คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอบังคับชัดเจน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้นำที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจำนวน 2 แปลงตามฟ้องออกขายแล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่งนั้นความจริงผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมในการซื้อที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่แรก ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวโดยกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาจ่ายค่าซื้อทรัพย์บางส่วนและบางส่วน ได้ใช้เงินส่วนตัวชำระไป เฉพาะส่วนของจำเลยและโจทก์นั้นรวมราคาทรัพย์สินทั้งสองรายการเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จึงขอร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)เมื่อคำร้องสอดเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 แต่คำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอให้ศาลบังคับ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีผู้ร้องสอดชนะคดีในประเด็นข้อพิพาท จึงไม่เป็นคำร้องสอดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณา แม้ตามคำร้องสอดระบุว่า โจทก์และจำเลยมีสิทธิในทรัพย์สินเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์กับจำเลย โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นเงิน1,600,000 บาท และขอแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 800,000 บาทคำร้องสอดดังกล่าวแสดงถึงสิทธิของผู้ร้องสอดว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันคิดเป็นเงิน 1,500,000 บาท ก็ตาม ก็มิใช่คำขอบังคับตามความหมายในมาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีคำขอให้บังคับคู่ความชัดเจน หากไม่มี ศาลไม่รับพิจารณา แม้แสดงสิทธิในทรัพย์สิน
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า ที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้นำที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยจำนวน 2 แปลง ตามฟ้องออกขายแล้วนำเงินมาแบ่งกันคนละครึ่งนั้น ความจริงผู้ร้องสอดมีส่วนร่วมในการซื้อที่ดินดังกล่าวมาตั้งแต่แรก ผู้ร้องสอดได้ซื้อทรัพย์สินดังกล่าวโดยกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาจ่ายค่าซื้อทรัพย์บางส่วนและบางส่วนได้ใช้เงินส่วนตัวชำระไป เฉพาะส่วนของจำเลยและโจทก์นั้นรวมราคาทรัพย์สินทั้งสองรายการเป็นเงินไม่เกิน 100,000 บาท จึงขอร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(1) เมื่อคำร้องสอดเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 แต่คำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอให้ศาลบังคับคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีผู้ร้องสอดชนะคดีในประเด็นข้อพิพาท จึงไม่เป็นคำร้องสอดที่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
แม้ตามคำร้องสอดระบุว่า โจทก์และจำเลยมีสิทธิในทรัพย์สินเพียง 100,000 บาท เท่านั้น การที่โจทก์มาฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์กับจำเลย โดยตีราคาทรัพย์สินเป็นเงิน 1,600,000 บาท และขอแบ่งกรรมสิทธิ์เป็นเงิน 800,000บาท คำร้องสอดดังกล่าวแสดงถึงสิทธิของผู้ร้องสอดว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยพิพาทกันคิดเป็นเงิน 1,500,000 บาท ก็ตาม ก็มิใช่คำขอบังคับตามความหมายในมาตรา 172 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์และการยกข้อเท็จจริง/กฎหมายใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลต้องรับฟังหากคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ให้เหตุผล
อุทธรณ์เป็นคำฟ้องชนิดหนึ่ง ดังนั้น คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อใดขึ้นมาอุทธรณ์ คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องบรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อนั้นให้ชัดแจ้งมาในคำฟ้องอุทธรณ์ ซึ่งหมายความรวมตลอดไปถึงคำคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร ส่วนเนื้อหาของคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลยและคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น หากไม่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อุทธรณ์แล้วก็ไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องอุทธรณ์โดยละเอียด
ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยแล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยบรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ใจความว่า โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลย 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำฟ้องโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยค้างดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด มิใช่นับแต่วันกู้ และดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปแล้วมิใช่อัตราร้อยละ 15 ต่อปีหากแต่เป็นอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งขัดต่อกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามโดยมิชอบ จำเลยมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะสืบแสดงตามข้อต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานจึงเป็นการตัดสิทธิของจำเลย ดังนี้ เห็นได้แล้วว่าจำเลยอุทธรณ์เรื่องอะไรด้วยเหตุผลอะไร ทั้งในคำสั่งของศาลชั้นต้นก็มิได้ให้เหตุผลอันจะทำให้จำเลยสามารถยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นมาโต้แย้งได้ อุทธรณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ส่วน ป.วิ.พ.มาตรา 246 ที่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาบังคับใช้ในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลมนั้น หมายถึงให้อนุโลมใช้บางเรื่องเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยอ้างว่าไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องระบุข้อเท็จจริง/กฎหมายที่อุทธรณ์ชัดเจน ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกอุทธรณ์
อุทธรณ์เป็นคำฟ้องชนิดหนึ่ง ดังนั้น คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อในขึ้นมาอุทธรณ์คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องบรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อนั้นให้ชัดแจ้งมาในคำฟ้องอุทธรณ์ ซึ่งหมายความรวมตลอดไปถึงคำคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร ส่วนเนื้อหาของคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลย และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น หากไม่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อุทธรณ์แล้วก็ไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องอุทธรณ์โดยละเอียด ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงวดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยบรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ใจความว่า โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลย500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำฟ้องโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยค้างดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด มิใช่นับแต่วันกู้ และดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปแล้วมิใช่อัตราร้อยละ 15 ต่อปี หากแต่เป็นอัตราร้อยละ 25 ต่อปี ซึ่งขัดต่อกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามโดยมิชอบ จำเลยมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะสืบแสดงตามข้อต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงวดชี้สองสถานและงดสืบพยานจึงเป็นการตัดสิทธิของจำเลยดังนี้ เห็นได้แล้วว่าจำเลยอุทธรณ์เรื่องอะไรด้วยเหตุผลอะไรทั้งในคำสั่งของศาลชั้นต้นก็มิได้ให้เหตุผลอันจะทำให้จำเลยสามารถยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นมาโต้แย้งได้อุทธรณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246ที่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาบังคับใช้ในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลมนั้นหมายถึงให้อนุโลมใช้บางเรื่องเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยอ้างว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6445/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดตามมาตรา 57(1) ต้องมีคำขอบังคับชัดเจนเสมือนฟ้องคดีใหม่ มิฉะนั้นศาลไม่รับพิจารณา
คำร้องสอดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) มีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) จึงต้องแสดง โดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสองและเมื่อผู้ร้องสอดได้เข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1)แล้วย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดี เรื่องใหม่ตามมาตรา 58 เมื่อคำร้องสอดของผู้ร้องไม่มี คำขอบังคับ จึงไม่อาจทราบได้ว่าผู้ร้องสอดจะขอเข้ามาเป็นโจทก์ หรือจำเลย คำร้องสอดของผู้ร้องสอดเพียงแต่แสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาเท่านั้น แต่ไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง หรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวว่าอย่างไร จึงเป็นคำร้องสอด ที่ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6445/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดต้องมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับชัดเจน จึงจะรับไว้พิจารณาได้
คำร้องสอดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) มีลักษณะเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1 (3) จึงต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามมาตรา 172 วรรคสอง และเมื่อผู้ร้องสอดได้เข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1) แล้วย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 เมื่อคำร้องสอดของผู้ร้องไม่มีคำขอบังคับ จึงไม่อาจทราบได้ว่าผู้ร้องสอดจะขอเข้ามาเป็นโจทก์หรือจำเลยคำร้องสอดของผู้ร้องสอดเพียงแต่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเท่านั้น แต่ไม่มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้งหรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวว่าอย่างไร จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลโต้แย้งการรับเงินในสัญญากู้ยืม และประเด็นการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์จะมิได้ยกข้อกฎหมายเรื่องห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ขึ้นว่ากล่าวไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง และเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสอง ระบุว่าสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะยืมใช้สิ้นเปลือง ดังนั้นที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมเป็นเหตุให้สัญญากู้ยืมเงินไม่บริบูรณ์ทั้งไม่มีมูลหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์จำเลย การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์ จำเลยย่อมนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่
เมื่ออุทธรณ์โจทก์ไม่มีประเด็นว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างประเด็นดังกล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์ แต่คำแถลงการณ์ไม่ใช่คำฟ้องอุทธรณ์โจทก์จะตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแถลงการณ์ไม่ได้ ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องชำระหนี้แก่โจทก์จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งต้องชัดเจน ระบุข้อหาและพยานหลักฐานครบถ้วน เอกสารเพิ่มเติมไม่ทำให้คำร้องเคลือบคลุมสมบูรณ์
คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องจึงต้องบรรยายคำร้องให้แจ้งชัดสภาพแห่งข้อหาของผู้ร้องรวมทั้งคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา การอ้างเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณาคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง มิใช่ส่วนหนึ่งของคำร้องคัดค้าน เมื่อคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งเป็นคำร้องที่เคลือบคลุมเอกสารดังกล่าวจึงไม่ทำให้คำร้องที่เคลือบคลุมเป็นคำร้องที่สมบูรณ์ขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องระบุความสัมพันธ์ของผู้เอาประกันภัยกับผู้ขับขี่ มิเช่นนั้นถือเป็นฟ้องแย้งที่เคลือบคลุม
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(3)ฟ้องแย้งก็เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งดังนั้นการบรรยายฟ้องแย้งก็ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองด้วยแต่ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองมิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่โจทก์และผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดด้วยเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองมิได้บรรยายถึงเหตุที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดแล้วโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบจึงไม่ต้องรับผิดด้วยคำฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งต้องแสดงความสัมพันธ์ของผู้เอาประกันภัยกับผู้ขับขี่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งก็เป็นคำฟ้องอย่างหนึ่งดังนั้นการบรรยายฟ้องแย้งก็ต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองด้วย แต่ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองมิได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์ไว้แก่โจทก์ และผู้ขับรถยนต์คันดังกล่าวในขณะเกิดเหตุมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยอันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดด้วย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองมิได้บรรยายถึงเหตุที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่อเป็นวินาศภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบ จึงไม่ต้องรับผิดด้วย คำฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเคลือบคลุม
of 16