พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2811/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ห้องชุด: การซื้อขายจริง vs. ถือกรรมสิทธิ์แทน และภาระการพิสูจน์
คำฟ้องโจทก์มีคำขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกไปจากห้องชุดพิพาทและเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ว่า ห้องชุดพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสอง คดีฟ้องขับไล่จึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์อันเป็นการจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วย โดยหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยทั้งสองหากเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดพิพาท โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทคืนแก่จำเลยทั้งสองตามฟ้องแย้ง ดังนั้น การฟ้องขับไล่โดยมีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ห้องชุด จึงเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีนั้นทั้งหมดแทนจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 25 จำเลยที่ 1 ไม่อาจดำเนินคดีต่อไปโดยยื่นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่, ค่าเสียหาย, และผลกระทบจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ บริษัท อ. เป็นบริษัทร้างซึ่งนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนตามความในมาตรา 1273/3 แห่ง ป.พ.พ. บริษัท อ. ย่อมสิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนโดยผลแห่งกฎหมาย และเป็นกรณีที่ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 6 ว่าด้วยการถอนทะเบียนบริษัทจำกัดร้าง มิใช่การเลิกบริษัทที่จะต้องมีการชำระบัญชีตามบทบัญญัติในหมวด 4 ส่วนที่ 8 ซึ่งจะต้องดำเนินการชำระบัญชีตามบทบัญญัติในหมวด 5 แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ. แต่เมื่อกรณีบริษัทร้างมิใช่การเลิกบริษัทที่จะต้องมีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัท อ. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีบริษัท อ. อย่างไรก็ตาม ตามคำฟ้อง นอกจากโจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะส่วนตัวให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในผลแห่งการทำละเมิดด้วยการครอบครองและนำที่ดินพิพาทของโจทก์พร้อมสิ่งปลูกสร้างออกให้บุคคลภายนอกเช่าโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย ซึ่งหากข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะส่วนตัวต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ในผลแห่งการทำละเมิดดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดด้วยการครอบครองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทออกให้บุคคลภายนอกเช่าโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ จำเลยทั้งสามมิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ครอบครอง แต่อ้างว่าการครอบครองอาศัยสิทธิของบริษัท อ. ส่วนการนำที่ดินพิพาทออกให้เช่ากระทำในฐานะตัวแทนบริษัท อ. จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อศาลวินิจฉัยว่า บริษัท อ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสามไม่อาจอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิบริษัท อ. อีกต่อไปได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นส่วนตัว
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาด เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 อำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) และมาตรา 25 ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับขับไล่ รื้อถอนและเรียกค่าเสียหาย ซึ่งส่วนที่มีคำขอบังคับขับไล่และรื้อถอนเป็นหนี้กระทำการมิใช่คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 22 (3) แต่ส่วนที่มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ค่าเสียหายในส่วนที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 อันเป็นวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาด จึงเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย โจทก์จะต้องนำหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 27 และมาตรา 91 และโจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงใดย่อมเป็นไปตามกระบวนการในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่เข้าว่าคดีในส่วนนี้ การพิจารณาคดีส่วนนี้ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเฉพาะส่วนนี้ออกจากสารบบความ สำหรับค่าเสียหายนับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นหนี้เงินที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดส่วนนี้ได้ แต่โจทก์จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลุดพ้นจากการล้มละลายและต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มาภายหลังพ้นจากการล้มละลายเท่านั้น
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดด้วยการครอบครองที่ดินพิพาทและนำที่ดินพิพาทออกให้บุคคลภายนอกเช่าโดยไม่มีสิทธิและไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ จำเลยทั้งสามมิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ครอบครอง แต่อ้างว่าการครอบครองอาศัยสิทธิของบริษัท อ. ส่วนการนำที่ดินพิพาทออกให้เช่ากระทำในฐานะตัวแทนบริษัท อ. จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อศาลวินิจฉัยว่า บริษัท อ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสามไม่อาจอ้างการครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิบริษัท อ. อีกต่อไปได้ การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสามย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นส่วนตัว
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาด เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 อำนาจในการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) และมาตรา 25 ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องขอให้บังคับขับไล่ รื้อถอนและเรียกค่าเสียหาย ซึ่งส่วนที่มีคำขอบังคับขับไล่และรื้อถอนเป็นหนี้กระทำการมิใช่คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 22 (3) แต่ส่วนที่มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ค่าเสียหายในส่วนที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 อันเป็นวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 และที่ 2 เด็ดขาด จึงเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลาย โจทก์จะต้องนำหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 27 และมาตรา 91 และโจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้เพียงใดย่อมเป็นไปตามกระบวนการในคดีล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่เข้าว่าคดีในส่วนนี้ การพิจารณาคดีส่วนนี้ไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป ต้องจำหน่ายคดีเฉพาะส่วนนี้ออกจากสารบบความ สำหรับค่าเสียหายนับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสามจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นหนี้เงินที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดส่วนนี้ได้ แต่โจทก์จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายส่วนนี้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลุดพ้นจากการล้มละลายและต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มาภายหลังพ้นจากการล้มละลายเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ ลาภมิควรได้ ผู้กู้และผู้รับเงินต้องคืน
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 แล้ว จึงมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 อีกทั้งการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ และทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกับ ก. ภายหลังที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 แล้ว จึงเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะไม่ได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 24 การกู้เงินและการซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 หนี้ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ไม่อาจนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และมาตรา 94 โจทก์ชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดต่อโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
เมื่อการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ รวมทั้งการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ก. ได้กระทำขึ้นหลังจากจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไว้เด็ดขาดแล้ว การกู้ยืมและการซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 24 เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม และถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้จึงต้องรับผิดคืนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ก. และชำระหนี้ให้จำเลยที่ 3 ไปแทน ก. ให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดย ก. ซึ่งเป็นผู้ได้รับเงินที่โจทก์ชำระส่วนหนึ่งไปเป็นค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและได้รับประโยชน์โดยตรงจากการที่จำเลยที่ 3 ได้รับชำระหนี้และไถ่ถอนการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ต้องร่วมรับผิดในการคืนเงินแก่โจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ก. ต้องรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับ สำหรับจำเลยที่ 3 แม้มีส่วนได้รับเงินจากโจทก์แต่ก็เป็นการได้รับเงินที่จ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 แทน ก. ตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำขึ้น จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ทั้งเป็นการที่จำเลยที่ 3 ได้รับชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไว้โดยสุจริต และได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ก. ไปแล้ว จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดแก่โจทก์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดตามฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ จึงไม่ชอบ
เมื่อการกู้ยืมเงินของจำเลยที่ 1 จากโจทก์ รวมทั้งการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ก. ได้กระทำขึ้นหลังจากจำเลยที่ 1 ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไว้เด็ดขาดแล้ว การกู้ยืมและการซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และ 24 เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 คู่กรณีต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม และถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ดังนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้จึงต้องรับผิดคืนเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ ก. และชำระหนี้ให้จำเลยที่ 3 ไปแทน ก. ให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดย ก. ซึ่งเป็นผู้ได้รับเงินที่โจทก์ชำระส่วนหนึ่งไปเป็นค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและได้รับประโยชน์โดยตรงจากการที่จำเลยที่ 3 ได้รับชำระหนี้และไถ่ถอนการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ต้องร่วมรับผิดในการคืนเงินแก่โจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ก. ต้องรับผิดเพียงไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับ สำหรับจำเลยที่ 3 แม้มีส่วนได้รับเงินจากโจทก์แต่ก็เป็นการได้รับเงินที่จ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 แทน ก. ตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำขึ้น จึงไม่ตกเป็นโมฆะ ทั้งเป็นการที่จำเลยที่ 3 ได้รับชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไว้โดยสุจริต และได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ก. ไปแล้ว จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดแก่โจทก์
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดตามฟ้องโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกิน 200 บาท แก่โจทก์ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินคดีแทนลูกหนี้เมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อประโยชน์เจ้าหนี้ในการขอรับชำระหนี้
พ.ร.บ.ล้มละลาย
พ.ศ.2483 มาตรา 22 บัญญัติว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้
หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น (3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
อันเป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาให้ได้มากที่สุดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ในการขอรับชำระหนี้
และมาตรา 25 บัญญัติว่า ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง
ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
ก็เห็นได้ชัดว่าในกรณีที่มีคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งกฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีแทนลูกหนี้ผู้ถูกฟ้องนั้น
ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การที่จะให้มีการพิจารณาคดีต่อไปจะยังประโยชน์แก่การจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มากยิ่งกว่าและมิได้ร้องขอให้งดการพิจารณาไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
หาใช่ว่าศาลจะต้องงดการพิจารณาคดีและจำหน่ายคดีที่ค้างพิจารณาทั้งหมดออกจากสารบบความได้เพียงสถานเดียว
ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีนี้ก็ได้ความว่า
หลังจากถูกฟ้องคดี ต่อมามีการขอเลื่อนคดีเรื่อยมาด้วยเหตุผลว่า รอฟังผลคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่
249/2549 แม้กระทั่งวันที่ 1 กันยายน 2554 เป็นวันนัดพร้อมซึ่งขณะนั้นศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ทั้งสาม
คือจำเลยทั้งสามตั้งแต่วันที่ 23
สิงหาคม 2554 อำนาจการจัดการทรัพย์สินและการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามจึงตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว
แต่จำเลยทั้งสามและทนายความจำเลยทั้งสามไม่แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อศาลชั้นต้นจะได้หมายเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนต่อไป และแม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลาย
วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 จำเลยทั้งสามก็คงวางเฉยไม่แถลงแต่อย่างไร
จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวเมื่อวันที่
30 กันยายน 2556 เพื่อให้ขาดความต่อเนื่องของการพิจารณาคดีที่จะติดตามข้อเท็จจริงในช่วงระยะเวลาสั้นและยิ่งนำรายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาพิจารณาประกอบ
ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ที่ 2 ให้ถ้อยคำว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายเรียกมาให้สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน ให้การว่าไม่ทราบแน่ชัดว่ามีคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องคดีใดบ้าง
ทั้งที่คดีนี้ทุนทรัพย์สูงถึง 50 กว่าล้านบาท จำเลยที่ 3
ก็เป็นจำเลยคนหนึ่งในคดีแพ่ง การกล่าวให้ถ้อยคำเช่นนั้นย่อมไม่อาจเชื่อได้
ทำให้เชื่อได้ว่า การเลื่อนคดีอย่างต่อเนื่องโดยไม่แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดจากการวางแผนกระทำการโดยมีเจตนาทุจริตเพื่อให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกำหนด ซึ่งจะเป็นการหลุดพ้นจากหนี้และนำไปสู่การปลดล้มละลายในลำดับถัดมา
การจำหน่ายคดีย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียหาย กรณีสมควรมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งสามต่อไป
ไม่มีเหตุจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
พ.ศ.2483 มาตรา 22 บัญญัติว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้
หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น (3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
อันเป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาให้ได้มากที่สุดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ในการขอรับชำระหนี้
และมาตรา 25 บัญญัติว่า ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง
ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
ก็เห็นได้ชัดว่าในกรณีที่มีคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งกฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีแทนลูกหนี้ผู้ถูกฟ้องนั้น
ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การที่จะให้มีการพิจารณาคดีต่อไปจะยังประโยชน์แก่การจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มากยิ่งกว่าและมิได้ร้องขอให้งดการพิจารณาไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้
หาใช่ว่าศาลจะต้องงดการพิจารณาคดีและจำหน่ายคดีที่ค้างพิจารณาทั้งหมดออกจากสารบบความได้เพียงสถานเดียว
ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีนี้ก็ได้ความว่า
หลังจากถูกฟ้องคดี ต่อมามีการขอเลื่อนคดีเรื่อยมาด้วยเหตุผลว่า รอฟังผลคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่
249/2549 แม้กระทั่งวันที่ 1 กันยายน 2554 เป็นวันนัดพร้อมซึ่งขณะนั้นศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ทั้งสาม
คือจำเลยทั้งสามตั้งแต่วันที่ 23
สิงหาคม 2554 อำนาจการจัดการทรัพย์สินและการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามจึงตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว
แต่จำเลยทั้งสามและทนายความจำเลยทั้งสามไม่แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวเพื่อศาลชั้นต้นจะได้หมายเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนต่อไป และแม้ต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลาย
วันที่ 20 พฤษภาคม 2556 จำเลยทั้งสามก็คงวางเฉยไม่แถลงแต่อย่างไร
จนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราวเมื่อวันที่
30 กันยายน 2556 เพื่อให้ขาดความต่อเนื่องของการพิจารณาคดีที่จะติดตามข้อเท็จจริงในช่วงระยะเวลาสั้นและยิ่งนำรายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาพิจารณาประกอบ
ซึ่งจำเลยที่ 3 ในฐานะลูกหนี้ที่ 2 ให้ถ้อยคำว่า เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หมายเรียกมาให้สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน ให้การว่าไม่ทราบแน่ชัดว่ามีคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องคดีใดบ้าง
ทั้งที่คดีนี้ทุนทรัพย์สูงถึง 50 กว่าล้านบาท จำเลยที่ 3
ก็เป็นจำเลยคนหนึ่งในคดีแพ่ง การกล่าวให้ถ้อยคำเช่นนั้นย่อมไม่อาจเชื่อได้
ทำให้เชื่อได้ว่า การเลื่อนคดีอย่างต่อเนื่องโดยไม่แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าวเกิดจากการวางแผนกระทำการโดยมีเจตนาทุจริตเพื่อให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ภายในกำหนด ซึ่งจะเป็นการหลุดพ้นจากหนี้และนำไปสู่การปลดล้มละลายในลำดับถัดมา
การจำหน่ายคดีย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียหาย กรณีสมควรมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีแทนจำเลยทั้งสามต่อไป
ไม่มีเหตุจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8944/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีล้มละลายและการดำเนินคดีต่อหลังศาลฎีกาพิพากษาคดีล้มละลายแล้ว
ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยขอให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการยื่นคำขอรับชำระหนี้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงเป็นการสั่งจำหน่ายคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 ตอนท้าย มิได้ประสงค์ให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลเสียทีเดียว คำสั่งจำหน่ายคดีเช่นนี้มิใช่คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 เมื่อต่อมาศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีล้มละลาย โจทก์ก็กลับมาดำเนินคดีนี้ต่อไปได้
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปโดยไม่ได้ไต่สวน แต่ในวันนัดพร้อม จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว ถือว่าศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏเหตุผลอื่นอีก ศาลชั้นต้นสามารถวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้เองตามข้อกฎหมายข้างต้น คดีจึงไม่จำต้องไต่สวน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปโดยไม่ได้ไต่สวน แต่ในวันนัดพร้อม จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำร้องดังกล่าวแล้ว ถือว่าศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เด็ดขาดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏเหตุผลอื่นอีก ศาลชั้นต้นสามารถวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้เองตามข้อกฎหมายข้างต้น คดีจึงไม่จำต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับนายประกันในคดีอาญา ยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเกินกำหนดเวลา ย่อมไม่อาจรับชำระได้
มูลหนี้ที่จะนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นหนี้เงินที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ทั้งเจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91 ประกอบมาตรา 94 สำหรับมูลหนี้ในคดีนี้คือมูลหนี้ตามสัญญาประกันที่ลูกหนี้ที่ 2 ได้ทำสัญญาประกันต่อศาลในการขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรี ในวงเงินประกัน 330,000 บาท โดยมีที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นหลักประกัน ต่อมาปรากฏว่าเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549 ลูกหนี้ที่ 2 ไม่ส่งตัวจำเลยมาศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลฎีกาตามกำหนดนัดซึ่งถือว่าลูกหนี้ที่ 2 ผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลแขวงธนบุรีมีคำสั่งปรับเงินลูกหนี้ที่ 2 เต็มตามสัญญาประกัน มูลแห่งหนี้เงินจึงเกิดขึ้นในวันดังกล่าวภายหลังจากวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 และมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีที่เข้าว่าคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ที่เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้นับจากวันคดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 ประกอบมาตรา 93 ดังนี้ เมื่อเจ้าหนี้นำมูลหนี้ค่าปรับนายประกันในคดีอาญาของศาลแขวงธนบุรีมายื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทั้งหนี้เงินดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 91 ประกอบมาตรา 94
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในส่วนการบังคับหลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกามีการแก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง โดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2558 ก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในส่วนการบังคับหลักประกันที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15283/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคุ้มครองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้และผู้คัดค้าน
แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในคดีนี้ยังคงมีผลผูกพันโจทก์และผู้คัดค้านอยู่ก็ตาม แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 โจทก์จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27, 91 และ 94 ข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ในคดีหมายเลขแดงที่ ล.606/2556 แม้คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้แจ้งอายัดเงินค่าจ้างแปรสภาพหัวมันสำปะหลังไปยังผู้คัดค้านไว้ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านยังไม่ได้ส่งเงินตามที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ย่อมถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีสำเร็จบริบูรณ์ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีโดยการอายัดเงินดังกล่าวไม่อาจใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้งดการพิจารณาและจำหน่ายคดีนี้ตามมาตรา 25 จึงเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ใช้อำนาจว่ากล่าวเอาความจากผู้คัดค้านต่อไปตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ให้อำนาจไว้ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาฎีกาของผู้คัดค้านอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14808/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการล้มละลายต่อการดำเนินคดีเช่าและการเรียกร้องค่าเสียหาย: อำนาจฟ้องและสิทธิอุทธรณ์
โจทก์เป็นผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าให้ออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าและเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การต่อสู้ว่า สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา จำเลยเช่าทรัพย์พิพาทได้เพียง 5 ปี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อปรากฏแหล่งที่มา ศูนย์วิชาการงานคดี ศาลฎีกาว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอำนาจในการต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) คำฟ้องในส่วนที่โจทก์มีคำขอให้ขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินของโจทก์เอง เป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่จะต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้โดยลำพัง แต่ตามคำฟ้องโจทก์ในส่วนที่มีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายมาด้วยนั้น เป็นคดีที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีตามคำขอส่วนนี้แทนจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่ขอเข้าดำเนินคดีโดยเห็นว่าส่วนในเรื่องค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจคัดค้านการที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยด้วยตนเองได้ โดยไม่ได้สั่งงดการพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหายแต่อย่างไร ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลยเท่านั้น ส่วนที่พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า ไม่ขอเข้าดำเนินคดีโดยเห็นว่าส่วนในเรื่องค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 24 นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจคัดค้านการที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลย และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีเฉพาะในส่วนที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยด้วยตนเองได้ โดยไม่ได้สั่งงดการพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหายแต่อย่างไร ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลยเท่านั้น ส่วนที่พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14808/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีระหว่างผู้ล้มละลายและการจัดการทรัพย์สิน: การแยกส่วนคดีขับไล่และค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์ที่มีคำขอให้ขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่จะต่อสู้คดีได้โดยลำพัง แต่ในส่วนคำฟ้องที่มีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีแทนจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องไม่ขอเข้าดำเนินคดี โดยเห็นว่าค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต้องห้ามมิให้รับชำระหนี้ตามมาตรา 24 เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าไม่ติดใจคัดค้าน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะส่วนฟ้องขับไล่ และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีได้ โดยมิได้สั่งงดพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหาย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยอุทธรณ์ได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลย ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ส่วนที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิดำเนินคดีแทนจำเลย
เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลย ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดให้ยกเลิกหรือเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่โจทก์จำเลยทำมาก่อนหน้านี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อจากจำเลย และมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายหนึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่งทนายความยื่นคำให้การใหม่ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ