พบผลลัพธ์ทั้งหมด 131 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ศาลอาญา รับฟ้องคดีทุจริต หลังศาลอาญาคดีทุจริตเปิดทำการแล้ว เป็นการไม่ชอบ
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ภายหลังเมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางเปิดทำการแล้ว ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 10 ได้บัญญัติว่า "เมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเปิดทำการแล้ว ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นอื่นรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบไว้พิจารณาพิพากษา" จากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วว่า เมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเปิดทำการแล้ว ศาลชั้นต้นอื่นจะรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบไว้พิจารณาและพิพากษามิได้ การที่ศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) รับคดีไว้พิจารณาพิพากษาจึงเป็นการไม่ชอบตามบทกฎหมายดังกล่าว และกรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 16 วรรคสาม แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมอันศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) จะใช้ดุลพินิจรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาได้ และศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) ซึ่งเป็นศาลที่ไม่มีเขตอำนาจคดีนี้ ไม่อาจโอนคดีไปยังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับในเรื่องของการโอนคดีไว้ ทั้งการที่ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ.2559 มาตรา 11 ว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ไม่อาจนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10, 11, 13 มาปรับใช้แก่คดีได้ เนื่องจากตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติไว้ว่า ในพระราชบัญญัตินี้ "ศาล" หมายความว่า ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหารหรือศาลอื่น เมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกับศาลชั้นต้น (ศาลอาญา) ต่างเป็นศาลยุติธรรม กรณีจึงมิใช่เรื่องระหว่างศาลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะนำมาปรับใช้กับคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, ฟ้องซ้ำ, กำหนดระยะเวลาฟ้องคดี: ศาลฎีกายกคำสั่งไม่รับฟ้อง คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด
คำสั่งที่ให้โอนคดีไปยังศาลปกครองอุดรธานีในคดีเดิมเป็นที่สุด ศาลปกครองสูงสุดไม่อาจยกเรื่องเขตอำนาจศาลขึ้นพิจารณาในคดีดังกล่าวได้อีก และคำสั่งซึ่งเป็นที่สุดในคดีเดิมไม่เกี่ยวกับคดีนี้ ประกอบกับศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 51 ทั้งการฟ้องคดีนี้ไม่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมและไม่มีเหตุจำเป็นอื่นตามมาตรา 52 วรรคสอง และมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองอุดรธานีที่ไม่รับคำฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องในคดีเดิม ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3079/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การไม่โต้แย้งของจำเลยถือเป็นการยอมรับอำนาจศาลชั้นต้น
ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนนั้น แม้จำเลยรับราชการเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (1) แต่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องโต้แย้งต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลทหารเพื่อศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 แสดงว่าจำเลยยอมรับเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นเองก็มิได้ยกเรื่องเขตอำนาจศาลส่งไปให้ศาลทหารทำความเห็นกลับมาเช่นกัน กรณีเช่นนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามคำฟ้องบรรยายชัดแจ้งว่าขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการเป็นทหารอันเป็นการยืนยันว่าขณะเกิดเหตุและขณะฟ้องจำเลยรับราชการเป็นทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ จำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (1) ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่วันที่ศาลตรวจคำฟ้องและมีคำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเป็นต้นไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 ซึ่งใช้บังคับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8767/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ชี้ขาดอำนาจศาล
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 ได้บัญญัติไว้ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกฟ้องเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่งให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่รับฟ้องก่อนวันสืบพยานสำหรับศาลยุติธรรมหรือศาลทหาร หรือก่อนวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกสำหรับศาลปกครองหรือศาลอื่น ในการนี้ให้ศาลที่รับฟ้องรอการพิจารณาไว้ชั่วคราว และให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่คู่ความร้องว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ถ้าศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลที่ส่งความเห็นให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลนั้นหรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจศาลใด และวรรคท้ายของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ใช้บังคับกับกรณีที่ศาลเห็นเองก่อนมีคำพิพากษาด้วยโดยอนุโลม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดยะลา) ยกประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยเสียก่อนเบื้องต้นแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องโจทก์ไว้เป็นไม่รับฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งฟ้องได้บรรยายถึงการกระทำโดยการใช้อำนาจทางกฎหมายของจำเลยทั้งสองอันเป็นที่มาของการก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นเองว่าคดีโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองก่อนมีคำพิพากษา ซึ่งกรณีนี้ได้แก่ศาลปกครองสงขลา ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองสงขลา หากศาลปกครองสงขลาเห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองสงขลา ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะโอนคดีไปยังศาลปกครองสงขลา หรือจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปฟ้องคดีที่ศาลปกครองสงขลา แต่ถ้าศาลปกครองสงขลามีความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนี้ ศาลชั้นต้นก็ต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องไว้เป็นไม่รับฟ้องและศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืน จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12803/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล, สัญญาต่างตอบแทนพิเศษ, การบอกเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย, และดอกเบี้ยในคดีขับไล่
เมื่อจำเลยเห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองมิใช่ศาลยุติธรรม ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นก่อนวันสืบพยาน เพื่อให้ศาลชั้นต้นจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิพากษาคดีได้ และเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีแล้ว จำเลยก็ไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้เนื่องจากเป็นการล่วงเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. ที่กำหนดให้บริษัท ต. ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ด้วยสัมภาระและค่าใช้จ่ายของบริษัท ต. แล้วส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และให้บริษัท ต. มีสิทธิเช่ามีกำหนดเวลา 15 ปี หรือจะนำบุคคลอื่นมาทำสัญญาเช่ากับโจทก์ก็ได้ โดยบริษัท ต. ต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นเงินเท่ากับค่าเช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญา หากบริษัท ต. ผิดสัญญายอมให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ทันทีเช่นนี้ ถือว่ามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แต่ในสัญญาดังกล่าว ข้อ 10 ยังได้ระบุไว้ชัดเจนว่าถ้าบริษัท ต. ผิดสัญญาข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที เมื่อปรากฏว่าบริษัท ต. ค้างชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดสัญญาข้อ 7 โจทก์ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การที่จำเลยเช่าช่วงอาคารพาณิชย์พิพาทจากบริษัท ต. และเข้าอยู่โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ต. โดยชอบแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในอาคารพาณิชย์พิพาทอีกต่อไป การที่จำเลยอยู่ต่อมาโดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เป็นรายเดือนพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกจากอาคารพาณิชย์พิพาท เมื่อศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์รายเดือนนับแต่วันถัดจากวันฟ้องอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่ควรจะได้รับแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดอกเบี้ยในค่าขาดประโยชน์รายเดือนนับแต่วันถัดจากวันฟ้องอีก เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าขาดประโยชน์รายเดือนนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง เป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับบริษัท ต. ที่กำหนดให้บริษัท ต. ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ด้วยสัมภาระและค่าใช้จ่ายของบริษัท ต. แล้วส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และให้บริษัท ต. มีสิทธิเช่ามีกำหนดเวลา 15 ปี หรือจะนำบุคคลอื่นมาทำสัญญาเช่ากับโจทก์ก็ได้ โดยบริษัท ต. ต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์เป็นเงินเท่ากับค่าเช่าตามที่กำหนดไว้ในสัญญา หากบริษัท ต. ผิดสัญญายอมให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ทันทีเช่นนี้ ถือว่ามีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แต่ในสัญญาดังกล่าว ข้อ 10 ยังได้ระบุไว้ชัดเจนว่าถ้าบริษัท ต. ผิดสัญญาข้อใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที เมื่อปรากฏว่าบริษัท ต. ค้างชำระค่าเช่าอันเป็นการผิดสัญญาข้อ 7 โจทก์ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ การที่จำเลยเช่าช่วงอาคารพาณิชย์พิพาทจากบริษัท ต. และเข้าอยู่โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่บริษัท ต. โดยชอบแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอยู่ในอาคารพาณิชย์พิพาทอีกต่อไป การที่จำเลยอยู่ต่อมาโดยโจทก์ไม่ยินยอมจึงเป็นละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าขาดประโยชน์เป็นรายเดือนพร้อมดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะออกจากอาคารพาณิชย์พิพาท เมื่อศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์รายเดือนนับแต่วันถัดจากวันฟ้องอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่ควรจะได้รับแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดอกเบี้ยในค่าขาดประโยชน์รายเดือนนับแต่วันถัดจากวันฟ้องอีก เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของค่าขาดประโยชน์รายเดือนนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง เป็นการมิชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902-999/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยาย การปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนตามมติคณะรัฐมนตรี และอำนาจศาลแรงงาน
เมื่อจำเลยเห็นว่าคดีนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองมิใช่ศาลแรงงานกลางก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางก่อนวันสืบพยาน เพื่อให้ศาลแรงงานกลางจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการแสดงว่าจำเลยยอมรับอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิพากษาคดีนี้ได้ และเมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาคดีนี้แล้ว จำเลยก็ไม่อาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ได้เนื่องจากเป็นการล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7951/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อน หากโต้แย้งเขตอำนาจศาล มิใช่การยกขึ้นในคำให้การ
จำเลยโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ ไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นที่รับคำฟ้องเห็นเองเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลนั้น ตาม พ.ร.บ.ว่าดัวยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอื่น ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นเองว่าอยู่ในอำนาจของศาลนั้นก็ไม่ใช่กรณีที่ถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ว่าดัวยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่งและวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2706/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ต้องสอบถามโจทก์ก่อน หากเคยฟ้องศาลปกครองแล้วก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้อง
ในการพิจารณาว่า คดีจะอยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองเป็นอำนาจของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10, 11 และ 12 คดีนี้เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นคดีปกครองซึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้องศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าวศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกและศาลชั้นต้นเห็นว่า เป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี โดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อน และศาลต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจ ศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง ต่อไปเสียก่อนเช่นเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ว เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีปกครองและมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันที โดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่าโจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองมาแล้ว และศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยที่มิได้ดำเนินการแก้ไขให้มีการสอบถามโจทก์เสียก่อนดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ขั้นตอนการโอนคดีระหว่างศาลตาม พ.ร.บ.วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล
หากศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมเห็นว่าคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ก็ชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 กำหนดว่า ในกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลใด ถ้าศาลเห็นเองว่า คดีดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของอีกศาลหนึ่ง ให้จัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลที่ศาลนั้นเห็นว่าคดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยเร็ว ถ้าศาลที่รับความเห็นมีความเห็นพ้องกับศาลที่ส่งความเห็นให้แจ้งความเห็นไปยังศาลที่ส่งความเห็นเพื่อมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลนั้น หรือสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปฟ้องศาลที่มีเขตอำนาจ แต่ถ้าศาลที่ส่งความเห็นและศาลที่รับความเห็นมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนั้น ให้ศาลที่ส่งความเห็นส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ทันทีและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนนั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5847/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล: ศาลต้องปฏิบัติตามขั้นตอน พ.ร.บ. วินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล ก่อนมีคำสั่ง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 ได้บัญญัติถึงกระบวนการวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลไว้ให้ต้องปฏิบัติ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ทันทีและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหานี้แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247