คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1479

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1440/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมกับคู่ความที่ไม่ใช่โจทก์โดยตรง และการครอบครองปรปักษ์
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องในที่ดินของโจทก์ จำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกอันจะกล่าวอ้างพิสูจน์สิทธิใหม่ และพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การอุทธรณ์คำสั่งนี้และฎีกาต่อมา จึงเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ตามบัญญัติไว้ในตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาท
สามีเคยให้ความยินยอมแก่ภริยาต่อสู้คดีกับจำเลย และให้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับที่พิพาทมาแล้ว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าภริยามีสิทธิรับมรดกที่ดินเท่าที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าที่พิพาทอยู่นอกพินัยกรรม สามีจะรื้อฟื้นมาฟ้องจำเลยอีกว่าที่พิพาทเป็นของสามี ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ มิใช่ที่ดินของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมหาได้ไม่ เพราะสามีต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับภริยา คำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันสามีด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 699/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากสินสมรสหลังบอกล้างสัญญาค้ำประกัน: ต้องแยกสินสมรsk่อนยึด
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นสามีได้บอกล้างสัญญาค้ำประกันซึ่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาทำไว้กับโจทก์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สัญญาค้ำประกันนั้นในส่วนที่ผูกพันสินบริคณห์ตกเป็นโมฆะ แต่ยังสมบูรณ์อยู่เฉพาะในส่วนที่ผูกพันสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โจทก์จะต้องบังคับชำระเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2ไม่มีหรือมีไม่พอ และโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้เอาจากส่วนของจำเลยที่ 2 ในสินบริคณห์ โจทก์ต้องร้องต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องเสียก่อนแล้วจึงนำยึดส่วนของจำเลยที่ 2 เพื่อชำระหนี้โจทก์จะนำยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากสินสมรสหลังบอกล้างสัญญาค้ำประกัน: ต้องแยกสินส่วนตัวก่อนยึด
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นสามีได้บอกล้างสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้เป็นภริยาทำไว้กับโจทก์แล้ว ย่อมมีผลทำให้สัญญาค้ำประกันนั้นในส่วนที่ผูกพันสินบริคณห์ตกเป็นโมฆะ แต่ยังสมบูรณ์อยู่เฉพาะในส่วนที่ผูกพันสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 โจทก์จะต้องบังคับชำระเอาจากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากสินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 ไม่มี หรือมีไม่พอ และโจทก์ประสงค์จะบังคับชำระหนี้เอาจากส่วนของจำเลยที่ 2 ในสินบริคณห์ โจทก์ต้องร้องต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้ร้องเสียก่อน แล้วจึงนำยึดส่วนของจำเลยที่ 2 เพื่อชำระหนี้ โจทก์จะนำยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของจำเลยที่ 2ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์และหนี้ส่วนตัว: การยึดเรือนพิพาทเมื่อสามีมิได้ยินยอม
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต. และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว. หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์. โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่. เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส.
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม. แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว. โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน. โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน. แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์-หนี้ส่วนตัว: ยึดเรือนพิพาทไม่ได้หากผู้ร้องไม่ยินยอมและบอกล้างโมฆียะกรรม
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่ เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์ vs. หนี้ส่วนตัว: การยึดทรัพย์ชำระหนี้ต้องแยกส่วนก่อน
ถ้าหากจำเลยกู้เงินโจทก์โดยผู้ร้องผู้เป็นสามีมิได้ยินยอมอนุญาต และได้บอกล้างโมฆียะกรรมให้โจทก์ทราบจริงแล้ว หนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ก็ย่อมไม่ผูกพันเรือนพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ โจทก์จะนำยึดเรือนพิพาทหาได้ไม่ เว้นแต่หนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสมรส
แม้จำเลยผู้เป็นภริยาจะต้องรับผิดในหนี้เงินกู้เป็นส่วนตัวก็ตาม แต่ถ้าหากเรือนพิพาทเป็นสินบริคณห์แล้ว โจทก์ก็จะยึดเรือนพิพาทเพื่อขายชำระหนี้ทั้งหมดไม่ได้เช่นกัน โจทก์จะต้องดำเนินการขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ส่วนของจำเลยออกชำระหนี้โจทก์เสียก่อน แล้วจึงจะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: อำนาจร้องขัดทรัพย์ของผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงิน มิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479 โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม สินสมรส และการยึดทรัพย์: ผู้ไม่รู้เห็นการก่อหนี้มีสิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตน
ผู้ร้องร้องว่า การที่จำเลยไปทำนิติกรรมกู้ยืมเงินโจทก์ ผู้ร้องมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย และมิได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืมรายนี้ และผู้ร้องได้บอกล้างนิติกรรมรายนี้แล้ว ผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่าหนี้รายนี้ไม่ใช่หนี้ร่วม และที่โจทก์ให้การคัดค้าน โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งหรือกล่าวแก้ว่าผู้ร้องได้ร่วมรู้เห็นในการกู้ยืมรายนี้ หรือกล่าวแก้ว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดร่วมด้วย ดังนั้น หนี้รายนี้จะเป็นหนี้ร่วมหรือไม่ ทั้งสองฝ่ายหาได้ยกขึ้นมาเป็นข้อกล่าวอ้างหรือเป็นข้อต่อสู้แต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัย
ผู้ร้องอ้างว่า หนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ร้องมิได้รู้เห็นและไม่ได้ให้สัตยาบันรับรองการกู้ยืม โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านว่าผู้ร้องได้รู้เห็นยินยอมด้วย โจทก์เป็นแต่อ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นทรัพย์ที่เป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นเจ้าของร่วมกัน ผู้ร้องมีแต่สิทธิที่จะขอกันส่วนของตน จึงต้องฟังว่าหนี้รายนี้ผู้ร้องมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยตามที่ผู้ร้องอ้างนั้น เพราะโจทก์มิได้ปฏิเสธข้อที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง
นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมที่เกี่ยวกับหนี้เงินมิใช่นิติกรรมที่จำเลยทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และมาตรา 138 แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจะได้บอกล้างแล้ว จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และมาตรา 1479โดยเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบังคับเอาชำระหนี้ด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายภริยาผู้ก่อหนี้นั้นก่อนได้ เมื่อไม่พอก็เอาชำระหนี้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของฝ่ายภริยาต่อไปอีกได้
โจทก์ยึดสินบริคณห์คือสินสมรสส่วนของจำเลย ผู้ร้องซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมหามีอำนาจร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 ไม่ คงมีแต่สิทธิร้องขอแบ่งแยกส่วนของตนออกตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบกับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1483 (อ้างฎีกาที่ 541/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส-การบอกล้างนิติกรรมกู้ยืม-สิทธิยึดทรัพย์-การกันส่วนของสินสมรส
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะเพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่า ทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาโจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าตนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินของภริยาโดยไม่ผูกพันสินบริคณห์ และสิทธิยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อชำระหนี้
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงินจึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.
of 5