พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจริงของผู้เช่า แม้ไม่ระบุในสัญญาเช่า & อำนาจฟ้อง กทพ.
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดค่าทดแทนให้แก่ผู้เช่าที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ถูกเวนคืนไว้ว่าเงินค่าทดแทนในการเช่านี้พึงกำหนดให้เฉพาะที่ผู้เช่าได้เสียหายจริงโดยเหตุที่ต้องออกจากที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างก่อนสัญญาเช่าระงับ การที่คณะกรรมการปรองดองซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนวางหลักเกณฑ์ว่าเงินกินเปล่าที่ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่แท้จริงจะต้องระบุไว้ในสัญญาเช่าเท่านั้น การวางหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทนเท่านั้น มิได้ถือเป็นยุติ เมื่อตกลงกันไม่ได้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนส่วนที่ตนจะได้รับจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 ฉะนั้น เมื่อโจทก์เสียเงินกินเปล่าไปจริง โจทก์จึงได้รับความเสียหายจริง ย่อมมีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนนี้ด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 มีวัตถุประสงค์ดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทางพิเศษ ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ เพื่อให้บรรลุผลในการสร้างทางพิเศษในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการทางพิเศษฯ และเป็นผู้กระทำแทนการทางพิเศษฯ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่ากระทำในฐานะการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 604/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่หลังบอกเลิกสัญญาเช่า แม้มีเวนคืนที่ดินบางส่วน
เดิมที่พิพาทเป็นของกรมชลประทานโจทก์จำเลยเช่าที่นี้จากโจทก์ปลูกสร้างอาคารต่อมาเมื่อ พ.ศ.2486 มีพระราชบัญญัติออกมาเวนคืนที่ดินเพื่อขยายทางหลวงที่พิพาทบางส่วนถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย แต่เรือนโรงของจำเลยก็ยังคงปลูกอยู่ในที่พิพาทโดยสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยตลอดมาจนถึง พ.ศ.2495 แล้วโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเมื่อที่พิพาทยังอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ โจทก์บอกเลิกการเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ตลอดถึงที่พิพาทส่วนที่ถูกเวนคืนให้แก่กรมทางหลวงแผ่นดินแล้วนั้นด้วยเมื่อจำเลยรับว่าได้เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยเช่าจากโจทก์ เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยก็ต้องส่งมอบที่พิพาทคืนให้โจทก์ จำเลยไม่มีทางจะโต้เถียงอำนาจของโจทก์ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984-990/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืนเมื่อพ้น 5 ปี แม้ยังไม่ได้ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
การตั้งอนุญาโตตุลาการ กำหนดค่าทำขวัญตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น ก็เพื่อให้ระงับข้อพิพาท เมื่อไม่ได้มีการตกลงหรือชี้ขาดระงับข้อพิพาทแล้ว ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการให้เสร็จใน 5 ปีตามความในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯเมื่อพ้น 5 ปีแล้วถ้ามิได้เข้าทำประโยชน์ในที่ เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนย่อมมีสิทธิขอที่ดินนั้นคืน ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 ได้ ไม่จำต้องรอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนเพื่อกิจการค้าไม่ใช่สาธารณูปโภค การเวนคืนจึงไม่ถูกต้อง กรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่ตกเป็นของเจ้าหน้าที่
เวนคืนที่ดินของเอกชนเพื่อขยายกิจการของโรงงานเนื้อสัตว์นั้นถือว่ากิจการของโรงงานเนื้อสัตว์เป็นการค้า ไม่ใช่สาธารณูปโภคการเวนคืนที่ดินเพื่อการนี้ จึงหาใช่เพื่อสาธารณูปโภคฉะนั้นการเวนคืน จึงเป็นการไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา5 ฉะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ตกมาเป็นของเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2477 มาตรา 10
และในกรณีเช่นนี้ แม้จะฟ้องคดี พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนด 5 ปี ของวันประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ตามมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 32 ก็ดีก็จะเอามาปรับแก่กรณีเช่นนี้ ไม่ได้เพราะอายุความตามมาตราเหล่านี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการเวนคืนได้กระทำโดยถูกต้อง
และในกรณีเช่นนี้ แม้จะฟ้องคดี พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันพ้นกำหนด 5 ปี ของวันประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ ตามมาตรา 32 แห่ง พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 32 ก็ดีก็จะเอามาปรับแก่กรณีเช่นนี้ ไม่ได้เพราะอายุความตามมาตราเหล่านี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อการเวนคืนได้กระทำโดยถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนที่ดินเวนคืน หากไม่ถูกใช้ประโยชน์ภายใน 5 ปี และการฟ้องนิติบุคคล
ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯนั้น เมื่อไม่มีการตกลงเรื่องค่าทำขวัญภายใน 5 ปีโดยมิใช่ความผิดของเจ้าของที่ดิน และทางฝ่ายรัฐบาลก็ยังไม่ได้เคยใช้ หรือกำลังใช้ที่ดินนั้นตามความประสงค์ในการเวนคืนนั้นแล้ว เจ้าของที่ดินนั้นย่อมมีสิทธิได้รับคืนที่ดินนั้น
ที่ดินถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ หลายเจ้าของด้วยกัน ถ้าที่ดินของใครมิได้ถูกใช้หรือถูกใช้แต่บางส่วน ก็ยังขอคืนส่วนที่เหลือได้
การฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยนั้นโจทก์เพียงแต่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลย ไม่ระบุชื่อบุคคลผู้แทนนิติบุคคลมาด้วย ก็ย่อมใช้ได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย
ที่ดินถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ หลายเจ้าของด้วยกัน ถ้าที่ดินของใครมิได้ถูกใช้หรือถูกใช้แต่บางส่วน ก็ยังขอคืนส่วนที่เหลือได้
การฟ้องนิติบุคคลเป็นจำเลยนั้นโจทก์เพียงแต่ระบุชื่อนิติบุคคลเป็นจำเลย ไม่ระบุชื่อบุคคลผู้แทนนิติบุคคลมาด้วย ก็ย่อมใช้ได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีผู้ดำเนินการอยู่ในตัวตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินล่าช้า เจ้าของมีสิทธิขอที่ดินคืนได้
เมื่อได้มี พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อขยายเขตท่าเรือกรุงเทพฯ 2486 เวนคืนที่ดินของราษฎรไปเป็นเวลาเกิน 5 ปีแล้ว โดยกระทรวงเจ้าหน้าที่ผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัติมิได้จัดการใช้ที่ดินนั้นเลยหรือมิได้จัดการใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนนั้นเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนนั้นมีอำนาจขอที่ดินที่ถูกเวนคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนขายฝากหลังมี พ.ร.บ.เวนคืน
ขายฝากที่ดินไว้แล้วภายหลังมี พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ผู้ขายฝากก็ขอไถ่ถอนได้