พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์สินสมรส/สินเดิม และขอบเขตความรับผิดในหนี้สินของสามีภรรยา
การร้องขัดทรัพย์โดยกล่าวรวมๆ ว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นสินบริคณห์นั้นจึงอาจเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จึงขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไม่ได้(ตามฎีกาที่ 928/2503) แต่ถ้าผู้ร้อง (ภรรยา)ร้องขัดทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินเดิมของผู้ร้องและมิใช่หนี้ร่วมมีฎีกาที่ 1250/2493 ว่า หนี้สินซึ่งจำเลยผู้เป็นสามีก่อขึ้นในระหว่างเป็นสามีภรรยากันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ภรรยาไม่ต้องรับผิดร่วมด้วยเว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วมดังนี้ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงกันอยู่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินเดิมของฝ่ายใด และหนี้เป็นหนี้ร่วมหรือไม่เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์ สินสมรส/สินเดิม และหนี้ร่วม: ศาลต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
การร้องขัดทรัพย์โดยกล่าวรวม ๆ ว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นสินบริคณห์ นั้น จึงอาจเป็นสินสมรสซึ่งจำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย จึงขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดไม่ได้ (ตามฎีกาที่ 328/2503) แต่ถ้าผู้ร้อง(ภรรยา) ร้องขัดทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินเดิมของผู้ร้อง และมิใช่หนี้ร่วม มีฎีกาที่ 1250/2493 ว่า หนี้สินซึ่งจำเลยผู้เป็นสามีก่อขึ้นในระหว่างเป็นสามีภรรยากันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ภรรยาไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย เว้นแต่จะเป็นหนี้ร่วม ดังนี้ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงกันอยู่ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินเดิมของฝ่ายใด และหนี้เป็นหนี้ร่วมหรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยาน ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่าง ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์: การบังคับยึดทรัพย์สินเดิมของภริยาเพื่อชำระหนี้สามีที่มิใช่หนี้ร่วม
แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นภริยาของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หนี้ที่จำเลยหรือผู้ร้องก่อขึ้นเป็นส่วนตัวฝ่ายเดียวก็ไม่อาจเอาใช้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของอีกฝ่ายหนึ่งได้(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479) จะเอาใช้จากสินบริคณห์ของทั้งสองฝ่ายได้ก็ต่อเมื่อเป็นหนี้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน (มาตรา 1480)
จะถือว่าเป็นสินบริคณห์แล้ว เจ้าหนี้ของจำเลยจะนำยึดเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เสมอไปหาได้ไม่ ถ้าเป็นสินเดิมของผู้ร้องแล้วโจทก์จะนำยึดมาขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เกิดแตกร้าวกันอย่างรุนแรงจนแยกกันต่างคนต่างอยู่กันมาหลายปีแล้ว แยกกันแล้วผู้ร้องได้สามีใหม่โดยจดทะเบียนสมรส จำเลยได้ฟ้องเพิกถอนการสมรสนั้นและในระหว่างนั้นผู้ร้องได้โอนขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องให้แก่ผู้อื่นจำเลยก็จ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่จำเลยแต่ฝ่ายเดียว เพราะจำเลยพยายามอ้างและหวังอยู่ว่าที่พิพาทนี้เป็นสินสมรสซึ่งจำเลยอาจมีส่วนแบ่งด้วย นอกจากนี้จำเลยกับผู้ร้องยังเป็นความฟ้องร้องกันเรื่องอื่นอีก ดังนี้ ค่าจ้างโจทก์ว่าความคดีขอเพิกถอนการโอนนั้น กับเงินที่จำเลยกู้โจทก์มาใช้จ่ายในการเป็นความกับผู้ร้องย่อมไม่มีลักษณะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482
หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ตามความหมายในมาตรา 1482(2) หมายถึงหนี้ที่เกี่ยวพันอยู่กับตัวทรัพย์ที่เป็นสินบริคณห์นั้นเอง เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวทรัพย์นั้นเป็นต้น
จะถือว่าเป็นสินบริคณห์แล้ว เจ้าหนี้ของจำเลยจะนำยึดเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เสมอไปหาได้ไม่ ถ้าเป็นสินเดิมของผู้ร้องแล้วโจทก์จะนำยึดมาขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เกิดแตกร้าวกันอย่างรุนแรงจนแยกกันต่างคนต่างอยู่กันมาหลายปีแล้ว แยกกันแล้วผู้ร้องได้สามีใหม่โดยจดทะเบียนสมรส จำเลยได้ฟ้องเพิกถอนการสมรสนั้นและในระหว่างนั้นผู้ร้องได้โอนขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องให้แก่ผู้อื่นจำเลยก็จ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่จำเลยแต่ฝ่ายเดียว เพราะจำเลยพยายามอ้างและหวังอยู่ว่าที่พิพาทนี้เป็นสินสมรสซึ่งจำเลยอาจมีส่วนแบ่งด้วย นอกจากนี้จำเลยกับผู้ร้องยังเป็นความฟ้องร้องกันเรื่องอื่นอีก ดังนี้ ค่าจ้างโจทก์ว่าความคดีขอเพิกถอนการโอนนั้น กับเงินที่จำเลยกู้โจทก์มาใช้จ่ายในการเป็นความกับผู้ร้องย่อมไม่มีลักษณะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482
หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ตามความหมายในมาตรา 1482(2) หมายถึงหนี้ที่เกี่ยวพันอยู่กับตัวทรัพย์ที่เป็นสินบริคณห์นั้นเอง เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวทรัพย์นั้นเป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386-387/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยา: การบังคับชำระหนี้จากสินส่วนตัวและสินบริคณห์ และความรับผิดส่วนตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 ที่บัญญัติว่า ถ้าสามีภริยาต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกัน ให้ใช้จากสินบริคหณ์และสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายนั้น มิได้หมายความว่า สามีหรือภริยาไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนอกเหนือไปจากทรัพย์สินที่ระบุไว้นั้น แต่บัญญัติไว้เพื่อให้เห็นว่า ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ การชำระหนี้ย่อมบังคับเอาได้จากทรัพย์ทั้งสองประเภท ผิดกับมาตรา 1479 ซึ่งหนี้ส่วนตัวจะเอาได้จากสินส่วนตัว ต่อไม่พอจึงให้ใช้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386-387/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยา: การบังคับชำระหนี้จากสินส่วนตัวและสินบริคณห์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 ที่บัญญัติว่า ถ้าสามีภริยาต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกัน ให้ใช้จากสินบริคณฑ์และสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายนั้นมิได้หมายความว่า สามีหรือภริยาไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวนอกเหนือไปจากทรัพย์สินที่ระบุไว้นั้นแต่บัญญัติไว้เพื่อให้เห็นว่าในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ การชำระหนี้ย่อมบังคับเอาได้จากทรัพย์ทั้งสองประเภท ผิดกับมาตรา 1479 ซึ่งหนี้ส่วนตัวจะเอาได้จากสินส่วนตัวต่อไม่พอ จึงให้ใช้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของลูกหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีแบ่งสินบริคณห์เดิม
เติมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัว ของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว และว่า ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมากจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดิน สองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกัน
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีขอแบ่งสินทรัพย์
เดิมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากินแล้ว และว่าที่ดิน 2 แปลง ที่ โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมาจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดินสองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกันโดยในคดีแรกนี้มีประเด็นว่าจำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่าจำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการบอกล้างสัญญากู้โดยสามีต่อภรรยา: สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินส่วนตัว
ภรรยาทำสัญญากู้เงินของเขามาและสามีได้บอกล้างสัญญาแล้วแม้การบอกล้างของสามีจะเป็นผลทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆะได้ก็แต่เฉพาะเพียงเท่าที่ผูกพันสินบริคณฑ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 เท่านั้น หาได้กระทำให้ตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ เพราะหญิงมีสามีเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วนิติกรรมที่ทำขึ้นจึงยังสมบูรณ์ผูกพันในทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาตาม มาตรา 37 ประกอบด้วย มาตรา 1479ผู้ให้กู้ก็มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินส่วนของภรรยาได้
จำเลยรับว่า ได้ลงชื่อในใบยืมเงินไว้ในฐานะผู้กู้แล้วจะขอสืบข้อเท็จจริงว่าที่จำเลยลงชื่อไว้นั้น ได้ลงในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นการสืบเถียงฝ่าฝืนเอกสารท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
จำเลยรับว่า ได้ลงชื่อในใบยืมเงินไว้ในฐานะผู้กู้แล้วจะขอสืบข้อเท็จจริงว่าที่จำเลยลงชื่อไว้นั้น ได้ลงในฐานะผู้ค้ำประกันไม่ได้เป็นการสืบเถียงฝ่าฝืนเอกสารท้ายฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการบอกล้างสัญญากู้เงินโดยสามีต่อภรรยา และการสืบพยานขัดแย้งเอกสาร
ภรรยาทำสัญญากู้เงินของเขามาและสามีได้บอกล้างสัญญาแล้ว แม้การบอกล้างของสามีจะเป็นผลทำให้สัญญานั้นตกเป็นโมฆะได้ก็แต่เฉพาะเพียงเท่าที่ผูกพันสินบริคณฑ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 เท่านั้น หาได้กระทำให้ตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ เพราะหญิงมีสามีเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว นิติกรรมที่ทำขึ้นจึงยังสมบูรณ์ผูกพันในทรัพย์สินส่วนตัวของภรรยาตาม มาตรา 37 ประกอบด้วย มาตรา 1479 ผู้ให้กู้ก็มีสิทธิที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินส่วนของภรรยาได้
จำเลยรับว่า ได้ลงชื่อในใบยืนเงินไว้ในฐานะผู้กู้แล้วจะขอสืบข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยลงชื่อไว้นั้น ได้ลงในฐานผู้ค้ำประกันไม่ได้ เป็นการสืบเถียงฝ่าฝืนเอกสารท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
จำเลยรับว่า ได้ลงชื่อในใบยืนเงินไว้ในฐานะผู้กู้แล้วจะขอสืบข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยลงชื่อไว้นั้น ได้ลงในฐานผู้ค้ำประกันไม่ได้ เป็นการสืบเถียงฝ่าฝืนเอกสารท้ายฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและสิทธิเจ้าหนี้: การยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อชำระหนี้ส่วนตัว
หนี้ที่สามีต้องใช้เป็นส่วนตัวนั้น เมื่อยังมิได้แยกสินบริคณห์ออกจากกัน ต้องถือว่าสามีมีส่วนเป็นเจ้าของด้วย ฉะนั้นเจ้าหนี้จึงยึดเพื่อเอาส่วนของสามีชำระหนี้ได้