พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, การมอบอำนาจ, ค่าอ้างเอกสาร, และการพิสูจน์เจตนา: หลักเกณฑ์การบังคับใช้สัญญา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีไปเพื่อสืบพยานจำเลยที่จำเลยเคยแถลงไว้ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดก่อนว่า ถ้าพยานไม่มาศาลในนัดหน้าก็ไม่ติดใจสืบนั้นเป็นกรณีที่ศาลสั่งไปตามเงื่อนไขในคำแถลงของจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะต้องไปไต่สวนอีกว่าพยานจำเลยไม่มาศาลเพราะเหตุใด โจทก์ส่งสำเนาใบมอบอำนาจเป็นเอกสารท้ายฟ้องผิดไป ก่อนสืบพยานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอส่งฉบับใหม่ที่ถูกต้อง ศาลอนุญาตและโจทก์นำสืบว่าโจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจฉบับใหม่มาตั้งแต่ต้น จำเลยจะอ้างเอาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งผิดมาโดยที่โจทก์ได้แก้ไขแล้วมาเป็นเหตุให้ฟังว่าผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ หนังสือของโจทก์ที่มีไปถึงผู้จัดการสาขาของโจทก์ แจ้งให้ทราบว่าหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรจะต้องทำสัญญาค้ำประกันเป็นการส่วนตัวสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าค้ำประกันเป็นการส่วนตัวไม่มีข้อความใดให้เห็นว่าเป็นการค้ำประกันในนามกลุ่มเกษตรกร ภูมิลำเนาของผู้ค้ำประกันที่ระบุในสัญญาก็เป็นภูมิลำเนาของจำเลย มิได้ระบุว่าอยู่ที่ที่ทำการของกลุ่มเกษตรกร และในช่องลายมือชื่อของจำเลยก็มิได้มีข้อความให้เห็นว่าลงชื่อไปในฐานะที่เป็นประธานกลุ่มเกษตรกร จำเลยจะถือเอาผลของสัญญาตามความคิดที่มีอยู่ในใจไม่ได้ ต้องผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมาในขณะทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยค้ำประกันเป็นการส่วนตัว ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยาน ดังนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลจึงรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษกว่าเช่า ย่อมมีผลเหนือกว่าสัญญาเช่าฉบับหลัง แม้เกิดเหตุเพลิงไหม้ก็ไม่ถือเป็นการบอกเลิกสัญญา
โจทก์ให้จำเลยรื้อห้องแถวเดิมออกแล้วสร้างอาคารตึกแถวขึ้นใหม่โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารตึกแถวดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาโดยถือเอาอายุฝ่ายผู้เช่าเป็นหลัก เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ต่อมาภายหลังโจทก์เรียกจำเลยมาทำสัญญาเช่าอาคารตึกแถวดังกล่าวมีกำหนด 1 ปี โดยมิได้มีเจตนาบังคับกันจริงจัง สัญญาเช่าฉบับหลังจึงไม่มีผลลบล้างสัญญาต่างตอบแทนที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยตามสัญญาเช่าฉบับหลัง จำเลยนำสืบว่าสัญญาที่แท้จริงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า (ฉบับหลัง)ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แม้ว่าบริเวณใกล้เคียงอาคารตึกแถวที่พิพาทจะถูกเพลิงไหม้และทางราชการประกาศเป็นเขตเพลิงไหม้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 เพื่อทำการปรับปรุงที่ดินให้เป็นถนน ซึ่งรวมอาคารตึกแถวพิพาทเข้าในเขตเพลิงไหม้ดังกล่าวด้วย แต่เมื่ออาคารตึกแถวพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนข้อที่อ้างว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของตึกแถวพิพาทถูกบังคับให้รื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทตามประกาศของทางราชการซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้นโจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยไม่ได้เพราะการที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการ มิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะดำเนินการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ก็ได้บัญญัติไว้แล้วว่ากรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการรับบุตรบุญธรรม และการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดกับโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะให้การจดทะเบียนการหย่าและหนังสือสัญญาหย่ามีผลผูกพันซึ่งโจทก์ก็ทราบถึงเจตนาอันแท้จริงของจำเลยดังกล่าวและโจทก์เองก็ไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดกับจำเลย การจดทะเบียนหย่าและหนังสือสัญญาหย่าตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 117 นั้น เป็นฎีกานอกประเด็นจากที่จำเลยให้การต่อสู้คดีจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ได้ยกบุตรผู้เยาว์ของโจทก์และจำเลยให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ก. สามีใหม่ของโจทก์ อำนาจปกครองบุตรจึงตกแก่ ก. ผู้รับบุตรบุญธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฟ้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องดังฎีกาของจำเลยหรือไม่นี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จำเลยก็หยิบยกขึ้นอ้างอิงปัญหานี้ในชั้นฎีกาได้ โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง ณ. บุตรผู้เยาว์แก่โจทก์เดือนละ10,000 บาท แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา ดังนี้ แม้ว่าต่อมาโจทก์จะได้ยกเด็กหญิง ณ. ให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ก. สามีใหม่ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า ก. จดทะเบียนรับเด็กหญิง ณ.เป็นบุตรบุญธรรมภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว อีกทั้งบุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ด้วย การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวหามีผลทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามจำเลยให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาหย่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ยอมชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือทวงถามถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างนิติกรรมโมฆียะต้องทำภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากพ้นกำหนดสิทธิฟ้องเพิกถอนจะหมดไป
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย อันมีผลให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 121 ซึ่งตามมาตรา 143 โจทก์ต้องบอกล้างภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้แต่ต้องไม่ล่วงไปถึงสิบปีนับแต่เมื่อได้ทำโมฆียะกรรมนั้นแล้วเมื่อข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า นับแต่วันทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทถึงวันฟ้องพ้นเวลาสิบปีแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจบอกล้างและฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ คำฟ้องของโจทก์อ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่สมัครใจขายที่พิพาทให้แก่จำเลย ลำพังแต่เหตุดังกล่าว หาเป็นเหตุให้นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการริบประกันและค่าปรับรายวันจากการผิดสัญญาซื้อขาย: การเลิกสัญญาและการปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาขายเครื่องอะไหล่อากาศยานแก่โจทก์รวม 6 ฉบับมีข้อตกลงว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนตามแต่ผู้ซื้อเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในเวลากำหนดนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในสัญญา ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้ส่งมอบสิ่งของถูกต้องครบถ้วน ในระหว่างที่มีการปรับ ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาและมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์แล้วการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกให้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันจากธนาคาร เป็นการแสดงเจตนาว่าโจทก์ยอมรับการบอกเลิกสัญญาของจำเลย อันมีผลให้สัญญาสิ้นสุดลงตามเจตนาของคู่สัญญา โจทก์มีสิทธิริบประกันได้โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยอีก
ตามสัญญาดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยส่งมอบสิ่งของล่าช้าหรือไม่ครบถ้วน นอกจากโจทก์จะมีสิทธิริบประกันแล้ว ยังมีสิทธิปรับประกันแล้ว ยังมีสิทธิปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งชองที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยส่งมอบครบถ้วนหรือวันเลิกสัญญา แต่ถ้าจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาเลยโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาและริบประกันแล้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันไม่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญา 3ฉบับแรกให้แก่โจทก์เลย โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันไม่ ส่วนสัญญา 3 ฉบับหลังเมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยยังส่งมอบสิ่งของไม่ครบถ้วน ต่อมาจำเลยส่งของตามสัญญาอีก แม้ว่าบางรายการจะมีคุณภาพไม่ตรงกับที่กำหนดในสัญญาหรือส่งมอบล่าช้าก็เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าขณะนั้นโจทก์มิได้มีเจตนาจะเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อต่อมามีการเลิกสัญญาทั้ง 3ฉบับ จำเลยจึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันบอกเลิกสัญญา.
ตามสัญญาดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยส่งมอบสิ่งของล่าช้าหรือไม่ครบถ้วน นอกจากโจทก์จะมีสิทธิริบประกันแล้ว ยังมีสิทธิปรับประกันแล้ว ยังมีสิทธิปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งชองที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยส่งมอบครบถ้วนหรือวันเลิกสัญญา แต่ถ้าจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาเลยโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาและริบประกันแล้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันไม่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญา 3ฉบับแรกให้แก่โจทก์เลย โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันไม่ ส่วนสัญญา 3 ฉบับหลังเมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยยังส่งมอบสิ่งของไม่ครบถ้วน ต่อมาจำเลยส่งของตามสัญญาอีก แม้ว่าบางรายการจะมีคุณภาพไม่ตรงกับที่กำหนดในสัญญาหรือส่งมอบล่าช้าก็เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าขณะนั้นโจทก์มิได้มีเจตนาจะเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อต่อมามีการเลิกสัญญาทั้ง 3ฉบับ จำเลยจึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันบอกเลิกสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการริบประกันและค่าปรับรายวันจากการผิดสัญญาซื้อขาย กรณีส่งมอบสินค้าไม่ครบถ้วนหรือคุณภาพไม่ตรงตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาขายเครื่องอะไหล่อากาศยานแก่โจทก์รวม 6 ฉบับมีข้อตกลงว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนตามแต่ผู้ซื้อเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในเวลากำหนดนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในสัญญา ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้ส่งมอบสิ่งของถูกต้องครบถ้วน ในระหว่างที่มีการปรับ ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาและมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์แล้วการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกให้ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันจากธนาคาร เป็นการแสดงเจตนาว่า โจทก์ยอมรับการบอกเลิกสัญญาของจำเลย อันมีผลให้สัญญาสิ้นสุดลงตามเจตนาของคู่สัญญา โจทก์มีสิทธิริบประกันได้โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยอีก
ตามสัญญาดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยส่งมอบสิ่งของล่าช้าหรือไม่ครบถ้วน นอกจากโจทก์จะมีสิทธิริบประกันแล้ว ยังมีสิทธิปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคา ราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยส่งมอบครบถ้วนหรือวันเลิกสัญญา แต่ถ้าจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาเลยโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาและริบประกันแล้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันไม่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญา 3 ฉบับแรกให้แก่โจทก์เลย โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันไม่ ส่วนสัญญา 3 ฉบับหลังเมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยยังส่งมอบสิ่งของไม่ครบถ้วน ต่อมาจำเลยส่งของตามสัญญาอีก แม้ว่าบางรายการจะมีคุณภาพไม่ตรงกับที่กำหนดในสัญญาหรือส่งมอบล่าช้าก็เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าขณะนั้นโจทก์มิได้มีเจตนาจะเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อต่อมามีการเลิกสัญญาทั้ง 3 ฉบับ จำเลยจึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญาดังกล่าว ในกรณีที่จำเลยส่งมอบสิ่งของล่าช้าหรือไม่ครบถ้วน นอกจากโจทก์จะมีสิทธิริบประกันแล้ว ยังมีสิทธิปรับจำเลยในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคา ราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยส่งมอบครบถ้วนหรือวันเลิกสัญญา แต่ถ้าจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาเลยโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาและริบประกันแล้ว แสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันไม่ ฉะนั้น เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญา 3 ฉบับแรกให้แก่โจทก์เลย โจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันไม่ ส่วนสัญญา 3 ฉบับหลังเมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยยังส่งมอบสิ่งของไม่ครบถ้วน ต่อมาจำเลยส่งของตามสัญญาอีก แม้ว่าบางรายการจะมีคุณภาพไม่ตรงกับที่กำหนดในสัญญาหรือส่งมอบล่าช้าก็เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าขณะนั้นโจทก์มิได้มีเจตนาจะเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อต่อมามีการเลิกสัญญาทั้ง 3 ฉบับ จำเลยจึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาโดยไม่ได้เป็นตัวแทนที่ถูกต้อง และผลผูกพันตามสัญญาที่แสดงเจตนา
จำเลยเป็นลูกจ้าง ม. ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารโจทก์สาขา ม.ต้องการใช้เงินแต่ไม่สามารถกู้เงินในนามตนเองได้จึงทำให้จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและออกตั๋วสัญญาใช้เงินไว้กับธนาคารโจทก์ เงินที่ได้รับมา ม.จะรับเงินนั้นไปเป็นประโยชน์เฉพาะตัวทั้งหมดโดยในใจจริงของจำเลยถือว่าทำนิติกรรมพิพาทแทน ม. โดยไม่มีเจตนาให้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ก็ตาม แต่ ม. ในฐานะผู้จัดการสาขาของโจทก์ไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 ความรู้ของ ม.จะถือเป็นความรู้ของโจทก์ด้วยไม่ได้ จำเลยต้องผูกพันตามที่ได้แสดงเจตนาออกมาตาม มาตรา 117 จำเลยต้องชำระเงินตาม สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดิน: สัญญาประนีประนอมมีผลผูกพัน ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนได้ภายใน 10 ปี ดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกันไม่ใช่สัญญาขายฝากหรือนิติกรรมอำพราง แต่ข้อกำหนดที่ให้ โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจากจำเลยได้ภายใน 10 ปี เป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง จึงมีผลผูกพันคู่กรณีใช้บังคับกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3670/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดิน: สัญญาประนีประนอมมีผลผูกพัน ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว โจทก์จำเลยทำสัญญาต่อกันอีกฉบับหนึ่งว่า โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดิน คืนได้ภายใน 10 ปีดังนี้ สัญญาที่ทำต่อกัน ไม่ใช่สัญญาขายฝาก หรือนิติกรรมอำพรางแต่ข้อกำหนดที่ให้ โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินคืนจาก จำเลยได้ภายใน 10 ปีเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456วรรคสองจึงมีผลผูกพัน คู่กรณีใช้บังคับกัน ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมขายฝากสมบูรณ์ ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง แม้ตกลงซื้อคืนภายหลังได้ โดยมีค่าปรับ
จำเลยมิได้ตกลงทำสัญญาจำนองตามความประสงค์ของโจทก์เพียงแต่ให้คำมั่นว่าให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนได้ภายหลังครบกำหนดเวลาในสัญญาขายฝากแล้วเท่านั้น โดยการซื้อคืนโจทก์จะต้องเพิ่มเงินชดเชยให้จำเลย ดังนั้น สัญญาจำนองจึงมิได้เกิดขึ้น ที่โจทก์ยินยอมทำสัญญาขายฝากที่พิพาทไว้แก่จำเลยโดยมีสัญญาผูกพันกันไว้อีกฉบับหนึ่งว่าโจทก์มีสิทธิซื้อที่พิพาทคืนหลังจากครบกำหนดสัญญาขายฝากแล้ว ถือว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากโดยความสมัครใจ มิใช่เกิดจากเจตนาลวงด้วยสมรู้กับจำเลยแต่อย่างใด นิติกรรมขายฝากจึงสมบูรณ์ บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ และ มิใช่นิติกรรมอำพราง