คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 210

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6375/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขายท่อเพื่อหักเงินมัดจำ: จำเลยไม่ยินยอม โจทก์ไม่มีสิทธิขาย
การที่โจทก์ตกลงซื้อลมและแก๊สจากจำเลยโดยโจทก์วางเงินมัดจำ(ประกัน)ค่ายืมท่อบรรจุลมและแก๊สไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยมารับท่อและคืนเงินมัดจำ มิฉะนั้นจะนำท่อออกขายทอดตลาด อันเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์แม้จำเลยได้ทราบแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงด้วย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำท่อออกขายตามที่ได้แจ้ง ทั้งนี้เพราะสัญญาซื้อขายและสัญญายืมท่อระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิที่จะขายท่อของจำเลยเพื่อนำเงินมาหักออกจากเงินมัดจำค่ายืมท่อ แม้จำเลยจะมีหน้าที่ต้องคืนเงินมัดจำค่ายืมท่อให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องคืนท่อให้แก่จำเลยเช่นกัน เมื่อโจทก์นำท่อของจำเลยไปขายโดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำท่อแก่โจทก์ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิการเช่า: การไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ในการจดทะเบียนและชำระเงิน ทำให้คู่สัญญาบอกเลิกได้และต้องคืนเงิน
การจะจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าตามสัญญาได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทโอนสิทธิการเช่าต่อเจ้าพนักงานเสียก่อนวันนัดจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานต้องออกประกาศเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันจดทะเบียน หากไม่มีผู้ใดคัดค้านเจ้าพนักงานจึงจะจดทะเบียนให้ และต้องมีหนังสือยินยอมให้โอนสิทธิการเช่าจากผู้ให้เช่าไปแสดงต่อเจ้าพนักงานด้วย ในขณะเดียวกันโจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือในวันจดทะเบียนโอน ปรากฏว่าในวันจดทะเบียนโอน จำเลยไม่ได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนดังกล่าวและไม่มีหนังสือยินยอมของผู้ให้เช่าไปแสดง โจทก์ก็ไม่ได้เตรียมเงินที่จะต้องชำระให้แก่จำเลย กรณีของโจทก์และจำเลยปรับ ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 210, 211 ถือว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา และต่างบอกเลิกสัญญาแก่กันและกันแล้ว โดยไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จึงต้องให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยต้องคืนเงินที่ได้รับไว้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ และเมื่อจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียก เอาเบี้ยปรับตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายยานพาหนะ, การผิดนัดชำระหนี้, ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์, ดอกเบี้ย, ค่าขึ้นศาล
โจทก์และจำเลยทำสัญญาร่วมลงทุนดำเนินการขนส่งสินค้าและอุปกรณ์ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย โดยโจทก์ได้มอบยานพาหนะให้จำเลยควบคุมดูแลรักษาใช้งาน มีกำหนด 60 เดือน นับแต่วันส่งมอบ ยานพาหนะ ทั้งนี้โดยจำเลยต้องเสียค่าตอบแทนให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 2,400,000 บาท ตามสัญญาร่วม ลงทุนและรายละเอียดแนบท้ายสัญญา ต่อมาโจทก์และจำเลยได้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนดังกล่าว โดยโจทก์ตกลง ยินยอมให้ลดค่าตอบแทนลงเหลือเดือนละ 2,000,000 บาท ตั้งแต่งวดที่ 30 ประจำเดือนตุลาคม 2529 เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดอายุสัญญา ซึ่งตามรายละเอียดแนบท้ายที่พิพาทข้อ 11.3 ว่าในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะ เปลี่ยนแปลงสัญญาจากการร่วมลงทุนเป็นการซื้อ - ขาย เงินสดแทน จำเลยจะต้องชำระเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือ ทั้งหมดจนวันสิ้นอายุสัญญาบวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะที่ร่วมลงทุนเมื่อสิ้นอายุสัญญาตามข้อ 8.5 นอกจากนี้แล้วสัญญาข้อ 8.6 ซึ่งระบุว่า ในกรณีที่จำเลยมีความประสงค์จะซื้อหรือไม่ซื้อยานพาหนะตามมูลค่าที่ได้กำหนดไว้ในข้อ 8.5 จำเลยจะต้องแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุสัญญา และสัญญาข้อ 8.7 ระบุว่า ในกรณีที่จำเลยตกลงจะซื้อยานพาหนะทั้งหมดหรือบางส่วนตามข้อ 8.5 จำเลยจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบแจ้งหนี้จากโจทก์ ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระราคาของ ยานพาหนะดังกล่าวภายในกำหนด ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดเป็นต้นไปจนถึงวันที่โจทก์ได้รับการชำระเงิน เมื่อไม่ปรากฏว่ามีข้อสัญญาให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ยอมขายยานพาหนะที่จำเลยได้แจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรตกลงจะซื้อจากโจทก์แต่อย่างใดเลยจึงต้องถือว่าโจทก์ได้ให้คำมั่นว่าจะขายยานพาหนะพิพาทให้จำเลยเมื่อจำเลยแจ้งความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษรให้โจทก์ทราบไม่น้อยกว่า 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน โดยจำเลยต้องชำระเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมด จนถึงวันสิ้นอายุสัญญาบวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะที่ร่วมลงทุนเมื่อสิ้นอายุสัญญาตามข้อ 8.5 เป็นราคาของ ยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ การที่จำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์แจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นการซื้อขาย อันเป็นการแจ้งแก่โจทก์เช่นนั้นก่อนวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 90 วัน แล้ว สัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเกิดขึ้นทันทีที่คำบอกกล่าวนั้นไปถึงโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 454 วรรคหนึ่ง และเมื่อสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยเกิดขึ้นเช่นนี้แล้ว กรรมสิทธิ์ในยานพาหนะพิพาททั้งหมดย่อมโอนไปยังจำเลยผู้ซื้อตั้งแต่ขณะที่เกิดสัญญาซื้อขายนั้นขึ้นจากการที่โจทก์ได้รับคำบอกกล่าวแสดงความจำนงจะซื้อยานพาหนะพิพาทของจำเลยตาม ป.พ.พ มาตรา 458 แล้ว
เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิตามสัญญาร่วมลงทุนแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญาซื้อขายตามหนังสือของจำเลย ทำให้เกิดสัญญาซื้อขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยย่อมมีหนี้ที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้น โดยจำเลยต้องชำระค่าตอบแทนส่วนที่เหลือทั้งหมดจนถึงวันสิ้นอายุสัญญาร่วมลงทุน บวกมูลค่าคงเหลือของยานพาหนะพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ต้องส่งมอบยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอให้โจทก์รับเงินค่าตอบแทนส่วนที่เหลือจำนวน 14,000,000 บาท และมูลค่าคงเหลือของ ยานพาหนะพิพาทจำนวน 6,534,580 บาท รวมเป็นเงิน 20,534,580 บาท จากจำเลยพร้อมกับโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยแต่โจทก์กลับขอรับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยโดยยังไม่ยอมโอนหรือส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้จำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งจะต้องชำระหนี้ตอบแทนให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์ไม่เสนอที่จะชำระหนี้ตอบแทนตามที่จะพึงกระทำ โจทก์จึงตกเป็นผู้ผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 210 โดยจำเลยมีสิทธิที่จะไม่ยอมชำระหนี้ของตนจนกว่าโจทก์จะชำระหนี้ของโจทก์โดยการส่งมอบทะเบียนยานพาหนะพิพาทหรือขอปฏิบัติการชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 ด้วย และเมื่อโจทก์ตกเป็นผู้ผิดนัดเช่นนี้แล้ว โจทก์ก็ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 221 ค่าฤชาธรรมเนียมทำสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อผู้ขายต้องออกใช้เท่ากันทั้งสองฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 457 นั้นหมายถึง ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเรือกำปั่นหรือเรือมีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ตามที่ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ซึ่งการซื้อขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้น แต่สัญญาขายยานพาหนะพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเกิดจากการที่จำเลยแจ้งเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนเป็นสัญญา ซื้อขาย มิใช่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 456 วรรคหนึ่ง ดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติมาตรา 457 ดังนั้นเมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบหรือโอนทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้แก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าว ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการให้จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของยานพาหนะพิพาทในทะเบียนยานพาหนะพิพาทนั้น จึงย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์แต่ผู้เดียวด้วย
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 20,534,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้โจทก์ดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนของยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อของจำเลยโดยโจทก์เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการทั้งหมด จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระ ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้โจทก์และจำเลยเสียค่าใช้จ่ายใน การดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยคนละครึ่ง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทเป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ให้แก่โจทก์ และต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาสำหรับคำขอให้โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเปลี่ยนชื่อทางทะเบียนยานพาหนะพิพาทให้เป็นชื่อจำเลยแต่ฝ่ายเดียว กับเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นค่าขึ้นศาลอนาคตสำหรับคำขอให้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปด้วยเท่านั้น แต่ปรากฏว่า จำเลยได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 189,302.50 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 7,572,126.97 บาท โดยเสียค่าขึ้นศาลอนาคต 100 บาท ด้วย และเสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกาจำนวน 200,000 บาท สำหรับทุนทรัพย์จำนวน 10,138,948 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินมา สมควรสั่งคืนแก่จำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อนเรียกร้องค่าที่ดิน
โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์ ยังไม่ได้จัดการทำถนน ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้า และยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดิน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จำเลยให้การสู้คดีว่าได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปรับโอนที่ดินในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 แต่คำให้การของจำเลยไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์อ้างว่า จำเลยยังไม่ได้จัดการทำถนน ท่อระบายน้ำและติดตั้งเสาไฟฟ้า จึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจริงและข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2534 จำเลยยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์แล้วเสร็จ ทั้งตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับเงินค่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยจะต้องแบ่งแยกที่ดินออกจากโฉนดที่ดินเดิม สร้างถนนเข้าที่ดินกว้าง 5 เมตร ทำท่อระบายน้ำ และตั้งเสาไฟฟ้าให้เรียบร้อย เมื่อจำเลยยังไม่ได้จัดการแบ่งแยกที่ดิน ทำถนนเข้าที่ดินทำท่อระบายน้ำ และตั้งเสาไฟฟ้า จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ยังค้างชำระและจดทะเบียนรับโอนที่ดินที่จะซื้อขายกัน การที่โจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยและไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินกันในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา แม้โจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินก็ไม่อาจจะจดทะเบียนโอนที่ดินกันได้ และการที่จำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ทั้งเมื่อจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้ จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนชื่อ ส.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เป็นคู่ความในคดีออกจากโฉนดที่ดินที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4859/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญาแบ่งแยกที่ดินและสร้างถนน ทำให้โจทก์ไม่ต้องชำระเงินและศาลสั่งให้จำเลยโอนที่ดิน
โจทก์กล่าวอ้างว่าในวันที่5กุมภาพันธ์2534จำเลยไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์ยังไม่ได้จัดการทำถนนท่อระบายน้ำไฟฟ้าและยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินจึงถือว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจำเลยให้การสู้คดีว่าได้มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์ทั้งสองไปรับโอนที่ดินในวันที่5กุมภาพันธ์2534แต่คำให้การของจำเลยไม่ได้ปฏิเสธในเรื่องที่โจทก์อ้างว่าจำเลยยังไม่ได้จัดการทำถนนท่อระบายน้ำและติดตั้งเสาไฟฟ้าจึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวจริงและข้อเท็จจริงปรากฏว่าในวันที่27กุมภาพันธ์2534จำเลยยังไม่ได้แบ่งแยกที่ดินในส่วนที่จะจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์แล้วเสร็จทั้งตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและหนังสือรับเงินค่าที่ดินมีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยจะต้องแบ่งแยกที่ดินออกจากโฉนดที่ดินเดิมสร้างถนนเข้าที่ดินกว้าง5เมตรทำท่อระบายน้ำและตั้งเสาไฟฟ้าให้เรียบร้อยเมื่อจำเลยยังไม่ได้จัดการแบ่งแยกที่ดินทำถนนเข้าที่ดินทำท่อระบายน้ำและตั้งเสาไฟฟ้าจำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่ยังค้างชำระและจดทะเบียนรับโอนที่ดินที่จะซื้อขายกันการที่โจทก์ไม่ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยและไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินกันในวันที่5กุมภาพันธ์2534ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแม้โจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินก็ไม่อาจจะจดทะเบียนโอนที่ดินกันได้และการที่จำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาทั้งเมื่อจำเลยแบ่งแยกที่ดินแล้วจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้อื่นเช่นนี้จำเลยย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ถอนชื่อส. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เป็นคู่ความในคดีออกจากโฉนดที่ดินที่พิพาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสองศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8086/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดิน และสิทธิของเจ้าหนี้
โจทก์ไม่ชำระเงินมัดจำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกำหนดให้เงินมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระเงินตามสัญญา เงินดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสนอชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ไม่เสนอ โจทก์ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 210จำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอชำระหนี้ตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8086/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: เจ้าหนี้ผิดนัดชำระเงินมัดจำ จำเลยมีสิทธิไม่ชำระหนี้
โจทก์ไม่ชำระเงินมัดจำให้จำเลยที่1ซึ่งตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกำหนดให้เงินมัดจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระเงินตามสัญญาเงินดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ดินที่โจทก์มีหน้าที่ต้องเสนอชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1เมื่อโจทก์ไม่เสนอโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา210จำเลยที่1มีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้จนกว่าโจทก์จะชำระหนี้หรือขอชำระหนี้ตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา369

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5039/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อตามสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ vs. การบังคับคดี การคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อก่อนเจ้าหนี้
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามยอมให้จำเลยซึ่งเป็นคู่ความแทนที่จำเลยในอีกคดีหนึ่ง โอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนั้น ทำให้การโอนที่ดินพิพาทไม่อาจกระทำได้ การที่ผู้ร้องไม่ชำระราคาที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อศาลได้พิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิตามคำพิพากษาที่จะบังคับให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 โจทก์จะบังคับคดียึดที่ดินพิพาทให้กระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องอันอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287
กรณียื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ถือได้ว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องต่อไปและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่สั่งให้ผู้ร้องใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์เกินอัตราขั้นสูงในคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันเมื่อผู้ขายไม่จัดเตรียมสาธารณูปโภคตามสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาหรือลดราคา
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชัดว่า คู่สัญญาตกลงเช่าซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีน้ำ ไฟฟ้า ถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำพร้อม ในราคาตารางวาละ 1,100 บาท ราคาที่ดินซึ่งไม่มีสาธารณูปโภคดังกล่าวตารางวาละประมาณ 400-500 บาทเท่านั้น แสดงว่าที่ตกลงเช่าซื้อกันเกินเลยไปกว่าราคาแท้จริงตารางวาละ 600-700 บาทก็เพราะคู่สัญญาถือเอาการสาธารณูปโภคดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาที่จำเลยจะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จทันโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเสร็จด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แต่จำเลยยังไม่ดำเนินการในเรื่องสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดินมีสาระสำคัญเรื่องสาธารณูปโภค หากจำเลยไม่จัดให้ถือเป็นผิดสัญญา
สัญญาเช่าซื้อที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุชัดว่า คู่สัญญาตกลงเช่าซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีน้ำ ไฟฟ้า ถนนคอนกรีต ท่อระบายน้ำพร้อม ในราคาตารางวาละ 1,100 บาท ราคาที่ดินซึ่งไม่มีสาธารณูปโภคดังกล่าวตารางวาละประมาณ 400-500 บาทเท่านั้น แสดงว่าที่ตกลงเช่าซื้อกันเกินเลยไปกว่าราคาแท้จริงตารางวาละ 600-700 บาทก็เพราะคู่สัญญาถือเอาการสาธารณูปโภคดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญของสัญญาที่จำเลยจะต้องจัดทำให้แล้วเสร็จทันโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อเสร็จด้วย ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แต่จำเลยยังไม่ดำเนินการในเรื่องสาธารณูปโภคให้แล้วเสร็จจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา.
of 4