจากกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดโดยจำเลยกำลังรับโทษอยู่ แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วถือว่าสำนวนความตามคำร้องของจำเลยปรากฏแก่ศาลฎีกาตาม ป.อ. มาตรา 3 (1) ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยว่าโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังหรือไม่โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอให้กำหนดโทษใหม่โดยให้ผู้พิพากษาครบองค์คณะและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาใหม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2502/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารและแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ร่วมกันเพื่อให้ได้มาซึ่งบริษัท
กองบังคับการปราบปรามนั้น ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 จึงมีอำนาจสอบสวนคดีได้ทั่วราชอาณาจักรตามกฎหมายอยู่แล้ว เพียงแต่เพื่อที่จะไม่ให้ขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนกับอำนาจของพนักงานสอบสวนในพื้นที่เกิดเหตุโดยตรง โดยให้คดีในลักษณะต่าง ๆ ที่ถือว่ามีความสำคัญหรือยุ่งยากเป็นพิเศษ เพื่อให้อยู่ในอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เช่น เมื่อได้มีการรับเรื่องร้องทุกข์ไว้ดำเนินการแล้ว พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามก็มีอำนาจทำการสอบสวนไปได้ก่อนในเบื้องต้นพร้อมทั้งทำเรื่องรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อทราบและให้มีคำสั่งอนุญาตให้ทำการสอบสวนต่อไปตามระเบียบ ดังนั้น เอกสารที่พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามรวบรวมไว้ ย่อมเป็นเอกสารที่ได้มาโดยถูกต้องชอบดัวยกฎหมาย แม้ภายหลังผู้บังคับบัญชาจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทำการสอบสวนต่อไป ก็เป็นเพียงเรื่องภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีระเบียบกำหนดให้คดีในลักษณะดังกล่าวต้องมีการส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนในท้องที่เกิดเหตุดำเนินการต่อไปเท่านั้น ต่อมาพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี ก็ได้มีการเรียกโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายให้มาดำเนินการร้องทุกข์ใหม่อีกครั้งหนึ่งด้วยในลักษณะที่คล้ายกับว่าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรีเริ่มดำเนินการสอบสวนใหม่เองทั้งหมด ส่วนเอกสารหลักฐานที่พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามส่งมาให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรีก็รวบรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนในลักษณะเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่ง เพื่อนำมาใช้พิจารณาประกอบดุลพินิจในการสั่งสำนวนเท่านั้น หากเห็นว่า ยังขาดตกบกพร่องอยู่ในส่วนใดก็สามารถใช้ดุลพินิจดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมหรือสอบสวนใหม่ได้ หรือหากเห็นว่าหลักฐานที่รวบรวมไว้โดยพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามและส่งมาให้รวมไว้ในสำนวนการสอบสวนมีความชัดเจนเพียงพอแล้วก็สามารถใช้เอกสารหลักฐานดังกล่าวเป็นกลักฐานในสำนวนการสอบสวนต่อไปเพื่อใช้ประกอบดุลพินิจในการสั่งคดีได้ โดยไม่ต้องทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้เช่นเดียวกัน
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ร่วมกันปลอมเอกสาร รวมทั้งร่วมกันใช้เอกสารปลอม และสำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการปลอมเอกสารหรือลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัทหรือที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 นั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวกันคือเพียงเพื่อต้องการให้นายทะเบียน สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดชลบุรีจดทะเบียนแก้ไขจำนวนผู้ถือหุ้น แก้ไขจำนวนกรรมการเข้าและออก และแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท พ. จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายบท ต้องลงโทษจำเลยทั้งสามตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ร่วมกันปลอมเอกสาร รวมทั้งร่วมกันใช้เอกสารปลอม และสำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทจำกัด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการปลอมเอกสารหรือลงข้อความเท็จในเอกสารของบริษัทหรือที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเพื่อลวงให้ผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดบริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 นั้น การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวกันคือเพียงเพื่อต้องการให้นายทะเบียน สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดชลบุรีจดทะเบียนแก้ไขจำนวนผู้ถือหุ้น แก้ไขจำนวนกรรมการเข้าและออก และแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท พ. จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายบท ต้องลงโทษจำเลยทั้งสามตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1788/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ทำร้ายร่างกาย, ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน, อัตราดอกเบี้ย, และการแก้ไขคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 มาตรา 7 วรรคสอง กำหนดว่า อัตราดอกเบี้ยอาจปรับเปลี่ยนให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา โดยให้กระทรวงการคลังพิจารณาทบทวนทุกสามปี แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยังมิได้กำหนดกรณีดังกล่าวไว้ในคำพิพากษา ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) มาตรา 246 และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และจัดให้มีการเล่นพนันฟุตบอลต่างประเทศ ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานจัดให้มีการเล่นการพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศ เป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ศาลต้องพิพากษาลงโทษจําเลยทั้งสามทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ. มาตรา 91 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แต่เนื่องจากโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจําเลยทั้งสามฐานร่วมกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้การพนันทายผลฟุตบอลต่างประเทศด้วย ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจําเลยทั้งสามในความผิดดังกล่าวอีกกระทงหนึ่งได้เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจําเลยทั้งสาม ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นําวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3
ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับนั้น เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่ามีผู้ประสงค์เงินสินบนนำจับนำเจ้าพนักงานไปจับกุมจำเลยทั้งสาม จึงไม่อาจจ่ายเงินสินบนนำจับให้แก่ผู้นำจับได้
ส่วนที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันจ่ายสินบนนำจับแก่ผู้นำจับนั้น เมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่ามีผู้ประสงค์เงินสินบนนำจับนำเจ้าพนักงานไปจับกุมจำเลยทั้งสาม จึงไม่อาจจ่ายเงินสินบนนำจับให้แก่ผู้นำจับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและบริษัทจำกัดหลังการแปรสภาพจากห้างหุ้นส่วนจำกัด
ขณะห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ก่อสร้างกำแพงรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสามนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. เป็นบริษัทจำกัดคือจำเลยที่ 1 แล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ย่อมหมดสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246/5 และเกิดบริษัทใหม่ คือจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ย่อมรับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของห้างเดิมทั้งหมด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จึงมีหนี้และความรับผิดในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำ และส่งมอบที่ดินคืนในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี รวมทั้งต้องชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสาม จำเลยที่ 1 ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จึงต้องรับไปซึ่งหนี้และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ที่มีอยู่เดิมมาทั้งหมดตามบทบัญญัติดังกล่าว
สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ป.พ.พ. มาตรา 1246/7 บัญญัติว่า "เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดแล้ว หากบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน" คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามมิได้แสดงสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกระทำการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามเป็นการส่วนตัว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามนั้น มีจำเลยที่ 2 และ ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1087 และจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย ย่อมถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ผิดนัดชำระหนี้นับแต่เวลาที่มีการกระทำละเมิด ดังนั้น โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ในขณะนั้นจึงต้องร่วมรับผิดกับบรรดาหนี้และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ด้วย นับแต่เวลาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดเป็นต้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อต่อมาภายหลังปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้มีการจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด คือจำเลยที่ 1 แล้ว หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้ โจทก์ทั้งสามในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิให้บังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนเดิมในห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ที่แปรสภาพได้โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จะต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น จะรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ซึ่งเป็นไปตามผลของกฎหมาย
สำหรับความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น ป.พ.พ. มาตรา 1246/7 บัญญัติว่า "เมื่อจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดแล้ว หากบริษัทไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ ให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน" คดีนี้ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามมิได้แสดงสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกระทำการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามเป็นการส่วนตัว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเพียงตัวแทนและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จำเลยที่ 2 และ ที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ในฐานะที่เป็นผู้ร่วมกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม แต่อย่างไรก็ตาม ขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามนั้น มีจำเลยที่ 2 และ ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งต้องเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1087 และจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1077 (2) เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ทั้งสามเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสามได้รับความเสียหาย ย่อมถือว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ผิดนัดชำระหนี้นับแต่เวลาที่มีการกระทำละเมิด ดังนั้น โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ชอบที่จะเรียกให้ชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1080 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ในขณะนั้นจึงต้องร่วมรับผิดกับบรรดาหนี้และความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ด้วย นับแต่เวลาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. กระทำละเมิดเป็นต้นมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อต่อมาภายหลังปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้มีการจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด คือจำเลยที่ 1 แล้ว หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ได้ โจทก์ทั้งสามในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิให้บังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนเดิมในห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ที่แปรสภาพได้โดยไม่จำกัดจำนวนตามที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. จะต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นั้น จะรับผิดก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถชำระหนี้ที่รับมาจากห้างหุ้นส่วนที่แปรสภาพได้ซึ่งเป็นไปตามผลของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างและการปรับบทลงโทษตามกฎหมายเฉพาะและกฎหมายทั่วไป
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) เป็นความผิดคนละอย่างที่มีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) จึงมิใช่เป็นความผิดตามบททั่วไปของบทเฉพาะตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 (11) วรรคแรก ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของผู้รับประกันภัยในคดีประมาทเลินเล่อ ผู้ตายมีส่วนประมาท ความรับผิดเป็นพับ
แม้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ ทั้งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทมากกว่าหรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ประมาทแต่เพียงฝ่ายเดียวตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยซึ่งต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 หรือประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 และความเสียหายของโจทก์เป็นพับ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้ การอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ด้วย