คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1916/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าว่าคดีแทนจำเลยโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีแพ่งหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และสิทธิในการยื่นคำขอรับชำระหนี้
ขณะคดีแพ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดอำนาจการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 25แต่ศาลจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปตามที่เห็นสมควรก็ได้ เมื่อปรากฏว่าศาลได้มีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แถลงไม่ขอเข้าว่าคดีแทนจำเลย และขอให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแต่ศาลมีคำสั่งให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป อันมีผลเท่ากับศาลไม่อนุญาตให้จำหน่ายคดีตามคำแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว แม้ในวันนัดต่อ ๆ มาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้มาศาลก็ตาม แต่ศาลได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบที่หน้าศาลทุกครั้ง กรณีดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแทนจำเลยแล้วเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแพ่งย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่คดีแพ่งดังกล่าวถึงที่สุด ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 93.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ล้มละลายไม่มีสิทธิยื่นคำขอพิจารณาใหม่เอง อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา22 (3) การที่จำเลยยื่นขอให้พิจารณาใหม่เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการเอง เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนตามมาตรา 25 ได้ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นขอพิจารณาใหม่ไว้ก่อน แล้วถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ จึงไม่ต้องตามตามบทบัญญัติ มาตรา 25 ที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5104/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่ผู้เดียว
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยในคดีล้มละลายแล้ว จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) การที่จำเลยยื่นขอให้พิจารณาใหม่เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการเอง เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนตามมาตรา 25 ได้ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นขอพิจารณาใหม่ไว้ก่อน แล้วถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ จึงไม่ต้องตามบทบัญญัติ มาตรา 25ที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังพิทักษ์ทรัพย์: จำเลยไม่มีสิทธิยื่นคำขอพิจารณาใหม่, เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยหลังจากนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 22(3) การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในคดีนี้เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะยื่นคำขอจำเลยหามีสิทธิยื่นไม่ การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หลังถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ก่อนจำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยหลังจากนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะฟ้อง ร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 22(3) การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในคดีนี้เป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องให้ชำระหนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะยื่นคำขอจำเลยหามีสิทธิยื่นไม่
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแทนจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 25 นั้น ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ไว้ก่อนแล้ว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา และศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ภายหลัง เมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปก่อนแล้วจึงยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายหลัง กรณีย่อมไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวที่ศาลจะต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาว่าคดีแทนจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการประนอมหนี้และการล้มละลายต่ออำนาจฟ้องและจัดการทรัพย์สินของกรรมการบริษัท
การที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแพ่งภายหลังที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามพ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 25 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังประนอมหนี้และการดำเนินคดีเมื่อล้มละลาย รวมถึงผลกระทบต่ออำนาจกรรมการ
การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้เอง โจทก์ฟ้องคดีภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 25 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมมีอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหลังศาลสั่งประนอมหนี้และล้มละลาย, อำนาจกรรมการหลังล้มละลาย, การดำเนินคดีกับบุคคลล้มละลาย
การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้เอง โจทก์ฟ้องคดีภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 25 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมมีอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป
เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีต่อหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจ
ระหว่างที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายในศาลชั้นต้น ล.ได้ฟ้องโจทก์ขอให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดในคดีดังกล่าวดังนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์อีกต่อไป แต่โจทก์กลับดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นในชั้นอุทธรณ์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกากรณีถือได้ว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,25 ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีหลังถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อศาลในคดีล้มละลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ โจทก์ไม่มี อำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีได้อีก เมื่อปรากฏว่า โจทก์เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีนี้มาตลอดจนกระทั่งเสร็จสิ้นในชั้นศาลอุทธรณ์แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ใน ชั้นฎีกา ดังนี้การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นคำสั่ง ของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลายฯมาตรา 22,25.
of 9