พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนขายฝากสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา ทำให้ภริยามีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้ หากจำเลยไม่สุจริต
การที่ อ. สามีโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสให้แก่จำเลย เป็นกรณีที่ อ. จัดการสินสมรสซึ่งโดยปกติต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479 เมื่อ อ. จดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนขายฝากที่ดินพิพาทได้ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่รู้เรื่องการกระทำดังกล่าวหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนขายฝาก เว้นแต่ขณะที่ทำนิติกรรมนั้นจำเลยได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม มาตรา 1480
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: การให้โดยเสน่หา, พินัยกรรม, และสิทธิในการติดตามทรัพย์สิน
แม้การที่ ร. ให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรส โดยเสน่หาแก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(5) และ 1479 และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เรื่องที่ ร. จดทะเบียนการให้ที่ดินแก่จำเลยหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนการให้ตาม มาตรา 1480 ได้ก็ตาม แต่โจทก์ยังมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังนี้ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่และจำเลยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เนื่องจากได้รับยกให้จาก ร. จำเลยจึงไม่มีหน้าที่แบ่งสินสมรสดังกล่าวของ ร. ให้โจทก์ การทำพินัยกรรม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง แม้ ร.มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่างร.กับโจทก์ที่ร.มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่ ร. ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้ การที่ ร. ทำพินัยกรรมยกบ้านสินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลยจึงไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรม ของ ร. ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์สินสมรสและผลของการทำพินัยกรรมที่เกินสิทธิ
แม้การที่ ร.ให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรส โดยเสน่หาแก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมเป็นหนังสือของโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (5) และ 1479 และโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ดังกล่าวภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เรื่องที่ ร.จดทะเบียนการให้ที่ดินแก่จำเลยหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันจดทะเบียนการให้ตาม มาตรา 1480 ได้ก็ตาม แต่โจทก์ยังมิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนการให้ ดังนี้ ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่และจำเลยครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เนื่องจากได้รับยกให้จาก ร.จำเลยจึงไม่มีหน้าที่แบ่งสินสมรสดังกล่าวของ ร.ให้โจทก์
การทำพินัยกรรม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง
แม้ ร.มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่างร.กับโจทก์ที่ ร.มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่ ร.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้ การที่ ร.ทำพินัยกรรมยกบ้านสินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลยจึงไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของ ร. ก่อน
การทำพินัยกรรม มิใช่เป็นการจัดการสินสมรสที่จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง
แม้ ร.มีสิทธิทำพินัยกรรมยกบ้านพิพาทที่เป็นสินสมรสระหว่างร.กับโจทก์ที่ ร.มีกรรมสิทธิ์อยู่ครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476วรรคสอง ได้ก็ตาม แต่ ร.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกกรรมสิทธิ์ในบ้านส่วนของโจทก์อีกครึ่งหนึ่งให้แก่จำเลยได้ การที่ ร.ทำพินัยกรรมยกบ้านสินสมรสทั้งหลังให้แก่จำเลยจึงไม่มีผลผูกพันส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ในฐานะเป็นเจ้าของมีสิทธิฟ้องติดตามเอาคืนทรัพย์ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ โดยไม่มีกำหนดเวลาการใช้สิทธิ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ โดยโจทก์ไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมของ ร. ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินสมรสต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สมรส หากไม่มีหลักฐานแสดงความยินยอม ศาลไม่อาจรับฟังพยานบุคคลแทนได้
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบหลักฐานหนังสือยินยอม การสืบพยานบุคคลแทนหนังสือยินยอมขัดต่อกฎหมาย
โจทก์มิได้นำสืบหนังสือยินยอมของสามีจำเลยที่ให้จำเลยขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ แต่กลับสืบพยานบุคคลแทนหนังสือให้ความยินยอม และการที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยมีหนังสือยินยอมของสามีมาด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงว่าสามีจำเลยได้ให้ความยินยอมนั่นเอง จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้รับความยินยอมจากสามีให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3234/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแลกเปลี่ยนที่ดิน สินสมรส และผลผูกพันของผู้จัดการมรดก
จำเลยร่วมซึ่งเป็นสามีของ ย. ได้ลงชื่อเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดิน และทำบันทึกข้อตกลงสามฝ่ายยินยอมให้ ย. โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ถือว่าจำเลยร่วมยินยอมให้ ย. แลกเปลี่ยนที่ดินที่เป็นสินสมรสกับโจทก์ เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดินของตนให้แก่จำเลยตามข้อตกลงตรงตามความประสงค์ของ ย.แล้ว สัญญาหรือข้อตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างโจทก์กับ ย.จึงมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 519ประกอบด้วย มาตรา 456 วรรคสอง จำเลยร่วมในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย.จึงต้องโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของย. ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกองมรดกจากสัญญาค้ำประกันและมอบสิทธิในเงินฝากเพื่อประกันหนี้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระและกำหนดเวลาชำระกับหากผิดนัดให้ชำระกันอย่างไรไว้ให้สามารถเข้าใจได้ ส่วนดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เมื่อใด เกินกฎหมายหรือไม่ เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม คดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่จำเลยที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยขอเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ คดีดังกล่าวจำเลยที่ 2 ฟ้องในฐานะส่วนตัว แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยาจำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นการส่วนตัวโจทก์ในคดีแพ่งดังกล่าวกับจำเลยที่ 2 ในคดีนี้มิได้อยู่ในฐานะเดียวกัน ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา มิใช่คู่ความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำและไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ บันทึกการจำนำเงินฝากประจำ ระบุว่าภริยาจำเลยที่ 2 จำนำเงินฝากประจำของตนไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและ/หรือจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เป็นการจำนำเงินฝากเพราะเงินที่ภริยาจำเลยที่ 2ฝากประจำไว้ดังกล่าวตกแก่ผู้รับฝากไปแล้ว การที่ภริยาจำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากเงินฝากประจำดังกล่าวมอบให้ไว้แก่โจทก์จึงมิใช่การจำนำเงินฝาก แต่เป็นการตกลงมอบสิทธิที่จะได้รับเงินฝากคืนให้ไว้แก่โจทก์เพื่อประกันหนี้ของตนและของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสัญญาต่างหากจากสัญญาค้ำประกันที่ภริยาจำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ อันเป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 สัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลนี้ผูกพันตัวภริยาจำเลยที่ 2 มิได้เกี่ยวกับสินสมรส จึงมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1476,1477,1480 ที่จำเลยที่ 2จะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 จำเลยที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของภริยา จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ภริยาทำไว้ก่อนสมรส ไม่ใช่การจัดการสินสมรส
แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า สัญญาค้ำประกันที่ น.ภริยาโจทก์ทำไว้แก่จำเลยเป็นนิติกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโจทก์ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันที่ น.ทำไว้แก่จำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในฟ้องและจากการนำสืบของโจทก์จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิอุทธรณ์เป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันที่น.ยอมผูกพันตนต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของ ส.เพื่อชำระหนี้เมื่อส.ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เป็นสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680ซึ่งผูกพันตัว น.มิได้เกี่ยวกับสินสมรสและมิใช่เป็นการจัดการสินสมรสตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่มาตรา 1476,1477 ที่โจทก์ซึ่งเป็นสามีจะต้องให้ความยินยอมร่วมกันเป็นหนังสือตามมาตรา 1479 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาค้ำประกันดังกล่าวตามมาตรา 1480 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินอัตรา, และหนังสือยินยอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์
โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย, และความยินยอมในการฟ้องคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224