พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีสตางค์ไว้เกินสมควรสำหรับประกอบการค้าและใช้จ่าย ศาลยกฟ้องเนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ
จำเลยทำจักสานขายและรับซื้อเครื่องจักสานไว้ขาย มีสตางค์ไว้ในครอบครอง 24 บาท ถือได้ว่าเปนผู้ประกอบการค้าและอุสาหกัม และไม่ถือว่ามีไว้เกินสมควนสำหรับปรกติธุระหรือเกินจำเปนสำหรับการใช้จ่ายปรกติ ไม่มีความผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นการมีเงินเกินกำหนดในความผิดฐานพนัน - เงินในมือเป็นไปตามวิสัยของการค้า
จำเลยเป็นแม่ค้าทำขนมเร่ขาย เจ้าพนักงานจับสตางค์ได้ที่บ้านจำเลย 34 บาท 20 สตางค์ ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้มีไว้ได้ตามปกติ 30 บาท เป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าไม่เกินปกติการค้าของจำเลย จำเลยไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหรียญกษาปณ์เกินสมควร ไม่เป็นของอันควรริบ
การมีเหรียญกษาปณ์ไว้เกินสมควรอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ เงินตราในภาวะฉุกเฉินนั้น ไม่ถือว่าเป็นของอันควรริบตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 28(อ้างฎีกา626/2486)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าเหรียญกษาปณ์และความแตกต่างของหน้าที่ในการนำสืบพยานหลักฐานตามชนิดของเหรียญ
การค้าเหรียญกษาปณ์ไม่ว่าเหรียญกษาปณ์ชนิดใดใดเป็นความผิด เหรียญกษาปณ์ชนิด 20 สตางค์หรือต่ำกว่ามีกฎหมายสันนิษฐานว่าบุคคลที่มีไว้เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดเป็นผู้มีไว้เกินสมควร ส่วนเหรียญกษาปณ์ชนิดอื่นไม่มีข้อสันนิษฐานเช่นนั้น ดังนี้ ความต่างกันอยู่ที่หน้าที่นำสืบ ผู้รับเหรียญกษาปณ์เป็นจำนวนมากมาจากผู้ชำระหนี้ ไม่ถือว่าเป็นผู้ทำการค้าเหรียญกษาปณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองเหรียญบาทเพื่อซื้อทอง ไม่ถือเป็นผู้ค้าเหรียญกษาปณ์
เงินเหรียญบาทเป็นเหรียญกษาปณ์ชนิดหนึ่งตามพระราชบัญญัติเงินตรา (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2485 มาตรา 3 และพระราชบัญญัติเงินตราในภาวะฉุกเฉิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2485 มาตรา 3 การที่จำเลยเป็นพ่อค้าขายเครื่องทองรูปพรรณนำเงินเหรียญจำนวน 400 บาท กับธนบัตรจำนวน 350 บาท ขึ้นรถไฟจากบุรีรัมย์จะไปซื้อทองที่จังหวัดนครราชสีมานี้ไม่เป็นจำนวนเกินสมควรหรือเกินจำเป็นอันจะถือว่าเป็นผู้ค้าเหรียญกษาปณ์ได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหรียญบาทเป็นเหรียญกษาปณ์ภายใต้กฎหมายพิเศษ การครอบครองเพื่อค้าขายทองไม่ถือว่าเกินสมควร
เงินเหรียนบาทเปนเหรียนกสาปน์ชนิดหนึ่งตาม พ.ร.บ.เงินตรา(ฉบับที่ 9) 2485 ม. 3 และหยู่ไนความหมาย ม. 3 แห่ง พ.ร.บ.เงินตราไนภาวะฉุกเฉิน(ฉบับที่ 2) 2485
พรึติการน์ที่ถือว่ามีเหรียนกสาปน์ไว้ไนครอบครองจำนวนไม่เกินสมควน
พรึติการน์ที่ถือว่ามีเหรียนกสาปน์ไว้ไนครอบครองจำนวนไม่เกินสมควน