คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนอุทธรณ์หลังจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์ จำเป็นต้องฟังจำเลยก่อน
โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เมื่อจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว จะต้องฟังจำเลยก่อน มิฉะนั้นห้ามมิให้ศาลอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 417/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องอุทธรณ์ต้องฟังจำเลยก่อน ศาลมิอาจอนุญาตโดยไม่ฟังเหตุผลคัดค้าน
โจทก์ถอนฟ้องอุทธรณ์เมื่อจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว จะต้องฟังจำเลยก่อน มิฉะนั้นห้ามมิให้ศาลอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยสิ่งปลูกสร้างเดิม เจ้าของที่ดินมีสิทธิใช้ประโยชน์ได้ แม้มิได้เป็นผู้สร้าง
แม้โจทก์จะอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย. แต่คดีนี้ไม่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง. ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา. เพราะมิใช่คดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238. ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียใหม่ได้.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติเรื่องผู้ไม่มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น.
โจทก์และสามีจำเลยต่างซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมซึ่งตัดแบ่งขายเป็นแปลงๆ. จำเลยรับมรดกสามี. โจทก์จำเลยจึงมีที่ดินติดต่อกัน. โจทก์ซื้อที่ดินของโจทก์ภายหลังสามีจำเลยซื้อที่ดินของจำเลยโดยที่ดินของโจทก์อยู่ในสภาพที่มีกันสาดตึกของจำเลยรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่ก่อน. ดังนี้ โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดที่พิพาท. หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองในขณะยังไม่ได้แบ่งออกเป็นสองแปลง. ซึ่งเจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย. แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินนั้นแบ่งที่ดินออกเป็นสองแปลง จึงทำให้กันสาดของโรงเรือนที่สร้างไว้ในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง. กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312. เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง.
มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนแห่งกรรมสิทธิ์ โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต. มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม.
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก ผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริต ย่อมมีสิทธิในที่ดินที่ถูกรุกล้ำนั้นได้. โดยเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำไม่มีสิทธิบังคับให้รื้อ.
จำเลยมิได้เป็นผู้สร้างตึกพร้อมกันสาดที่พิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย. เพราะขณะสร้างยังมิได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นสองแปลง. ดังนั้น ถ้าจะบังคับให้รื้อ ก็มีผลเท่ากับจำเลยเป็นผู้สร้าง ตามมาตรา 1312 วรรคสอง ย่อมไม่เป็นธรรม. เพราะแม้จำเลยเป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง ถ้าโดยสุจริต กฎหมายยังยอมให้จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินในส่วนที่รุกล้ำได้. แล้วไฉนถ้าจำเลยมิได้เป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง. แต่การที่สร้างนั้นเป็นการสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งยิ่งกว่าเป็นการสร้างโดยสุจริตเสียอีก แล้วกลับจะถูกบังคับให้รื้อถอน เพราะไม่มีสิทธิจะใช้. กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้. เมื่อเป็นช่องว่างแห่งกฎหมาย ดังนี้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้. สำหรับกรณีนี้ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกมาปรับคดีได้จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง.บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือ มาตรา 1312 วรรคแรกคือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้. โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อ. แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไป ตลอดจนการที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม.
เครื่องทำความเย็นซึ่งผู้เช่าตึกจำเลยเป็นผู้ติดตั้ง.ไม่ใช่เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น. และจำเลยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตั้งนี้ด้วย.อีกทั้งผู้เช่าตึกของจำเลยไม่ใช่บริวารของจำเลย.ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ย้ายเครื่องทำความเย็นของผู้อื่นไม่ได้. (นอกจากวรรคหนึ่ง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่30/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: เจ้าของเดิมสร้างก่อนแบ่งแยกที่ดิน ไม่เข้าข่าย ม.1312 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ที่ดินและจดทะเบียนภารจำยอม
แม้โจทก์จะอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่คดีนี้ไม่ห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลอุทธรณ์จึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมา เพราะมิใช่คดีที่อุทธรณ์ได้แต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียใหม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เป็นบทบัญญัติเรื่องผู้ไม่มีสิทธิในที่ดินสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น
โจทก์และสามีจำเลยต่างซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมซึ่งตัดแบ่งขายเป็นแปลงๆ จำเลยรับมรดกสามี โจทก์จำเลยจึงมีที่ดินติดต่อกันโจทก์ซื้อที่ดินของโจทก์ภายหลังสามีจำเลยซื้อที่ดินของจำเลยโดยที่ดินของโจทก์อยู่ในสภาพที่มีกันสาดตึกของจำเลยรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่ก่อน ดังนี้ โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้สร้างตึกพร้อมทั้งกันสาดที่พิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองในขณะยังไม่ได้แบ่งออกเป็นสองแปลง ซึ่งเจ้าของที่ดินมีสิทธิสร้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แล้วต่อมาเจ้าของที่ดินนั้นแบ่งที่ดินออกเป็นสองแปลง จึงทำให้กันสาดของโรงเรือนที่สร้างไว้ในที่ดินแปลงหนึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่แบ่งแยกอีกแปลงหนึ่ง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 เพราะการรุกล้ำมิได้เกิดจากจำเลยเป็นผู้สร้าง
มาตรา 1312 เป็นบทยกเว้นเรื่องส่วนควบและแดนแห่งกรรมสิทธิ์โดยบุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต มีสิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่รุกล้ำนั้นได้ แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค่าใช้ที่ดิน และจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 วรรคแรก ผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำโดยสุจริต ย่อมมีสิทธิในที่ดินที่ถูกรุกล้ำนั้นได้ โดยเจ้าของที่ดินที่ถูกรุกล้ำไม่มีสิทธิบังคับให้รื้อ
จำเลยมิได้เป็นผู้สร้างตึกพร้อมกันสาดที่พิพาท หากแต่เจ้าของที่ดินเป็นผู้สร้างในที่ดินของตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะขณะสร้างยังมิได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นสองแปลง ดังนั้น ถ้าจะบังคับให้รื้อ ก็มีผลเท่ากับจำเลยเป็นผู้สร้าง ตามมาตรา 1312 วรรคสอง ย่อมไม่เป็นธรรม เพราะแม้จำเลยเป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง ถ้าโดยสุจริต กฎหมายยังยอมให้จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินในส่วนที่รุกล้ำได้ แล้วไฉนถ้าจำเลยมิได้เป็นผู้สร้างรุกล้ำเอง แต่การที่สร้างนั้นเป็นการสร้างโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งยิ่งกว่าเป็นการสร้างโดยสุจริตเสียอีก แล้วกลับจะถูกบังคับให้รื้อถอน เพราะไม่มีสิทธิจะใช้ กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ เมื่อเป็นช่องว่างแห่งกฎหมาย ดังนี้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 มาใช้สำหรับกรณีนี้ไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นที่จะยกมาปรับคดีได้จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งก็คือ มาตรา 1312 วรรคแรก คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อ แต่มีสิทธิที่จะเรียกเงินเป็นค่าที่จำเลยใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ต่อไป ตลอดจนการที่จะดำเนินการจดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอม
เครื่องทำความเย็นซึ่งผู้เช่าตึกจำเลยเป็นผู้ติดตั้งไม่ใช่เป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการติดตั้งนี้ด้วย อีกทั้งผู้เช่าตึกของจำเลยไม่ใช่บริวารของจำเลย ในกรณีเช่นนี้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ย้ายเครื่องทำความเย็นของผู้อื่นไม่ได้ (นอกจากวรรคหนึ่ง วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายของบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมต่อความเสียหายที่บุตรได้รับจากละเมิด
บุตรโจทก์ถูกรถยนต์ชนได้รับบาดเจ็บสาหัน โจทก์ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีหน้าที่รักษาพยาบาล เมื่อต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไปแล้ว จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายที่จ่ายไป ซึ่งเป็นค่าเสียหายส่วนตัวโดยตรงได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบิดาและผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรซึ่งถูกรถยนต์ของจำเลยชนได้รับบาดเจ็บสาหัส ขอให้จำเลยร่วมกันใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับเป็นส่วนตัว กับค่าเสียหายของบุตรโจทก์ที่ถูกรถยนต์ชนเสียขาทั้งสองข้าง ทำให้ขาดความสำราญไปตลอดชีวิต และเสียความสามารถในการประกอลการงานในอนาคต เป็นคำฟ้งแสดงชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 แล้ว แม้โจทก์จะได้ได้ระบุในช่องคู่ความว่า โจทก์ได้ฟ้องในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรในตอนแรกก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องในตอนต่อไปว่า โจทก์เป็นบิดาและผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร จึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวของโจทก์และในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่ซ้ำกับคดีก่อน แม้จำเลยต่างกัน แต่มีประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวพันกัน ศาลพิจารณาได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่บุตรเขยจำเลยให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาท ซึ่งอ้างว่าเป็นของโจทก์. บุตรเขยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์. ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาท. บุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้าต่อสู้คดีร่วมกับจำเลย. ดังนี้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำ.เพราะจำเลยในคดีนี้มิใช่คู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อน. การที่บุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้ามาในคดีด้วยความสมัครใจเอง. ไม่ทำให้ฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นฟ้องซ้ำ. ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอด. ไม่ว่าบุตรเขยจำเลยจะมีอำนาจร้องสอดหรือไม่. คำพิพากษาคดีก่อนจะผูกพันโจทก์กับผู้ร้องสอดเพียงใดหรือไม่. และคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจะเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่. ศาลก็ย่อมพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปได้โดยไม่จำต้องแยกวินิจฉัยคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องขับไล่บุคคลเดิมและบุคคลที่ร้องสอดคดี ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำหากไม่ใช่คู่ความเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขับไล่บุตรเขยจำเลยให้รื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาท ซึ่งอ้างว่าเป็นของโจทก์บุตรเขยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่พิพาทบุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้าต่อสู้คดีร่วมกับจำเลย ดังนี้คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะจำเลยในคดีนี้มิใช่คู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีก่อนการที่บุตรเขยจำเลยร้องสอดเข้ามาในคดีด้วยความสมัครใจเองไม่ทำให้ฟ้องระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นฟ้องซ้ำส่วนคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอด ไม่ว่าบุตรเขยจำเลยจะมีอำนาจร้องสอดหรือไม่ คำพิพากษาคดีก่อนจะผูกพันโจทก์กับผู้ร้องสอดเพียงใดหรือไม่และคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจะเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ศาลก็ย่อมพิจารณาพิพากษาคดีนี้ต่อไปได้โดยไม่จำต้องแยกวินิจฉัยคดีระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ ทางพิพาทปิดกั้น ค่าเสียหายละเมิด และอำนาจฟ้องจำเลยร่วม
ค่าเสียหายฐานทำละเมิดปิดทางภารจำยอมติดต่อกันตลอดมาคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งปีก่อนฟ้อง
เมื่อจำเลยจงใจทำผิดกฎหมายโดยแกล้งปิดทาง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายย่อมเป็นผู้ทำละเมิด และจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนไม่ได้ ศาลก็อาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินจำเลยสำหรับล้อเกวียนบรรทุกข้าวเข้าออกระหว่างโรงสีโจทก์ (ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์)กับทางสาธารณประโยชน์ตลอดมากว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ แม้เพื่อประโยชน์การค้าก็ไม่มีกฎหมายจำกัด ว่าจะเป็นภารจำยอมไม่ได้
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นไม่ใช่คำฟ้อง แต่เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้หมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความแล้ว บุคคลภายนอกก็ย่อมเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) แม้มิได้เป็นคู่ความตามคำฟ้องมาแต่แรก ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ การปิดทางละเมิด ค่าเสียหาย และอำนาจฟ้องจำเลยร่วม
ค่าเสียหายฐานทำละเมิดปิดทางภารจำยอมติดต่อกันตลอดมา.คงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งปีก่อนฟ้อง.
เมื่อจำเลยจงใจทำผิดกฎหมายโดยแกล้งปิดทาง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายย่อมเป็นผู้ทำละเมิด และจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน. แม้โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนไม่ได้. ศาลก็อาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด.
โจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินจำเลยสำหรับล้อเกวียนบรรทุกข้าวเข้าออกระหว่างโรงสีโจทก์ (ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์)กับทางสาธารณประโยชน์ตลอดมากว่า 10 ปี. ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ. แม้เพื่อประโยชน์การค้าก็ไม่มีกฎหมายจำกัด.ว่าจะเป็นภารจำยอมไม่ได้.
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นไม่ใช่คำฟ้อง. แต่เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้หมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความแล้ว.บุคคลภายนอกก็ย่อมเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3). แม้มิได้เป็นคู่ความตามคำฟ้องมาแต่แรก. ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความและผลกระทบของการปิดทาง การชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิด และการเป็นคู่ความ
ค่าเสียหายฐานทำละเมิดปิดทางภารจำยอมติดต่อกันตลอดมาคงขาดอายุความเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งปีก่อนฟ้อง
เมื่อจำเลยจงใจทำผิดกฎหมายโดยแกล้งปิดทาง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายย่อมเป็นผู้ทำละเมิด และจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนไม่ได้ ศาลก็อาจกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านที่ดินจำเลยสำหรับล้อเกวียนบรรทุกข้าวเข้าออกระหว่างโรงสีโจทก์ (ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์) กับทางสาธารณประโยชน์ตลอดมากว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมโดยทางอายุความ แม้เพื่อประโยชน์การค้าก็ไม่มีกฎหมายจำกัด ว่าจะเป็นภารจำยอมไม่ได้
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นไม่ใช่คำฟ้อง แต่เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้หมายเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความแล้ว บุคคลภายนอกก็ย่อมเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) แม้มิได้เป็นคู่ความตามคำฟ้องมาแต่แรกศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ได้
of 16