คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 186

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงหมดพยานกับการดำเนินกระบวนพิจารณา: ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณา
ทนายจำเลยแถลงหมดพยาน กรณีมิใช่ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อนคดีไปสืบพยานจำเลยต่อ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ถูกต้องแล้ว
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทนายจำเลยแถลงหมดพยานมิใช่แถลงขอเลื่อนคดี เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถูกต้องแล้ว แต่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่าเมื่อทนายจำเลยแถลงหมดพยานจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยต่อไป จึงไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์นั้น เมื่อคดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และจำเลยอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าผิดระเบียบ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากคำเบิกความตอบคำถามค้าน และองค์คณะผู้พิพากษาไม่ครบตามกฎหมาย
จำเลยนำสืบต่อสู้ว่า เช็คพิพาทจำเลยมิได้ลงวันที่สั่งจ่าย แต่โจทก์ร่วมเป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายในภายหลังและจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงที่โจทก์ร่วมเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่าเช็คพิพาทจำเลยกรอกข้อความและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายมาเรียบร้อยแล้ว คงมาลงวันที่ในเช็คดังกล่าวต่อหน้าโจทก์ร่วมโดยจำเลยเป็นผู้เขียนด้วยตนเอง คำเบิกความของโจทก์ร่วมดังกล่าวแม้โจทก์ร่วมมิได้เบิกความไว้แต่ต้น แต่ก็เป็นรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับหรือไม่ จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงแล้วหยิบยกมาวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227วรรคหนึ่ง มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานขัดต่อกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผู้พิพากษาลงนามคนเดียว เนื่องจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อีก 2 คน ซึ่งลงนามเป็นองค์คณะในต้นร่างคำพิพากษาย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นเสียก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษา แต่ผู้พิพากษา 2 คนนั้นได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้บันทึกต่อท้ายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อันเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำแถลงการณ์ไม่ส่งสำเนาไม่เสียผลกระทบต่อการพิจารณาคดี ศาลพิจารณาจากสำนวนทั้งหมด
คำแถลงการณ์เป็นเพียงคำเสนอของคู่ความเพื่อให้ศาลพิเคราะห์ข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงของฝ่ายตนเป็นการสรุปคดีในข้อที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตน ซึ่งจะต้องปรากฏอยู่ในท้องสำนวนเท่านั้น แม้คู่ความจะไม่ทำคำแถลงการณ์ศาลก็จะต้องพิจารณาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงตลอดท้องสำนวนอยู่แล้วทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 186 มิได้มีบทบังคับในกรณีที่คู่ความฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการส่งสำเนาคำแถลงการณ์คำแถลงการณ์ที่ยื่นฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายจึงหามีผลเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3260/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำแถลงการณ์ไม่ส่งสำเนาไม่กระทบกระบวนการยุติธรรม ศาลพิจารณาจากสำนวนทั้งหมด
คำแถลงการณ์เป็นเพียงคำเสนอของคู่ความเพื่อให้ศาลพิเคราะห์ข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงของฝ่ายตน เป็นการสรุปคดีในข้อที่เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตน ซึ่งจะต้องปรากฏอยู่ในท้องสำนวนเท่านั้น แม้คู่ความจะไม่ทำคำแถลงการณ์ศาลก็จะต้องพิจารณาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงตลอดท้องสำนวนอยู่แล้ว ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 186 มิได้มีบทบังคับในกรณีที่คู่ความฝ่าฝืนบทบัญญัติว่าด้วยการส่งสำเนาคำแถลงการณ์คำแถลงการณ์ที่ยื่นฝ่าฝืนกฎหมายโดยไม่ได้ส่งสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายจึงหามีผลเสียไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177-1178/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องและการฎีกา ศาลฎีกามิอาจแก้คำพิพากษาให้โจทก์ได้ประโยชน์เกินกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา
เดิม คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงิน 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้เพิ่มเติมฟ้องเฉพาะคำขอข้อนี้ว่า ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงินปีละ 750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คนละ750 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์มิได้ฎีกา เป็นแต่ยื่นคำแถลงการณ์ว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ไม่ชัดเจนขอให้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามที่โจทก์กล่าวในคำแถลงการณ์ จะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่ได้พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม หากโจทก์ไม่พอใจ ก็ชอบที่จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาย่อมจะแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177-1178/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องและการฎีกา ศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มค่าเสียหายจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้หากไม่ได้ฎีกา
เดิม คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงิน 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ. ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้เพิ่มเติมฟ้องเฉพาะคำขอข้อนี้ว่า ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงินปีละ 750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์. ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว.แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คนละ750 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ. โจทก์มิได้ฎีกา. เป็นแต่ยื่นคำแถลงการณ์ว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ไม่ชัดเจนขอให้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์. ดังนี้ การที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามที่โจทก์กล่าวในคำแถลงการณ์ จะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์. เป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น. แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่ได้พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม. หากโจทก์ไม่พอใจ. ก็ชอบที่จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์. แต่เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา. ศาลฎีกาย่อมจะแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177-1178/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอท้ายฟ้องเพิ่มเติมและการไม่ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่สามารถเพิ่มค่าเสียหายให้โจทก์ได้
เดิม คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงิน 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้เพิ่มเติมฟ้องเฉพาะคำขอข้อนี้ว่า ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดเป็นเงินปีละ 750 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์คนละ 750 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ. โจทก์มิได้ฎีกา เป็นแต่ยื่นคำแถลงการณ์ว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้ไม่ชัดเจนขอให้พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ปีละ 750 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ ดังนี้ การที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามที่โจทก์กล่าวในคำแถลงการณ์ จะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่ได้พิพากษาให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขเพิ่มเติม หากโจทก์ไม่พอใจ ก็ชอบที่จะฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อโจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาย่อมจะแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเช่าและการชำระค่าเช่าให้แก่บุคคลที่ไม่มีสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าโกดังของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าเช่าให้โจทก์ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2501 ถึง พฤษภาคม 2502 รวม 14 เดือน โดยจำเลยกลับไปชำระให้นางเยี่ยมศรีซึ่งไม่มีสิทธิ จำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่า เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2502 จำเลยได้รับหนังสือจากทนายของโจทก์แจ้งให้ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2502 เป็นต้นไป และห้ามชำระแก่นางเยี่ยมศรี ที่ชำระไปแล้วโจทก์จะเรียกจากนางเยี่ยมศรีเอง โจทก์มิได้แถลงรับในข้อนี้ เมื่อศาลนัดพร้อม และคู่ความไม่สืบพยาน แต่ตามคำแถลงการณ์ของโจทก์ก่อนศาลพิพากษาคดีโจทก์กล่าวถึงหนังสือของทนายโจทก์ดังที่จำเลยกล่าวอ้างนี้ด้วย ดังนี้ เป็นการรับข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว และโจทก์จะอ้างว่าตามหนังสือดังกล่าว โจทก์เสนอให้จำเลยชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2502 ให้โจทก์ แล้วโจทก์จะไม่เรียกร้องค่าเช่าก่อนนั้น (ค่าเช่า 14 เดือนที่ฟ้อง) จากจำเลย หาได้ไม่ เพราะไม่อาจถือว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องค่าเช่าเดือนก่อน ๆ นั้นจากจำเลยอีก โดยจะเรียเอาจากนางเยี่ยมศรีแทน เมื่อปรากฏตามหนังสือดังกล่าวโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเอากับจำเลยโดยจะเรียกคืนจากนางเยี่ยมศรีเองแล้ว
โจทก์จะอ้างว่าจำเลยมีหน้าที่ชำระค่าเช่านั้นแก่โจทก์ผู้ให้เช่า ที่จำเลยชำระให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิรับชำระไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นความรับผิดต่อโจทก์ แล้วจะกลับมารื้อฟื้นเรียกร้องเอาจากจำเลยอีกย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าเช่าและการชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิส่งผลให้โจทก์หมดสิทธิเรียกร้องจากจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าโกดังของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าเช่าให้โจทก์ตั้งแต่เดือนเมษายน 2501 ถึง พฤษภาคม 2502 รวม18 เดือน โดยจำเลยกลับไปชำระให้นางเยี่ยมศรีซึ่งไม่มีสิทธิ จำเลยให้การต่อสู้ด้วยว่า เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2502 จำเลยได้รับหนังสือจากทนายของโจทก์แจ้งให้ชำระค่าเช่าแก่โจทก์แต่เดือนมิถุนายน 2502 เป็นต้น และห้ามชำระแก่นางเยี่ยมศรีที่ชำระไปแล้วโจทก์จะเรียกจากนางเยี่ยมศรีเอง โจทก์มิได้แถลงรับในข้อนี้เมื่อศาลนัดพร้อม และคู่ความไม่สืบพยาน แต่ตามคำแถลงการณ์ของโจทก์ก่อนศาลพิพากษาคดีโจทก์กล่าวถึงหนังสือของทนายโจทก์ดังที่จำเลยกล่าวอ้างด้วย ดังนี้ เป็นการรับข้อเท็จจริงตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว และโจทก์จะอ้างว่าตามหนังสือดังกล่าวนี้ โจทก์เสนอให้จำเลยชำระค่าเช่าตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2502 ให้โจทก์ แล้วโจทก์จะไม่เรียกร้องค่าเช่าก่อนนั้น (ค่าเช่า 14 เดือนที่ฟ้อง) จากจำเลย หาได้ไม่ เพราะไม่อาจถือได้ว่ามีข้อความตั้งข้อแม้ไว้เช่นนั้นและถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องค่าเช่าเดือนก่อนๆ นั้นจากจำเลยอีก โดยจะเรียกเอาจากนางเยี่ยมศรีแทน เมื่อปรากฏตามหนังสือดังกล่าวว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเอากับจำเลยโดยจะเรียกคืนจากนางเยี่ยมศรีเองแล้วโจทก์จะอ้างว่าจำเลยมีหน้าที่ชำระค่าเช่านั้นแก่โจทก์ผู้ให้เช่า ที่จำเลยชำระให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิรับชำระไม่เป็นเหตุให้จำเลยพ้นความรับผิดต่อโจทก์ แล้วจะกลับมารื้อฟื้นเรียกร้องเอาจากจำเลยอีกย่อมไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ชายคู่หมั้น การหมั้นสมบูรณ์เมื่อสมรสแล้ว
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชายเฉยๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่จ.ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืมโดย พ. ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฏว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ. กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ. หากเป็นความจริงไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา168 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วยโดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา246,186 วรรคสอง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ก็รับไว้หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นได้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน
of 2