คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 25

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว
ระหว่างที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายในศาลชั้นต้น ล.ได้ฟ้องโจทก์ขอให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดในคดีดังกล่าวดังนี้นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์อีกต่อไป แต่โจทก์กลับดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นในชั้นอุทธรณ์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกากรณีถือได้ว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 25
ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีหลังถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3967/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดำเนินคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลาย
ระหว่างที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายในศาลชั้นต้นล.ได้ฟ้องโจทก์ขอให้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดในคดีดังกล่าว ดังนี้นับแต่วันทีศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดเป็นต้นไปเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์อีกต่อไป แต่โจทก์กลับดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีที่ตนเป็นโจทก์ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นในชั้นอุทธรณ์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอเข้าว่าคดีแทนโจทก์ในชั้นฎีกา กรณีถือได้ว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22,25 ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาและว่าคดีหลังถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาซื้อลดเช็คและการเชิดตัวแทน: ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ค้ำประกัน
เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 5 ในสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 5 ปฏิเสธว่ามิใช่ลายมือชื่อของตน กับในการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อและคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยที่ 5 รับว่าเป็นลายมือชื่อของตนจริงคล้ายคลึงกันและสีหมึกก็เป็นสีเดียวกัน ประกอบกับจำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาขายลดเช็คกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันก็เป็นสามีภริยากัน จึงน่าเชื่อว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 5 ในสัญญาค้ำประกัน เป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 5 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 5 แล้วเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดี หรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมดำเนินกระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 5 ต่อไป โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนเชิด ศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิด ได้ เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิด มีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น การที่จำเลยที่ 5 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และประทับตราห้างจำเลยที่ 1 ด้วยทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5หุ้นส่วนผู้จัดการได้เชิด จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2เชิด ตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิดและการรับผิดในสัญญาซื้อขายลดเช็ค กรณีจำเลยล้มละลาย
โจทก์ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้อง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 25 แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดีก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยจะขอให้จำหน่ายคดี และโจทก์ไม่ค้านก็ตาม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่2 เป็นตัวแทนเชิดศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดได้เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิดมีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และประทับตราจำเลยที่ 1 ในสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5 ได้เชิดจำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด-ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด: การขยายความรับผิดจากตัวแทนไปยังห้างหุ้นส่วนและผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยกฟ้อง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งต่อไปย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 25 แต่เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดีก็ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยจะขอให้จำหน่ายคดี และโจทก์ไม่ค้านก็ตาม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนเชิดศาลก็ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเชิดได้เพราะความรับผิดของตัวแทนกับตัวแทนเชิดมีลักษณะอย่างเดียวกัน ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
การที่จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และประทับตราจำเลยที่ 1 ในสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 5 ได้เชิดจำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตนเองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาขายลดเช็คต่อโจทก์ผู้สุจริตเสมือนว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1 (ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา 94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังการพิทักษ์ทรัพย์: หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการชำระหนี้ค่าชดเชย
เมื่อจำเลยที่ 1(ลูกหนี้) ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้วย่อมหมดอำนาจ ที่จะดำเนินกิจการงานของตนต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามกฎหมายที่จะจัดการหรือกระทำการ ที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของจำเลยที่ 1 ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปแทน จำเลยที่ 1 และไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าลูกจ้างของลูกหนี้ หมดสิทธิที่จะทำงานให้ลูกหนี้ต่อไปดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 บอกเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 เงินค่าชดเชยซึ่งกฎหมายแรงงานบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องจ่าย ให้แก่โจทก์นั้นเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ย่อมเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระได้ตามมาตรา94 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้จัดการกิจการทรัพย์สินแทน จำเลยที่ 1 แล้วเกิดมีเงินที่กฎหมายบังคับให้จ่ายเกิดขึ้น จำเลยที่ 2 ก็มีหน้าที่ต้องเอาเงินของจำเลยที่ 1 จ่ายแทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้จ่ายเงินค่าชดเชยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3625/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ 1 โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฏว่า ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3625/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามกฎหมายล้มละลาย
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยที่ 1 โดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย โอนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลยที่ 1 หากไม่สามารถทำได้ให้ใช้ราคาพร้อมค่าเสียหายซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อปรากฏว่า ศาลแพ่งได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีแล้วกลับมาพิจารณาต่อ เมื่อคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่เป็นผล และการไต่สวนข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไปตามคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเข้าดำเนินคดีแทนจำเลย เมื่อโจทก์ได้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้วเท่ากับเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องต่อเนื่องเกี่ยวโยงกับคดีนี้หากการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่อาจดำเนินไปจนถึงที่สุดได้เพราะศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องใน คดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยกคำขอของโจทก์เสีย โจทก์ ก็ชอบที่จะกลับมาดำเนินคดีต่อไปได้ คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น หาได้ประสงค์ให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปจากศาลทีเดียวไม่ โจทก์ยื่นคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์เนื่องจากศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในคดีล้มละลาย โจทก์ จึงขอให้ศาลนำคดีนี้ขึ้นพิจารณาต่อไป จำเลยยื่นคำคัดค้านว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์และทำความเห็นเสนอต่อศาลจนกระทั่งศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์อ้างและพิพากษายกคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ คดีถึงที่สุดไปแล้ว ดังนี้ หากได้ความจริงตามคำคัดค้านของจำเลยโจทก์ก็ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่มีมูลหนี้ในคดีนี้อีก ย่อมไม่มีเหตุที่จะให้ ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาต่อไป ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะทำการไต่สวนให้ได้ความว่าเป็นความจริงดังคำร้องของโจทก์หรือคำคัดค้านของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์โดยมิได้ทำการไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญก่อนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ถือว่าศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาและมีเหตุสมควรที่จะให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ประกอบด้วยมาตรา 247
of 9