พบผลลัพธ์ทั้งหมด 94 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่ยินยอมของคู่สมรส และผลของการเพิกถอนต่อกรรมสิทธิ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 โดยอ้างว่า ส. ทำนิติกรรมยกที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ให้แก่จำเลยโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีเพียงว่าให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาท หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องโดยรวมที่โจทก์บรรยายว่านำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมหนังสือสัญญาให้ที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับจำเลย และให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทดังกล่าวประกอบด้วยแล้วแปลเจตนาของโจทก์ได้ว่าโจทก์ประสงค์ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์ในสภาพที่มีการเพิกถอนนิติกรรมการให้เรียบร้อยแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องและนิติกรรมรายนี้มีการทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ทำเป็นหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลก็ย่อมพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ทำตามแบบดังกล่าวได้ทั้งหมด และเมื่อนิติกรรมการให้ถูกเพิกถอนก็ย่อมทำให้ที่ดินพิพาทกลับตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์กับ ส. ดังเดิม จำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทอีกต่อไป จึงต้องส่งมอบที่ดินพร้อมโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ระหว่าง ส. กับจำเลยในสารบัญการจดทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินพิพาท และให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์ด้วยนั้นไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ในสารบัญการจดทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินสามารถดำเนินการได้เองตาม ป.ที่ดิน และที่ดินพิพาทย่อมกลับมีชื่อของ ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลของคำพิพากษา ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติโดยการแสดงเจตนาอีก จึงไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนการให้ในสารบัญการจดทะเบียนท้ายโฉนดที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินสามารถดำเนินการได้เองตาม ป.ที่ดิน และที่ดินพิพาทย่อมกลับมีชื่อของ ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลของคำพิพากษา ไม่มีสิ่งใดที่จะต้องบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติโดยการแสดงเจตนาอีก จึงไม่จำต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินให้คู่สมรสเป็นสินส่วนตัว และการยินยอมโดยปริยายต่อการนำเงินจากการขายทรัพย์สินไปใช้เลี้ยงดูบุตร
โจทก์ยกที่ดินพิพาททั้ง 5 แปลง ให้แก่จําเลย มิใช่ให้จําเลยถือครองที่ดินแทนโจทก์ และตามสำเนาโฉนดที่ดินระบุว่า โจทก์ได้รับที่ดินโฉนดเลขที่ 30376 ดังกล่าวมาโดยการรับโอนมรดก ที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ เมื่อโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินแก่จําเลยโดยไม่ได้ระบุว่า ให้เป็นสินสมรส ที่ดินจึงเป็นสินส่วนตัวของจําเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1471 (3) และ 1474 (2) จําเลยย่อมเป็นผู้มีอำนาจจัดการที่ดินดังกล่าวได้เอง ตามมาตรา 1473 ดังนั้น การที่จําเลยจดทะเบียนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บริษัท ผ. ไปในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559 นิติกรรมการขายที่ดินดังกล่าวจึงเป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยไม่จําต้องพิจารณาว่า โจทก์ได้ให้ความยินยอมในการขายที่ดินของจําเลยหรือไม่ ดังนั้น แม้โจทก์ได้จดทะเบียนให้ที่ดินดังกล่าวแก่จําเลยในระหว่างสมรส อันเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากัน ซึ่งฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะบอกล้างเสียในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ก็ตาม แต่เมื่อจําเลยได้ขายที่ดินไปเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ประกอบกับหลังจากปี 2559 โจทก็ไม่ได้ส่งค่าเลี้ยงดูบุตรให้แก่จําเลย เนื่องจากจําเลยผิดข้อตกลงเรื่องหย่า และโจทก์คิดว่าจําเลยมีเงินส่งเสียบุตร เพราะจําเลยขายที่ดินที่โจทก์ยกให้ไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ตกลงยินยอมโดยปริยายให้นําเงินที่ได้จากการขายที่ดินเป็นค่าใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูจําเลยและบุตรของโจทก์ เฉพาะอย่างยิ่งบุตรโจทก์กําลังศึกษาอยู่ที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงไม่เป็นกรณีที่โจทก์จะฟ้องขอให้จําเลยคืนเงินที่ได้รับจากการขายที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4456/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีอาญา และการแก้ไขโทษฐานข่มขืนกระทำชำเรา
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดหลายกระทงรวมในฟ้องเดียวกัน ซึ่งแต่ละกระทงเป็นข้อหาแยกจากข้อหาอื่นได้ และศาลอาจสั่งให้แยกสำนวนพิจารณาความผิดกระทงใดต่างหากก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 160 เมื่อต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นเนื่องจากเห็นว่าผู้ร้องและผู้เสียหายที่ 2 ถอนคำร้องทุกข์ และเป็นความผิดอันยอมความได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ถือได้ว่าเป็นคำสั่งที่ทำให้ประเด็นแห่งคดีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นซึ่งแยกต่างหากจากข้อหาอื่นได้นั้นเสร็จสำนวนแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่จำหน่ายคดีความผิดฐานดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาคำพิพากษาเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ต้องห้ามฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำหนดขั้นต่ำ 4 ปี ขั้นสูง 5 ปี จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบากว่าที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษกำหนด ฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 182/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การฎีกาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งหรือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วแต่กรณี มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่ในกรณีที่เป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 180 ต้องห้ามฎีกา" ดังนั้นฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย พิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสและผลกระทบต่อบุคคลภายนอก
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ท. สามีชอบด้วยกฎหมายของโจทก์จดทะเบียนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ และในวันเดียวกันจำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ท. จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและมีคำขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่าง ท. กับจำเลยที่ 1 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในการจัดการสินสมรสของสามีภริยา ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) บัญญัติให้สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง และหากสามีหรือภริยาจัดการสินสมรสไปแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1480 บัญญัติให้อำนาจแก่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ แต่การฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมในกรณีนี้เป็นเพียงการขอให้เพิกถอนการจัดการสินสมรสที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจัดการไปโดยปราศจากอำนาจเพื่อให้ทรัพย์สินนั้นกลับคืนมาเป็นสินสมรสตามเดิม ทั้งยังเป็นการดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนรักษาสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1477 ซึ่งบัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิทำได้ ดังนั้น แม้โจทก์มิได้ฟ้องทายาทโดยธรรมหรือผู้จัดการมรดกของ ท. สามีโจทก์ที่ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยด้วย ก็หาทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3143/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง ยอมความชดใช้ค่าเสียหาย สิทธิฟ้องระงับ รอการลงโทษจำคุก
หลังจากศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษา จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าได้วางเงินเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 70,000 บาท ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วมแถลงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 วางเงินชำระค่าเสียหายแล้ว โจทก์ร่วมก็ไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและอาญาต่อจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ตามรายงานกระบวนพิจารณาวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ถือได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่นซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือใช้ราคาแทนแก่โจทก์ร่วมตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3122/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: สิทธิการเช่าที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส แม้จะมีการโอนสิทธิให้บุคคลภายนอก
การที่มารดาจำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ให้ เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการให้โดยเป็นหนังสือระบุว่ายกให้แก่ผู้ใด และหนังสือยกให้นั้นระบุว่าเป็นสินสมรส การจะฟังว่ามารดาจำเลยที่ 1 ยกให้โจทก์หรือจำเลยที่ 1 ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมไม่อาจรับฟังได้โดยถนัดนัก แต่สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มาในระหว่างสมรส และกรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ป.พ.พ. มาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติว่า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส เช่นนี้จึงต้องฟังว่า สิทธิการเช่าที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้แบ่งสินสมรสและคืนสินส่วนตัวคือ สิทธิการเช่าพิพาทแก่โจทก์และ ธ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์สมคบกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลหลอกลวงจำเลยที่ 1 ให้ทำบันทึกข้อตกลง และไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่านข้อความก่อนลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 ยินยอมทำเอกสารดังกล่าวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้คบชู้กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลเป็นการแสดงเจตนาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมายต่อไป เช่นนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 1 ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเช่าพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างการแสดงเจตนาที่จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามที่ให้การว่าถูกโจทก์กับพวกฉ้อฉลหลอกลวงก็ตาม แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธว่าบันทึกข้อตกลงไม่มีผลบังคับแก่จำเลย เท่ากับเป็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงเป็นสัญญาระหว่างสมรสและหยิบยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ และถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 มีประเด็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงแล้ว
สิทธิการเช่าพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องหย่าขาดจากกัน คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องการแบ่งสินสมรส ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์กับ ธ. ร่วมกันฉ้อฉล และมีผลผูกพันสินสมรสเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 เพียงครึ่งหนึ่งที่ยกให้โจทก์และ ธ. อีกครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสในส่วนของโจทก์ และส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้ ธ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นมีลักษณะเป็นการให้ เมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสที่ทำไว้กับโจทก์แล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลให้สิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้แก่โจทก์กลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน สิทธิการเช่าพิพาทดังกล่าวต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งหนึ่ง โดยส่วนของจำเลยที่ 1 ครึ่งหนึ่งได้ตกเป็นสิทธิของ ธ. ไปแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1 และ ธ. มีส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสี่ของสิทธิการเช่าพิพาท กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องของการปรับบทกฎหมายในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งสินสมรส ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่คู่ความนำมาสืบ มิใช่เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันจะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นอย่างใดไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้แบ่งสินสมรสและคืนสินส่วนตัวคือ สิทธิการเช่าพิพาทแก่โจทก์และ ธ. ซึ่งเป็นบุตรโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามบันทึกข้อตกลง จำเลยที่ 1 ให้การว่า โจทก์สมคบกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลหลอกลวงจำเลยที่ 1 ให้ทำบันทึกข้อตกลง และไม่ได้ให้จำเลยที่ 1 อ่านข้อความก่อนลงลายมือชื่อ จำเลยที่ 1 ยินยอมทำเอกสารดังกล่าวเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้คบชู้กับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลเป็นการแสดงเจตนาที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมายต่อไป เช่นนี้ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 1 ย่อมมีประเด็นข้อพิพาทว่า บันทึกข้อตกลงในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิการเช่าพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 1 ยกสิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์นั้นเป็นสัญญาระหว่างสมรสและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 หรือไม่ ทั้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างตามกฎหมาย ซึ่งหมายถึงจำเลยที่ 1 จะดำเนินการบอกล้างการแสดงเจตนาที่จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามที่ให้การว่าถูกโจทก์กับพวกฉ้อฉลหลอกลวงก็ตาม แต่คำให้การของจำเลยที่ 1 ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นคำให้การที่ปฏิเสธว่าบันทึกข้อตกลงไม่มีผลบังคับแก่จำเลย เท่ากับเป็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงเป็นสัญญาระหว่างสมรสและหยิบยกข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสแล้ว หาได้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ และถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 มีประเด็นการบอกล้างบันทึกข้อตกลงแล้ว
สิทธิการเช่าพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องหย่าขาดจากกัน คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเรื่องการแบ่งสินสมรส ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยว่า บันทึกข้อตกลงที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ถูกโจทก์กับ ธ. ร่วมกันฉ้อฉล และมีผลผูกพันสินสมรสเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 เพียงครึ่งหนึ่งที่ยกให้โจทก์และ ธ. อีกครึ่งหนึ่งเป็นสินสมรสในส่วนของโจทก์ และส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้ ธ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นมีลักษณะเป็นการให้ เมื่อจำเลยที่ 1 บอกล้างสัญญาระหว่างสมรสที่ทำไว้กับโจทก์แล้วเช่นนี้ ย่อมมีผลให้สิทธิการเช่าพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ยกให้แก่โจทก์กลับมาเป็นสินสมรสดังเดิม เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกัน สิทธิการเช่าพิพาทดังกล่าวต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละครึ่งหนึ่ง โดยส่วนของจำเลยที่ 1 ครึ่งหนึ่งได้ตกเป็นสิทธิของ ธ. ไปแล้ว เท่ากับจำเลยที่ 1 และ ธ. มีส่วนแบ่งคนละหนึ่งในสี่ของสิทธิการเช่าพิพาท กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องของการปรับบทกฎหมายในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและการแบ่งสินสมรส ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานอันเป็นประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีที่คู่ความนำมาสืบ มิใช่เป็นการวินิจฉัยถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันจะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็นอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของชำรุดบกพร่อง & การคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบัญญัติหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละสามต่อปี" และมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา 224 หนี้เงินนั้น ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี..." ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 และ พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 7 บัญญัติให้ใช้บทบัญญัติตามมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ก. นี้แก่การคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระตั้งแต่วันที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยของเงินที่ได้รับไว้นับแต่วันที่ 27 เมษายน 2560 ต่อมาจำเลยได้ทวงถามให้โจทก์ชำระเงินคืน และวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 จำเลยฟ้องแย้งขอเรียกคืนเงินสำรองและค่าเสียหาย จึงมีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดที่ถึงกำหนดเวลาชำระก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับ กรณีต้องนำบทบัญญัติมาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับ โดยจำเลยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละสามต่อปีตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปีเท่ากับร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 อันเป็นวันที่ พ.ร.ก. นี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่จำเลยยังคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างช่วงเวลาก่อนที่ พ.ร.ก. นี้ใช้บังคับในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการคิดดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลสามารถยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราจนถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาแก้เป็นประหารชีวิต ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
ความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงและเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 277 ตรี (2) เป็นความผิดที่เป็นผลมาจากการกระทำความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิง ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคสาม (เดิม) ทำให้ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษหนักขึ้น ไม่ว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นหรือไม่ก็ตาม ผลของการกระทำความผิดนั้นซึ่งได้แก่ความตายของผู้ถูกกระทำจึงต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้ ตาม ป.อ. มาตรา 63
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันให้ผู้ตายเสพ 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (ยาอี) คีตามีน (ยาเค) และไนเมตาซีแพม (ยาไฟว์) เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ผู้ตายมึนเมาเคลิบเคลิ้มหรือประสาทหลอน จนอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนต่อการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ ย่อมเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) และเป็นการกระทำที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ไม่อาจแยกออกจากกันเป็นคนละส่วนได้ และการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายด้วยการนำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายของผู้ตายจนเกินขนาด แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่สภาพร่างกายของผู้ตายอ่อนแออย่างมากจากพิษของสารเสพติดย่อมเรียกได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้ตายทั้งการใช้กำลังประทุษร้ายและการข่มขืนกระทำชำเราด้วยความรุนแรงเกินกว่าที่ร่างกายของผู้ตายจะทนทานได้ จึงต้องถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงและเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้จากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันให้ผู้ตายเสพ 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน (ยาอี) คีตามีน (ยาเค) และไนเมตาซีแพม (ยาไฟว์) เข้าสู่ร่างกายเพื่อให้ผู้ตายมึนเมาเคลิบเคลิ้มหรือประสาทหลอน จนอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนต่อการกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ได้ ย่อมเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) และเป็นการกระทำที่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ในการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตาย ไม่อาจแยกออกจากกันเป็นคนละส่วนได้ และการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายผู้ตายด้วยการนำสารเสพติดเข้าสู่ร่างกายของผู้ตายจนเกินขนาด แล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันข่มขืนกระทำชำเราผู้ตายในขณะที่สภาพร่างกายของผู้ตายอ่อนแออย่างมากจากพิษของสารเสพติดย่อมเรียกได้ว่าเป็นการกระทำต่อผู้ตายทั้งการใช้กำลังประทุษร้ายและการข่มขืนกระทำชำเราด้วยความรุนแรงเกินกว่าที่ร่างกายของผู้ตายจะทนทานได้ จึงต้องถือว่าความตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงและเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้จากการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ขัดกับการรับสารภาพเดิม และพิจารณาโทษจำเลยต่างกันตามพฤติการณ์
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่เมื่อความผิดดังกล่าวจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามฟ้องโจทก์ การที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่ให้การรับสารภาพและเป็นฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 47 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย