พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิการเช่า: ความรับผิดของผู้ขายเมื่อไม่ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุมัติการโอนก่อนกำหนด
จำเลยทำสัญญาว่าจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ภายในวันที่22สิงหาคม2534ซึ่งจำเลยทราบดีว่าการโอนสิทธิการเช่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเสียก่อนโดยต้องใช้เวลาในการยื่นเรื่องราวจนได้รับอนุมัติอย่างน้อย1เดือนแต่จำเลยมิได้ดำเนินการยื่นเรื่องราวขอโอนก่อนวันครบกำหนดที่จะต้องโอนตามสัญญาเดิมดังนั้นจะอ้างว่าโจทก์บ่ายเบี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวต้องชำระในวันโอนหากไม่ยื่นเรื่องราวขอโอนเสียก่อนก็ไม่อาจอนุมัติให้โอนได้หากจำเลยขออนุมัติให้โอนไว้แล้วโจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมจึงจะถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อจำเลยยังมิได้ยื่นเรื่องราวขอโอนไว้ก่อนจึงไม่มีเหตุที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะปฏิเสธแต่เมื่อโจทก์และจำเลยขอโอนสิทธิการเช่าในวันครบกำหนดโอนแล้วได้รับการปฏิเสธย่อมถือได้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่โจทก์แล้วจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่านั้นว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า: หน้าที่การดำเนินการขออนุมัติการโอนสิทธิ และผลของการผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาว่าจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ภายในวันที่ 22สิงหาคม 2534 ซึ่งจำเลยทราบดีว่าการโอนสิทธิการเช่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเสียก่อน โดยต้องใช้เวลาในการยื่นเรื่องราวจนได้รับอนุมัติอย่างน้อย 1 เดือน แต่จำเลยมิได้ดำเนินการยื่นเรื่องราวขอโอนก่อนวันครบกำหนดที่จะต้องโอนตามสัญญาเดิม ดังนั้น จะอ้างว่าโจทก์บ่ายเบี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่า ซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวต้องชำระในวันโอนหากไม่ยื่นเรื่องราวขอโอนเสียก่อนก็ไม่อาจอนุมัติให้โอนได้ หากจำเลยขออนุมัติให้โอนไว้แล้ว โจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียม จึงจะถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยยังมิได้ยื่นเรื่องราวขอโอนไว้ก่อน จึงไม่มีเหตุที่การรถไฟ-แห่งประเทศไทยจะปฏิเสธ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยขอโอนสิทธิการเช่าในวันครบกำหนดโอนแล้วได้รับการปฏิเสธ ย่อมถือได้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่โจทก์แล้ว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์
สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ เมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่า นับว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย
สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระ เมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่า นับว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเลิกสัญญาและการคืนเงินมัดจำ
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสอง ทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่เพราะกลฉ้อฉล และสิทธิในการเรียกเงินมัดจำคืน
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสองทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอนโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ทำให้สัญญาสิ้นสุด และจำเลยต้องคืนมัดจำเนื่องจากกรรมสิทธิ์ถูกโอนให้ผู้อื่น
ทั้งโจทก์และจำเลยไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้ เพราะโจทก์ก็มิได้ชำระหนี้ตอบแทนเช่นกัน แต่การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่บุคคลภายนอกย่อมทำให้การชำระหนี้ คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนี้ จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (3) ทั้งการฟ้องคดีเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้เท่ากับเป็นการเลิกสัญญาตามมาตรา389 อยู่แล้ว จำเลยต้องคืนมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์ การโอนกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอกทำให้จำเลยต้องคืนมัดจำ
ทั้งโจทก์และจำเลยไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามกำหนดในสัญญาโจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยไม่ชำระหนี้เพราะโจทก์ก็มิได้ชำระหนี้ตอบแทนเช่นกันแต่การที่ต่อมาจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่บุคคลภายนอกย่อมทำให้การชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบดังนี้จำเลยจึงต้องคืนมัดจำแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(3)ทั้งการฟ้องคดีเรียกมัดจำคืนและเรียกค่าเสียหายของโจทก์ในกรณีนี้เท่ากับเป็นการเลิกสัญญาตามมาตรา389อยู่แล้วจำเลยต้องคืนมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยหลังก่อหนี้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้
เหตุที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถจัดการออกโฉนดและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นเพราะผู้ขายซึ่งซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสี่ เนื่องจากถูกบุคคลอื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในเวลาต่อมา ต้องถือว่าการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสี่กลายเป็นพ้นวิสัยและพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ก่อหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายทั้งไม่ปรากฏว่าได้เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสี่จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบในพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นหาได้ไม่ จำเลยทั้งสี่จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ไม่ต้องโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ฝ่ายโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 เมื่อการชำระหนี้บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบและการชำระหนี้ส่วนที่เป็นวิสัยที่จะทำได้ซึ่งหมายถึงการโอนที่ดินแปลงอื่น ๆตามสัญญาให้แก่โจทก์ยังเป็นประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จะไม่ยอมรับโอนที่ดินแปลงที่อยู่ในวิสัยจะโอนได้ แล้วเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดหาได้ไม่ โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกันอยู่กล่าวคือฝ่ายจำเลยจะต้องโอนที่ดินที่เหลืออีก 5 แปลงให้แก่โจทก์ และฝ่ายโจทก์ก็ต้องชำระราคาตามที่ตกลงกันไว้นอกจากนั้นปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้จัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว 1 แปลง กับได้จัดการออกโฉนดที่ดินแปลงที่เหลืออีก 5 แปลง พร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาทั้งการที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งนั้นหาได้เกิดจากพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบไม่ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นฝ่ายรับเงินมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ไม่ได้กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(1)(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย - การมอบอำนาจ - กลฉ้อฉล - ดอกเบี้ยเงินมัดจำ - ค่าฤชาธรรมเนียม
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลนั้นจะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริงหรือเป็นการนิ่งประกอบพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง แต่ในกรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินพิพาทหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อที่ดินจะต้องบอกความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นกลฉ้อฉล
กรณีต้องคืนเงินมัดจำเพราะฝ่ายผู้รับมัดจำผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) นั้นผู้วางมัดจำมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินมัดจำดังกล่าวนับแต่วันที่ผู้รับมัดจำผิดนัดเป็นต้นไปด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
กรณีต้องคืนเงินมัดจำเพราะฝ่ายผู้รับมัดจำผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) นั้นผู้วางมัดจำมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินมัดจำดังกล่าวนับแต่วันที่ผู้รับมัดจำผิดนัดเป็นต้นไปด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขโฉนดเป็นสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความระบุชัดว่า ผู้จะซื้อซึ่งหมายถึงโจทก์จะต้องจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดต่อเมื่อผู้ขายคือจำเลย จัดทำหนังสือสำคัญให้แล้วเสร็จ (โฉนด) ภายใน 12 เดือน ถ้าหลักฐาน ไม่เสร็จผู้ซื้อไม่รับโอน โดยผู้จะซื้อจะต้องจ่ายเงินให้หมดงวดสุดท้าย ภายในวันครบกำหนดที่ให้จำเลยจัดทำหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ซื้อที่ยึดถือเอาโฉนดที่ดินเป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้จัดการทำโฉนดที่ดิน แปลงที่จะขายให้แก่โจทก์ จนเลยระยะเวลาตามสัญญา เป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ โดยมิพักต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 แต่เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ตามตำบลที่อยู่ของจำเลยในปัจจุบัน โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแต่จำเลยไม่ยอมรับ กรณีถือได้ว่าโจทก์ ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วจำเลยต้องคืนมัดจำให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญากันโดยปริยายจากพฤติการณ์ปล่อยเวลาล่วงเลย และการคืนเงินมัดจำ
ในขณะที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกัน ทั้งสองฝ่ายต่างไม่ทราบว่ามีผู้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่จะซื้อขายกันนี้ และตามสัญญาดังกล่าวโจทก์จะต้องชำระเงินค่าที่ดินงวดสุดท้ายในวันที่ 30 เมษายน 2517 แล้วจำเลยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ทันที แต่ในระหว่างนั้นปรากฏว่าจำเลยกำลังเป็นความอยู่กับผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ จำเลยจึงไม่มีทางที่จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ไม่ว่าโจทก์จะชำระหนี้ตามกำหนดหรือไม่ ทั้งต่อมาเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่จะต้องชำระเงินงวดสุดท้ายแล้วต่างฝ่ายต่างก็เพิกเฉยต่อกัน โดยโจทก์ไม่ได้ขอชำระหนี้และให้จำเลยโอนที่ดินให้ ส่วนจำเลยก็ไม่ได้บอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ตามกำหนด ต่างฝ่ายต่างปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาเป็นเวลา 3 ปีเศษ โจทก์จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว สัญญาจะซื้อขายที่ดินที่โจทก์จำเลยทำกันไว้จึงไม่มีผลผูกพันต่อไป โจทก์จำเลยต่างต้องคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์