คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 1 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 159 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5193/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้แสดงสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมถึงข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
ฟ้องฎีกาถือว่าเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงให้ชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ฎีกาของจำเลยมิได้บรรยายถึงเนื้อหาแห่งคำฟ้อง คำให้การ คำพิพากษาศาลชั้นต้น และคู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ เมื่ออ่านโดยตลอดแล้ว ไม่อาจทราบได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยว่าอย่างไร จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าอย่างไร ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าอย่างไร ทั้งไม่อาจทราบได้ว่าข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้น เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นหรือไม่ ฟ้องฎีกาของจำเลยจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172ประกอบด้วยมาตรา 246,247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน โดยคดีก่อนหน้าไม่เป็นอุปสรรค
จำเลยฟ้อง ป. เป็นจำเลยต่อศาลว่า ป. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทแล้วไม่จดทะเบียนการเช่าให้ ขอให้พิพากษาบังคับให้ ป. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีดังกล่าว แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เป็นการห้ามมิให้โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก ป. ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่า จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ป. และศาลพิพากษาให้ ป. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ในคดีดังกล่าว และศาลก็ยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวดังกล่าวขอให้ขับไล่ จึงมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีดังกล่าวคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว
จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิในทรัพย์สิน โดยคดีก่อนไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟ้องคดีใหม่
จำเลยฟ้อง ป. เป็นจำเลยต่อศาลว่า ป. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทแล้วไม่จดทะเบียนการเช่าให้ ขอให้พิพากษาบังคับให้ ป. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีดังกล่าว แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เป็นการห้ามมิให้โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก ป. ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว โจทก์ฟ้องขับไล่ อ. ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่า จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ป. และศาลพิพากษาให้ ป. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ใช่บริวารของ อ. การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. ในคดีดังกล่าว และศาลก็ยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวดังกล่าวขอให้ขับไล่ จึงมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีดังกล่าวคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลาที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการเลือกตั้งต้องเป็นไปตามเหตุที่กฎหมายกำหนด และคำร้องต้องชัดเจนไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 78 บัญญัติเหตุอันจะพึงร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ไว้โดยเฉพาะว่าต้องมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 เท่านั้น ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยตนเองหรือตัวแทนของตนได้ให้อามิสสินจ้างแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะต้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 78 ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 3 ได้พิมพ์โฆษณารูปผู้ร้อง ชื่อพรรคซึ่งผู้ร้องสังกัดอยู่ และชื่อผู้ร้องในแผ่นพิมพ์โฆษณา แต่บอกหมายเลขประจำตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ไว้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามหมายเลขดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริงนั้นก็เป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 67 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 78 จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณา
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 79 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง แต่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหล่นหายและขีดฆ่าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนซึ่งมีตัวตนออกโดยพลการ มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ากรรมการผู้ใดได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อหล่นหายหรือขีดฆ่าชื่อผู้ใดซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งออกพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งใดจงใจไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 52 จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ต้องเป็นไปตาม กม.เฉพาะ และคำร้องต้องชัดเจนตามหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 78 บัญญัติเหตุอันจะพึงร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ไว้โดยเฉพาะว่าต้องมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 เท่านั้นตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2และผู้คัดค้านที่ 3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยตนเองหรือตัวแทนของตนได้ให้อามิสสินจ้างแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 นั้น จึงเป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 78 ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 3 ได้พิมพ์โฆษณารูปผู้ร้อง ชื่อพรรคซึ่งผู้ร้องสังกัดอยู่และชื่อผู้ร้องในแผ่นพิมพ์โฆษณา แต่บอกหมายเลขประจำตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ไว้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามหมายเลขดังกล่าวซึ่งไม่เป็นความจริงนั้นก็เป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 67 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 78 จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณาพระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 79 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง แต่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหล่นหายและขีดฆ่าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนซึ่งมีตัวตนออกโดยพลการ มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ากรรมการผู้ใดได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อหล่นหายหรือขีดฆ่าชื่อผู้ใดซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งออก พอที่จะให้เข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งใดจงใจไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 52จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องต้องไม่เปลี่ยนที่ดินพิพาทเป็นแปลงอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม มิฉะนั้นศาลไม่อนุญาต
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันมีคำสั่ง
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์โจทก์โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนพอแก่การวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวว่าจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกว่า จำเลยนำที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97 เนื้อที่ 29 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 23 ของเจ้ามรดกไปออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 603 เป็นของจำเลยเป็นส่วนตัว และขอแก้ไขคำฟ้องจากที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97 ฯ เป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 เนื้อที่ 36 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 3 ซึ่งเป็นของ ก. เป็นการขอแก้เป็นที่ดินต่างแปลงกันและเป็นที่ดินของบุคคลอื่นจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง, ผลกระทบต่อการรับคำคู่ความ, สิทธิอุทธรณ์, การวินิจฉัยของศาลฎีกา
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องมีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในระหว่างพิจารณา โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันมีคำสั่ง
โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์โจทก์โดยให้เหตุผลว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ฎีกาและศาลฎีกาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนพอแก่การวินิจฉัยศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวว่าจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกว่า จำเลยนำที่ดินตาม น.ส.3เลขที่ 97 เนื้อที่ 29 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 23 ของเจ้ามรดกไปออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 603 เป็นของจำเลยเป็นส่วนตัวและขอแก้ไขคำฟ้องจากที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 97ฯ เป็นที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่ 55 หมู่ที่ 6 เนื้อที่ 36 ไร่ ตามบัญชีทรัพย์อันดับ 3 ซึ่งเป็นของ ก. เป็นการขอแก้เป็นที่ดินต่างแปลงกันและเป็นที่ดินของบุคคลอื่นจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 ที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตั้งแต่แรก แม้แก้ไขภายหลังก็ไม่อาจใช้ได้
เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนดังที่กล่าวในฟ้อง ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก แม้ต่อมาโจทก์ที่ 2 จะได้ยื่นใบมอบอำนาจที่แท้จริงต่อศาล ก็หาทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้มาแต่ต้นกลับคืนดีขึ้นมาในภายหลังไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยร่วมต้องอยู่ในขอบเขตหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการ หากเกินขอบเขตถือเป็นฟ้องบุคคลนอกเหนือที่ได้รับมอบหมาย
หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า'องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยนายยรรยงคุโรวาทรองผู้อำนวยการ(บริหาร)ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้นายเสริมชาติสุจริตพงศ์ฟ้องนายจำลองรุธิระวุฒิบริษัทขอนแก่นยนต์จำกัดบริษัทธนกิจประกันภัยจำกัดต่อศาลแพ่งในเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหายทั้งนี้ให้รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆทั้งในศาลและนอกศาล......ฯลฯ...'ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไปและระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องเฉพาะจำเลยทั้งสามเท่านั้นแม้คำร้องของผู้รับมอบอำนาจช่วงที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีมิใช่คำฟ้องแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีแล้วก็มีผลให้จำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องจำเลยร่วมให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยและที่มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นๆทั้งในศาลและนอกศาลนั้นย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงนั้นเท่านั้นผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยร่วมต้องอยู่ในขอบเขตหนังสือมอบอำนาจช่วง การขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้าสู่คดีนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจ
หนังสือมอบอำนาจช่วงมีข้อความว่า 'องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพโดยนายยรรยงคุโรวาท รองผู้อำนวยการ (บริหาร) ผู้รับมอบอำนาจขอมอบอำนาจช่วงให้นายเสริมชาติ สุจริตพงศ์ฟ้องนายจำลองรุธิระวุฒิ บริษัทขอนแก่นยนต์จำกัดบริษัทธนกิจประกันภัย จำกัดต่อศาลแพ่งในเรื่องละเมิดเรียกค่าเสียหาย ทั้งนี้ให้รวมถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาล......ฯลฯ...'ข้อความตามที่ระบุไว้ดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไป และระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงฟ้องเฉพาะจำเลยทั้งสามเท่านั้น แม้คำร้องของผู้รับมอบอำนาจช่วงที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีมิใช่คำฟ้องแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีแล้วก็มีผลให้จำเลยร่วมอาจถูกบังคับตามคำฟ้องได้ซึ่งมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องจำเลยร่วมให้ร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วยและที่มีข้อความระบุให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ทั้งในศาลและนอกศาลนั้นย่อมหมายถึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับจำเลยทั้งสามตามที่ระบุชื่อไว้ในหนังสือมอบอำนาจช่วงนั้นเท่านั้นผู้รับมอบอำนาจช่วงจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี
of 16