คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 39 (7)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่ง คสช. 6/2562 ยกเว้นโทษทางอาญาธุรกิจโรงแรมที่ไม่ได้รับอนุญาต หากแจ้งและปรับปรุงความปลอดภัยตามเกณฑ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2563 ปรากฏว่า ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2562 เรื่อง มาตรการส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานการประกอบธุรกิจโรงแรมบางประเภท ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป ให้ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งใช้อาคารในการประกอบธุรกิจโรงแรมในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ และอาคารนั้นมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืนการประกอบธุรกิจโรงแรมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 ไปแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบถึงการฝ่าฝืนและดำเนินการปรับปรุงระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 พร้อมทั้งยื่นเอกสารหรือหลักฐานเพื่อประกอบการตรวจสอบ เอกสารท้ายฎีกาของจำเลย เป็นหนังสือขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสาหร่าย ถึง ม. ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่เกิดเหตุ เรื่อง การแก้ไขอาคารตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 6/2562 โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาพร้อมเอกสารดังกล่าว มิได้โต้แย้ง จึงรับฟังหลักฐานได้ว่า สถานที่ประกอบกิจการของ ม. ได้ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จเรียบร้อย ซึ่งตามคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวกำหนดให้ได้รับยกเว้นโทษทางอาญา ถือว่าเป็นกรณีกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังยกเว้นโทษให้ผู้กระทำความผิด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตอาวุธปืนและการรับสารภาพในชั้นศาลมีผลต่อการตัดสินคดีอาญา
จำเลยได้นำอาวุธปืนของกลางไปขอจดทะเบียนไว้แล้วภายในกำหนดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 การที่นายทะเบียนมอบคืนอาวุธปืนให้จำเลยเก็บรักษาไว้ก่อนจนกว่าจะออกใบอนุญาตให้นั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ก็ต้องถือว่าจำเลยเก็บรักษาอาวุธปืนนั้นไว้แทนนายทะเบียน จำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนกระบอกนั้นไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต จากนายทะเบียนท้องที่อีก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกขนาด .22 และกระสุน .22 จำนวน 7 นัดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ แม้จำเลยจะยื่นคำให้การับสารภาพเฉพาะอาวุธปืนเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ปรากฎตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลในวันเดียวกันนั้นว่า "จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานคดีเสร็จการพิจารณา" แสดงว่าศาลจดรายงานกระบวนพิจารณานี้หลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าจำเลยให้การใหม่รับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ จำเลยต้องมีความผิดฐานมีกระสุนปืน 7 นัดนี้ไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ดังที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตอาวุธปืนภายหลังกฎหมายฉบับแก้ไข และการรับสารภาพในชั้นศาล
จำเลยได้นำอาวุธปืนของกลางไปขอจดทะเบียนไว้แล้วภายในกำหนดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษการที่นายทะเบียนมอบคืนอาวุธปืนให้จำเลยเก็บรักษาไว้ก่อนจนกว่าจะออกใบอนุญาตให้นั้น ก็ ต้องถือว่าจำเลยเก็บรักษาอาวุธปืนนั้นไว้แทนนายทะเบียนจำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนกระบอกนั้นไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่อีก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกขนาด .22 และกระสุน.22 จำนวน 7 นัดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ แม้จำเลยจะยื่นคำให้การรับสารภาพเฉพาะอาวุธปืนเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลในวันเดียวกันนั้นว่า 'จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยานคดีเสร็จการพิจารณา' แสดงว่าศาลจดรายงานกระบวนพิจารณานี้หลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่าจำเลยให้การใหม่รับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ จำเลยต้องมีความผิดฐานมีกระสุนปืน 7 นัดนี้ไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ดังที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ การอ้างหนังสืออนุญาตจากนายกรัฐมนตรีหลังเกิดเหตุไม่เป็นเหตุให้พ้นผิด
จำเลยร่วมกันเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติและอ้างว่ามีหนังสือของนายกรัฐมนตรีที่สั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเรื่องราษฎรเข้าทำกินในที่ป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการกระทำผิด เมื่อจำเลยทราบข้อความตามหนังสือของนายกรัฐมนตรีหลังที่เกิดเหตุคดีนี้แล้ว จำเลยจึงไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยเชื่อโดยสุจริตใจตามหนังสือฉบับนั้นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด การที่หนังสือดังกล่าวไม่ให้เอาผิดราษฎรที่เข้าทำไร่นาในป่าสงวนอยู่ก่อนแล้ว และถ้าถูกเจ้าหน้าที่จับกุมคุมขังไว้ก็ให้ปล่อยตัวไปนั้น เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติจำเลยฎีกาว่า ถ้าศาลฎีกาจะลงโทษจำเลยก็ขอให้รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่ง คปถ. ยกเว้นโทษฐานมีวัตถุระเบิด หากมอบให้นายทะเบียนตามกฎหมาย
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 12 ซึ่งสั่งณ วันที่ 7 ตุลาคม 2519 กำหนดให้ผู้มีวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในครอบครองนำมามอบให้นายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯลฯ ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2519 ฉะนั้น ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องถือว่าคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์เมื่อมีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองฉบับที่ 12 ซึ่งสั่งและมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2519 ดังกล่าว ซึ่งระหว่างนั้นจำเลยยังมีสิทธิที่จะนำวัตถุระเบิดตามฟ้องไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน กรณีต้องด้วยมาตรา 3 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา ที่จะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1191/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นโทษทางอาญาจากคำสั่ง คปถ. และหลักการใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย
คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 12 ซึ่งสั่ง ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2519 กำหนดให้มีผู้มีวัตถุระเบิดสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงครามไว้ในครอบครองนำมามอบให้นายทะเบียนห้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ฯลฯ ภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ผู้ที่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2519 ฉะนั้น ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องถือว่าคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เมื่อมีคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองฉบับที่ 12 ซึ่งสั่งและมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2519 ดังกล่าว ซึ่งระหว่างนั้นจำเลยยังมีสิทธิที่จะนำวัตถุระเบิดตามฟ้องไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน กรณีต้องด้วยมาตรา 3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่จะต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จ และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่จากค่าปรับ
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์ ได้รับสิทธิงดเว้นการเสียอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุที่สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศจำเลยได้นำของซึ่งระบุในใบขนสินค้าขาเข้าว่าเป็นเยื่อกระดาษเหนียวเป็นม้วนแต่ปรากฏว่าของที่จำเลยนำเข้ามาเป็นกระดาษ ไม่ใช่เยื่อกระดาษและไม่ใช่กระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้ หรือเศษกระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้แล้วอันได้รับการงดเว้นอากรขาเข้าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ และฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินดังนั้น การที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติอนุญาตย้อนหลังให้กระดาษที่จำเลยนำเข้ามานั้นเป็นวัสดุที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษคราฟท์ได้ เพิ่มเติมจากที่ได้เคยอนุญาตไว้แล้ว. ทำให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับของที่จะต้องเสียภาษีนั้น เป็นมติที่ไม่ชอบและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนฯ หามีอำนาจตามกฎหมายที่จะกำหนดหรืออนุญาตให้กระดาษสำเร็จรูปนั้นกลายเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระดาษคราฟท์ อันจะทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วกลับไม่เป็นความผิดต่อไปได้ไม่จำเลยจึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่งและวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลยก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลยจึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นความผิดฐานนี้จึงยุติแล้วจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นโทษอาวุธปืนตามกฎหมายแก้ไขใหม่ในช่วงเวลาที่กำหนด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืน ฯลฯ นำไปขอรับอนุญาตหรือนำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษซึ่งเมื่อคดียังอยู่ในระหว่างเวลา 90 วัน ก็ต้องถือว่าในระหว่างระยะเวลานี้กฎหมายได้ยกเว้นโทษให้แก่จำเลยแล้ว ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นโทษทางอาญาเนื่องจากกฎหมายใหม่ให้โอกาสผู้กระทำผิดขออนุญาตหรือมอบอาวุธปืน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีประราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืน ฯลฯ นำไปขอรับอนุญาติหรือนำไปมอบให้นายทะเบียนท้องที่ได้ภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ซึ่งเมื่อคดียังอยู่ในระหว่าง 90 วัน ก็ต้องถือว่าในระหว่างระยะเวลานี้กฎหมายได้ยกเว้นโทษให้แก่จำเลยแล้ว ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมราคาข้าวและการมีผลย้อนหลังของประกาศยกเลิกการควบคุมราคา ความผิดยังคงอยู่แม้มีประกาศยกเลิก
จำเลยขายข้าวเกินราคาที่ควบคุม ประกาศฉบับที่ 1 ซึ่งออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ภายหลังที่จำเลยถูกจับและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล มีประกาศฉบับที่ 2ยกเลิกการควบคุมราคาข้าวดังกล่าว เช่นนี้ ความผิดของจำเลยตามประกาศฉบับที่ 1 ก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ ประกาศฉบับที่ 2 ไม่ลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้ว เพราะประกาศฉบับที่ 2 ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือยกเว้นโทษตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5)(7) ความผิดดังกล่าวของจำเลยจึงยังคงอยู่
of 2