พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10468/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดในสัญญาร่วมทุน และการแต่งตั้งกรรมการบริษัทตามกฎหมาย
สัญญาร่วมลงทุนระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่ง และบริษัท อ. อีกฝ่ายหนึ่ง จัดตั้งบริษัทจำเลยขึ้นมาให้มีฐานะเป็นบริษัทร่วมทุน และกำหนดให้จำเลยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาทุกประการ แต่จำเลยหามีฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาร่วมลงทุนไม่ ดังนั้น แม้ในสัญญามีข้อกำหนดว่า ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับข้อกำหนดแห่งสัญญานี้หรือเกี่ยวกับการปฏิบัติสัญญานี้และคู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ ให้เสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาชี้ขาด ก็เป็นข้อบังคับใช้ระหว่างโจทก์กับพวกและบริษัท อ. เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยโดยไม่จำต้องเสนอข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการจักต้องอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1151 ซึ่งระบุเฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะกระทำได้ รวมตลอดทั้งหากตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ กรรมการที่ยังมีอยู่แห่งนิติบุคคลนั้นมีสิทธิเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างได้ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1155 บัญญัติไว้ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุน และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในเหตุนี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2546
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการจักต้องอยู่ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1151 ซึ่งระบุเฉพาะแต่ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเท่านั้นจึงจะกระทำได้ รวมตลอดทั้งหากตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ กรรมการที่ยังมีอยู่แห่งนิติบุคคลนั้นมีสิทธิเลือกผู้อื่นตั้งขึ้นใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างได้ ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1155 บัญญัติไว้ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมทุน และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในเหตุนี้ ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2546
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นเพียงขั้นตอนเบื้องต้น โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการ ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่มีปัญหา ในการปฏิบัติและการวินิจฉัยตามประกาศนี้ ให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัยและคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุดนั้น แม้ประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย แต่กฎหมายที่ให้อำนาจในการออกประกาศฉบับนี้มิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรที่จะออกประกาศกำหนดว่า ถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ถือเป็นที่สุด ฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ ดังนั้น คำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวจึงมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่า ผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป ดังนั้นเมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อน วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ส่วนบันทึกข้อตกลงโครงการคอนโดมิเนียมทำขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างฉบับเดิม สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแตกต่างไปจากเดิมมาก บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จึงเป็นสัญญาที่โจทก์และบริษัท ม. ทำขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 1(3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป
บันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อน วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ส่วนบันทึกข้อตกลงโครงการคอนโดมิเนียมทำขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างฉบับเดิม สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแตกต่างไปจากเดิมมาก บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จึงเป็นสัญญาที่โจทก์และบริษัท ม. ทำขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 1(3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกการรังวัดที่ดินทำให้สิทธิเรียกร้องสิ้นสุด
โจทก์ฟ้องคดีโดยกล่าวอ้างว่า โจทก์ยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินของโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงได้คัดค้านและขัดขวางการรังวัด แต่เมื่อกลับได้ความว่าโจทก์ได้ขอยกเลิกการรังวัดที่ดินของโจทก์แล้ว โดยให้เหตุผลในบันทึกถ้อยคำของเจ้าพนักงานที่ดินว่า โจทก์กับจำเลยสามารถตกลงแนวเขตกันได้แล้วโดยไม่ติดใจสงสัยค้านแนวเขตด้านที่ติดกัน ดังนั้นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 ย่อมหมดไป โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 385/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าทดแทนเวนคืน: ต้องไม่พอใจคำวินิจฉัยรัฐมนตรี
ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ก็ต่อเมื่อไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี แต่เมื่อปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่ม ดังนี้จึงไม่มีข้อโต้แย้งที่โจทก์จะอ้างว่ายังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่ม
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงที่นำมาสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลย และที่โจทก์กับจำเลยนำสืบ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนอันเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อข้อเท็จจริงที่นำมาสู่การวินิจฉัยปัญหานี้ปรากฏจากคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลย และที่โจทก์กับจำเลยนำสืบ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนอันเกิดจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ ศาลย่อมหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของสมรสที่ซ้อนจากการหย่าก่อนฟ้อง ทำให้ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิผู้ฟ้อง
แม้ผู้ร้องกับ ป. จะได้จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่ ป.มีคู่สมรสอยู่แล้วอันมีผลทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป.เป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้หย่าขาดจาก ป. แล้ว การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. จึงได้สิ้นสุดลงด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้อง กับ ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ทั้งตามคำร้อง ของ ผู้ร้องก็มิได้กล่าวแสดงว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนดังกล่าวเป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีอำนาจมาร้องขอต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. เป็นโมฆะไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแรงงาน: การยินยอมในการกระทำผิดสัญญา
ข้ออุทธรณ์ที่ว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมในการปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยหรือไม่เป็นข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2524 มาตรา 54
แม้การที่จำเลยปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจ จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจะเป็นการกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ตามแต่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมในการปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย.
แม้การที่จำเลยปล่อยสินเชื่อเกินอำนาจ จนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจะเป็นการกระทำผิดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างก็ตามแต่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วว่าโจทก์รู้เห็นยินยอมในการปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยโดยประกาศคณะปฏิวัติ บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่กระทบสัญชาติ
โจทก์ฟ้องว่าผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3ออกคำสั่งให้ปลัดเทศบาลจำเลยที่5จดข้อความลงในทะเบียนบ้านว่าโจทก์ทั้งหกเป็นญวนอพยพโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่1และปลัดกระทรวงมหาดไทยจำเลยที่2ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่3และที่5ต้องรับผิดร่วมด้วยดังนี้แม้การถอนสัญชาติไทยจะเป็นผลของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337มิใช่เป็นการกระทำของจำเลยแต่ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งโจทก์ไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดเพราะจำเลยเพิกถอนสัญชาติโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ที่1เป็นบุตรของนางด. คนสัญชาติไทยเกิดกับอ.คนสัญชาติญวนโจทก์ที่2เป็นบุตรของโจทก์ที่1เกิดกับม.คนสัญชาติญวนส่วนโจทก์ที่3ถึงที่6เป็นบุตรของโจทก์ที่1เกิดกับน. โจทก์ทั้งหกเกิดในราชอาณาจักรไทยและบิดาของโจทก์ทุกคนเป็นบิดาที่มิชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้โจทก์ที่1ไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337เพราะอ. เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่1บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยโดยเหตุที่บิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ที่1มารดาของโจทก์ที่2ไม่ใช่คนต่างด้าวและม.ก็มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ที่2กรณีจึงไม่ต้องด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่337ข้อ1(2)อันจะเป็นผลให้โจทก์ที่2ถูกถอนสัญชาติไทยกรณีเช่นเดียวกับโจทก์ที่3ถึงโจทก์ที่6ที่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นมารดามิได้เป็นคนต่างด้าวจึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยเช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำรถเสียหาย หากไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
คนขับรถยนต์ของจำเลยได้ชนรถของคนอื่นที่โจทรับจ้างซ่อมและยังไม่ได้มอบคืนเจ้าของ กรนีเช่นนี้โจทไม่มีอำนาดฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะโจทไม่ใช่ผู้เสียหาย
การรับจ้างซ่อมรถยนต์ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของตาม ม.603
การรับจ้างซ่อมรถยนต์ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของตาม ม.603