พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเงินค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และการพิจารณาผลกระทบจากความล่าช้า
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ คือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดิน จากเดิมที่ให้กำหนดโดยถือราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ หรือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นกำหนดโดยคำนึงถึงมาตรา 21 ทั้งมาตรา คือต้องกำหนดโดยเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น และเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) (4) และ (5) มาพิจารณาประกอบกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (2) และ (3) ด้วย และบทบัญญัติมาตรา 9 ที่แก้ไขนี้ ข้อ 5 ของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ซึ่งเป็นวันเวลาก่อนที่โจทก์อุทธรณ์ราคาของอสังหาริมทรัพย์และเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่ต้องเวนคืนในโครงการนี้ไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 จึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 (1) ถึง (5) ประกอบกัน ซึ่งตามมาตรา 21 (1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดนั้นต้องเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ หาใช่เป็นวันภายหลังใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ก็ได้ไม่
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือถึง น. มารดาโจทก์แจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนแล้วก็ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะ น. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว และในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก น. จำเลยที่ 1 จึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ไปฝากไว้ในชื่อของ น. ดังนั้นดอกเบี้ยหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากการฝากเงินนี้จึงตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 31
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้.
จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือถึง น. มารดาโจทก์แจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนแล้วก็ได้ส่งหนังสือดังกล่าวไป แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะ น. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว และในขณะนั้นยังไม่มีผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก น. จำเลยที่ 1 จึงนำเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ไปฝากไว้ในชื่อของ น. ดังนั้นดอกเบี้ยหรือดอกผลที่เกิดขึ้นจากการฝากเงินนี้จึงตกเป็นสิทธิแก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 642 ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 31
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทน การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทนการอุทธรณ์และการฟ้องคดีของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ก็ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมา เพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงจะถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว แล้วแต่กรณี เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง สิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนดังกล่าวมาแล้วจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4441/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยมิชอบ และสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเมื่อที่ดินไม่อยู่ในขอบเขตเวนคืน
เมื่อที่ดินพิพาทมิได้อยู่ในแนวเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลของกรุงเทพมหานคร การดำเนินการเวนคืนที่ดินพิพาทโดยกรุงเทพมหานครจึงเป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ การที่กรุงเทพมหานครโอนที่ดินพิพาทกลับคืนให้แก่โจทก์จึงเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว เมื่อที่ดินพิพาทดังกล่าวถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ - บางโคล่ฯ และตามบัญชีรายชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่ต้องเวนคืนท้าย พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังคงมีชื่อโจทก์กับ ส. และ ณ. เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอยู่ ซึ่งบุคคลทั้งสามมอบอำนาจให้ทนายโจทก์มีหนังสือขอให้จำเลยนำเงินค่าทดแทนที่ดินมาชำระแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้มีการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและจ่ายเงินทดแทนที่ดินให้แก่ฝ่ายโจทก์ตามขั้นตอนของกฎหมาย ทำให้ฝ่ายโจทก์ไม่มีโอกาสที่จะดำเนินการอุทธรณ์หรือฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของฝ่ายโจทก์แล้ว และการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยื่นฟ้อง ให้จำเลยรื้อถอนทางพิเศษในส่วนที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาท หากไม่สามารถที่จะรื้อถอนได้ ก็ให้จำเลยชำระค่าทดแทนที่ดิน ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ความชอบด้วยกฎหมายของแนวเขต, การจ่ายค่าทดแทน, และการดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
จำเลยที่ 3 เจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ซึ่งต่างอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฏ.ฯ ได้ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็เพราะจำเลยที่ 3 ได้รับความเดือดร้อนและเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อไม่ตรงกับมติคณะผู้บริหาร อันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวทั้งนี้ต้องตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2522 มาตรา 18และมาตรา 19 (1) และ (2) (ง) การกระทำของจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นละเมิด
การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่าลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่องร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว
ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณาเรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ.2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพ.ร.ฎ.และประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้
ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงินค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้ว และจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้น เป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การสั่งการของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืน
การที่จำเลยที่ 4 ได้ทำการสำรวจและทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อให้เป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 ก็เพื่อต้องการทราบว่าลักษณะรูปแผนที่และแนวเขตทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว เพื่อเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาประกอบเรื่องร้องทุกข์ ส่วนคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จะเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็อยู่ในดุลพินิจของกรรมการแต่ละคน จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในเขตทางหลวงที่ถูกเวนคืนดังกล่าว
ส่วนจำเลยที่ 8 และที่ 9 ที่ร่วมเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์พิจารณาเรื่องร้องทุกข์ของจำเลยที่ 3 ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งบัญญัติไว้ในภาค 1 หมวด 3 แห่ง พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522 คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนี้ได้ และในการพิจารณาเรื่องนี้คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ก็พิจารณาถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ว่า ทำแผนที่กำหนดแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จะสร้างถูกต้องเป็นไปตามมติคณะผู้บริหารของจำเลยที่ 1 หรือไม่และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ไม่ได้พิจารณาถึงที่ดินหรือการกระทำของโจทก์ ทั้งโจทก์ก็มิได้เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องทุกข์แต่อย่างใดดังนั้น การที่จำเลยที่ 8 และที่ 9 มิได้เรียกโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา ไม่ถือว่ากระทำต่อโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อในที่ดินของโจทก์ก็กระทำโดยอาศัยอำนาจตามพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ พ.ศ.2535 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายเชื่อมระหว่างถนนเพชรบุรีกับซอยทองหล่อ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ซึ่งตามพ.ร.ฎ.และประกาศดังกล่าว หากจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ได้จ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์แล้ว จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นได้
ผู้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าหน้าที่เวนคืนได้วางเงินค่าทดแทนโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์แล้ว และจำเลยที่ 1 จะเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่โจทก์ได้รับหนังสือแจ้ง การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองและใช้ที่ดินของโจทก์สร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนด60 วันนับแต่วันที่แจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้าจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว รวมทั้งไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำนั้น
การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้สั่งให้ถือเอาแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 จัดทำขึ้น เป็นหลักในการสร้างทางหลวงเทศบาลสายดังกล่าว สอดคล้องกับคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่สั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ ให้ถือแนวเขตทางหลวงเทศบาลที่จำเลยที่ 4 โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์จัดทำขึ้นเป็นหลัก ทั้งสอดคล้องกับรูปแผนที่ท้าย พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายนั้น การสั่งการของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการเวนคืน: การประเมินราคาที่ดิน, ความเสียหายทางธุรกิจ, และการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับราคาที่ดินของโจทก์รวมทั้งต้นไม้และความเสียหายจากการที่ถูกเวนคืนโดยคำนวณราคาจากสภาพที่ดิน ราคาต้นไม้ยืนต้นอาคารโรงงานและสิ่งปลูกสร้าง และความเสียหายหากมีการซื้อขายหรือรื้อถอนอาคารโรงงานของโจทก์รวมทั้งโรงงานที่จะต้องสร้างใหม่ ซึ่งเป็นคำฟ้องโจทก์ที่ได้บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วโจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่า ราคาซื้อขายที่ดินแปลงละเท่าใด ต้นไม้ยืนต้นเป็นต้นไม้อะไร ปลูกเมื่อใด ให้ผลอย่างไร โรงงานสร้างเมื่อใด ราคาเท่าใด โรงงานตั้งที่ไหนมีรายละเอียดเช่นใด เพราะเป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของโรงงานพิพาทนับแต่ซื้อโรงงานมาจากบริษัท ล. ซึ่งเป็นเวลาก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองรนะยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2509ใช้บังคับ โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละคนตั้งแต่ปี 2516 มีการเจรจากันเรื่อยมา แต่ตกลงกันไม่ได้ โดยมีการเปลี่ยนอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายเมื่อปี 2522 และมีการนัดเจรจากันหลายครั้ง ดังนี้จะถือว่าอนุญาโตตุลาการเพิกเฉยไม่กระทำการตามหน้าที่ยังไม่ได้ ส่วนการเจรจาไม่เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสมควรนั้น เนื่องมาจากสาเหตุราษฎรร้องเรียนให้ยกเลิกการเวนคืน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ พ.ร.บ.ยกเลิกการเวนคืนถึง 2 ครั้ง ดังนั้นความเป็นอนุญาโตตุลาการจึงยังไม่เป็นอันสิ้นสุด ต้องถือว่าอยู่ในขั้นตอนพิจารณาดำเนินการของอนุญาโตตุลาการ แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งราคาเด็ดขาดให้ฝ่ายโจทก์ทั้งสองทราบและนำเงินค่าทดแทนไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนไป ถือว่าโจทก์ทั้งสองยังโต้แย้งจำนวนค่าทดแทนอยู่ เมื่อต่อมามี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ ให้มีผลยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ในส่วนที่เกี่ยวแก่กรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการและยังมิได้ชี้ขาดให้เป็นอันยกเลิกอนุญาโตตุลาการนั้น โดยให้คู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ดังนั้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ที่ 2 ขยายโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นภายหลังจากมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับซึ่งในเรื่องนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า หากผู้ที่ถูกเวนคืนปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างใดเพิ่มขึ้นภายหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธินำมาเรียกค่าทดแทนได้ ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เดิมก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับผู้ที่ถูกเวนคืนยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ โจทก์ที่ 2 จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนที่มีอยู่ก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
แม้จำเลยที่ 3 กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์จะเป็นการกำหนดค่าทดแทนถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 แต่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เพราะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาหลายปีการกำหนดเงินค่าทดแทนยังไม่สิ้นสุด โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทน ส่วนที่ดินมีราคาสูงขึ้น ต่อมา พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ออกใช้บังคับ ฉะนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นใหม่ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการแก้ไขเพิ่มราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนให้แก่ประชาชนผู้ถูกเวนคืนให้ได้รับความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคท้าย บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน และบุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นด้วย การที่โจทก์ต้องรื้อถอนโรงงานออกไปจากที่ดินที่ถูกเวนคืน จำต้องหยุดการผลิต ทำให้ขาดรายได้จากการประกอบการ โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าว ส่วนค่าชดเชยค่าจ้างที่ต้องเลิกจ้างคนงาน หากโจทก์ที่ 2ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
กองทัพเรือจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่เป็นธรรม ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จึงต้องร่วมรับผิดโดยตำแหน่งหน้าที่กับจำเลยที่ 1
โจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของโรงงานพิพาทนับแต่ซื้อโรงงานมาจากบริษัท ล. ซึ่งเป็นเวลาก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอเมืองรนะยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2509ใช้บังคับ โจทก์ที่ 2 จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนได้
โจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้ตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายละคนตั้งแต่ปี 2516 มีการเจรจากันเรื่อยมา แต่ตกลงกันไม่ได้ โดยมีการเปลี่ยนอนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายเมื่อปี 2522 และมีการนัดเจรจากันหลายครั้ง ดังนี้จะถือว่าอนุญาโตตุลาการเพิกเฉยไม่กระทำการตามหน้าที่ยังไม่ได้ ส่วนการเจรจาไม่เสร็จสิ้นภายในเวลาอันสมควรนั้น เนื่องมาจากสาเหตุราษฎรร้องเรียนให้ยกเลิกการเวนคืน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ พ.ร.บ.ยกเลิกการเวนคืนถึง 2 ครั้ง ดังนั้นความเป็นอนุญาโตตุลาการจึงยังไม่เป็นอันสิ้นสุด ต้องถือว่าอยู่ในขั้นตอนพิจารณาดำเนินการของอนุญาโตตุลาการ แม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งราคาเด็ดขาดให้ฝ่ายโจทก์ทั้งสองทราบและนำเงินค่าทดแทนไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์แล้วก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนไป ถือว่าโจทก์ทั้งสองยังโต้แย้งจำนวนค่าทดแทนอยู่ เมื่อต่อมามี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ ให้มีผลยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ในส่วนที่เกี่ยวแก่กรณีที่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการและยังมิได้ชี้ขาดให้เป็นอันยกเลิกอนุญาโตตุลาการนั้น โดยให้คู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ดังนั้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิอุทธรณ์และฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์ที่ 2 ขยายโรงงานและติดตั้งเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นภายหลังจากมี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวใช้บังคับซึ่งในเรื่องนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มีหลักเกณฑ์อยู่ว่า หากผู้ที่ถูกเวนคืนปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างใดเพิ่มขึ้นภายหลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธินำมาเรียกค่าทดแทนได้ ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เดิมก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับผู้ที่ถูกเวนคืนยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนได้ โจทก์ที่ 2 จึงยังคงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนที่มีอยู่ก่อน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
แม้จำเลยที่ 3 กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์จะเป็นการกำหนดค่าทดแทนถูกต้องตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497 แต่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เพราะเวลาล่วงเลยมาเป็นเวลาหลายปีการกำหนดเงินค่าทดแทนยังไม่สิ้นสุด โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทน ส่วนที่ดินมีราคาสูงขึ้น ต่อมา พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ออกใช้บังคับ ฉะนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนแก่โจทก์จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นใหม่ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการแก้ไขเพิ่มราคาค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนให้แก่ประชาชนผู้ถูกเวนคืนให้ได้รับความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคท้าย บัญญัติให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหา-ริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน และบุคคลดังกล่าวได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นด้วย การที่โจทก์ต้องรื้อถอนโรงงานออกไปจากที่ดินที่ถูกเวนคืน จำต้องหยุดการผลิต ทำให้ขาดรายได้จากการประกอบการ โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายดังกล่าว ส่วนค่าชดเชยค่าจ้างที่ต้องเลิกจ้างคนงาน หากโจทก์ที่ 2ได้รับความเสียหายจริง โจทก์ที่ 2 ย่อมมีสิทธิเรียกจากจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้
กองทัพเรือจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลสังกัดกระทรวงกลาโหมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากจำเลยที่ 1 ต้องใช้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นภารกิจของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์เห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนไม่เป็นธรรม ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานในสังกัดของจำเลยที่ 1 และเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จึงต้องร่วมรับผิดโดยตำแหน่งหน้าที่กับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.เวนคืน และการกำหนดราคาตามปีที่ใช้บังคับ พ.ร.ฎ.แนวทางหลวง
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก ฯ พ.ศ.2532 ที่กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเท่านั้นที่เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพื่อให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้ในการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 6 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้แทนกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง โจทก์ทั้งสิบสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้ในช่องคู่ความตามคำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวง แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และขอให้รับผิดชอบชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ส่วนการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ที่กรมการขนส่งทางบกก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ย้ายไปรับราชการที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว จึงหาใช่ฟ้องจำเลยที่ 2ให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่
สำหรับโจทก์ที่ 8 ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-คมนาคมนั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก อันเป็นผลถึงโจทก์ที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองว่า จำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และนำไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 12 โจทก์ทั้งสิบสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินจึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ทั้งสิบสองเป็นตารางวาละ 12,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสิบสองเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสิบสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองจึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องแสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสิบสองได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อใดและยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงคมนาคมเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองจึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ซึ่งขณะนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับอยู่ แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 อันเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534มีผลใช้บังคับแล้ว การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบภายหลังประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับและโจทก์ทั้งสิบสองฟ้องคดีนี้ต่อมาการกำหนดราคาค่าทดแทนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) มิใช่กำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแต่เพียงอย่างเดียวดังที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นปฏิบัติ แต่เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อน และเมื่อพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพ-มหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบังพ.ศ.2532 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 คือวันที่ 20 มีนาคม 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งจะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนและแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535หลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ใช้บังคับนานถึง 10 ปีเศษ การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยใช้ราคาที่ดินในปี 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่ว่า "ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่กับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ พ.ร.บ.ที่เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองใช้บังคับ จึงจะเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำราคาที่ดินในปี 2532 มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
ในวันที่ 13 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 12 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ส่วนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม
เอกสารหมาย ล.59 และ ล.60 มิใช่หนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหนังสือขอความเป็นธรรม และในขณะยื่นเอกสารดังกล่าว สิทธิในการยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองนำไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 ตามหนังสือแจ้งการวางทรัพย์ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2535 วันที่ 7 และ 12 พฤษภาคม 2535 โดยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 7 ถือว่ายื่นในนามของโจทก์ที่ 8 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย จึงไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ซ้ำซ้อน และเป็นการยื่นอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากจำเลยทั้งสองแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี และโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด60 วัน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้น คดีโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 จึงไม่ขาดอายุความ
สำหรับโจทก์ที่ 8 ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-คมนาคมนั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก อันเป็นผลถึงโจทก์ที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองว่า จำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และนำไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 12 โจทก์ทั้งสิบสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินจึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ทั้งสิบสองเป็นตารางวาละ 12,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสิบสองเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสิบสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองจึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องแสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสิบสองได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อใดและยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงคมนาคมเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองจึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ซึ่งขณะนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับอยู่ แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 อันเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534มีผลใช้บังคับแล้ว การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบภายหลังประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับและโจทก์ทั้งสิบสองฟ้องคดีนี้ต่อมาการกำหนดราคาค่าทดแทนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) มิใช่กำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแต่เพียงอย่างเดียวดังที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นปฏิบัติ แต่เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อน และเมื่อพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพ-มหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบังพ.ศ.2532 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 คือวันที่ 20 มีนาคม 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งจะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนและแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535หลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ใช้บังคับนานถึง 10 ปีเศษ การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยใช้ราคาที่ดินในปี 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่ว่า "ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่กับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ พ.ร.บ.ที่เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองใช้บังคับ จึงจะเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำราคาที่ดินในปี 2532 มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
ในวันที่ 13 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 12 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ส่วนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม
เอกสารหมาย ล.59 และ ล.60 มิใช่หนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหนังสือขอความเป็นธรรม และในขณะยื่นเอกสารดังกล่าว สิทธิในการยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองนำไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 ตามหนังสือแจ้งการวางทรัพย์ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2535 วันที่ 7 และ 12 พฤษภาคม 2535 โดยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 7 ถือว่ายื่นในนามของโจทก์ที่ 8 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย จึงไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ซ้ำซ้อน และเป็นการยื่นอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากจำเลยทั้งสองแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี และโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด60 วัน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้น คดีโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักการกำหนดราคาที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และผลกระทบจากประกาศ คสช. ฉบับที่ 44
พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า... พ.ศ.2522 ได้ตราออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามข้อ 78 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2514 อายุการบังคับใช้ของ พ.ร.ฎ.จึงต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 79 พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงให้ใช้ได้มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 10 พศฤจิกายน 2522 แม้ต่อมาได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 ใช้บังคับ ซึ่งมาตรา 7ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295...แล้วก็ตามแต่มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างและประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ให้คงใช้บังคับได้ตามอายุของพ.ร.ฎ.นั้น และวรรคสองของมาตรานี้บัญญัติทำนองเดียวกันกับมาตรา 36 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพ.ร.บ.นี้ให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ดังนั้น พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่แขวงหัวหมาก... เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข343 สายคลองตัน-ลาดกระบัง พ.ศ.2532 มีผลใช้บังคับวันที่ 7 กันยายน 2532ซึ่งอยู่ภายในกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงฯการเวนคืนรายนี้จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่ามีการออก พ.ร.ฎ.ตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายนพ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้น การดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และในขณะดำเนินคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ออกใช้บังคับซึ่งข้อ 1 บัญญัติว่าให้ยกเลิกความในวรรคสี่และวรรคห้าของมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนให้คณะกรรมการกำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 18 มาตรา 21 มาตรา 22และมาตรา 24..." และข้อ 5 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่และวรรคห้า... แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนั้น การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงอนุมาตรา (1) ถึง (5) เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม อันเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน
สำหรับคดีนี้ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ.2522 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 แล้ว แต่กรมทางหลวง จำเลยที่ 1 เพิ่งวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2533การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวง จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควร แต่ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่มิได้เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดเป็นเขตแนวทางหลวงตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว ทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ในพ.ศ.2522 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า... พ.ศ.2522 อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่าง พ.ศ. 2531-2534 ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์
สำหรับคดีนี้ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ.2522 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2522 แล้ว แต่กรมทางหลวง จำเลยที่ 1 เพิ่งวางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2533การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวง จำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควร แต่ปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานกว่า 10 ปี เป็นการดำเนินการที่มิได้เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2521 มาตรา33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดเป็นเขตแนวทางหลวงตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว ทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ในพ.ศ.2522 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า... พ.ศ.2522 อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ สำหรับคดีนี้ศาลฎีกาเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ ควรเป็นราคาตามราคาประเมินที่ดินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมระหว่าง พ.ศ. 2531-2534 ของกรมที่ดินซึ่งใช้ก่อนและในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 วางเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ณ สำนักงานวางทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการชดเชยที่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ และผลกระทบจากกฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์...พ.ศ.2524 ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ก็ตาม แต่ต่อมามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2530 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสอง กับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 36 วรรคสอง บัญญัติรับกันว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.บ.ทั้งสองนี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ส่วนประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9 วรรคสี่ และวรรคห้า... แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใชับังคับด้วย ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์ และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองใน พ.ศ.2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21 แล้ว
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน 2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสินเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์ และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองใน พ.ศ.2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นธรรม พิจารณาสภาพที่ตั้งและวัตถุประสงค์การเวนคืน
ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม มาตรา 5 นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืน แม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตาม พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น เป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและทื่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์ และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ นั้น ที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใด จึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกา ฯ ใช้บังคับประมาณ 3 เดือน อันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริง และเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่เป็นธรรมต้องพิจารณาสภาพที่ดิน, ที่ตั้ง, และวัตถุประสงค์การเวนคืน
พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5 บัญญัติให้จำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ โดยนอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย และตาม พ.ร.บ. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 6กำหนดให้จำเลยมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย เมื่อจำเลยได้รับที่ดินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนราคาให้แก่โจทก์ตามราคาของที่ดินของโจทก์ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ จึงถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม
ที่ดินพิพาทของโจทก์ด้านหนึ่งติดทะเล อีกด้านหนึ่งติดถนนซอยสาธารณะ โจทก์ได้ปรับปรุงที่ดินทั้งแปลงให้มีสภาพที่ดีขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยทั้งที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา ไม่มากจนถึงกับมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆ ลดหลั่นลงไปตามหน่วยที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อำเภอเมืองระยอง ปี 2525 -2527 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลงเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ตามบัญชีกำหนดราคา ฯ ในส่วนที่ดินนอกเขตสุขาภิบาลฝั่งทิศใต้ถนนสุขุมวิท บริเวณชายทะเลห่างจากทะเลหรือถนนริมทะเลรัศมี 100 เมตร จึงชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527
ที่ดินพิพาทของโจทก์ด้านหนึ่งติดทะเล อีกด้านหนึ่งติดถนนซอยสาธารณะ โจทก์ได้ปรับปรุงที่ดินทั้งแปลงให้มีสภาพที่ดีขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยทั้งที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา ไม่มากจนถึงกับมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆ ลดหลั่นลงไปตามหน่วยที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อำเภอเมืองระยอง ปี 2525 -2527 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลงเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ตามบัญชีกำหนดราคา ฯ ในส่วนที่ดินนอกเขตสุขาภิบาลฝั่งทิศใต้ถนนสุขุมวิท บริเวณชายทะเลห่างจากทะเลหรือถนนริมทะเลรัศมี 100 เมตร จึงชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6185/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืนตกเป็นของรัฐทันทีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ ผู้รับโอนไม่สามารถเรียกร้องคืนได้ และต้องอุทธรณ์เรื่องค่าทดแทนตามขั้นตอน
ในขณะที่มี พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายลำปาง - เชียงใหม่ ในท้องที่อำเภอเมืองลำปาง อำเภอห้างฉัตรจังหวัดลำปาง อำเภอแม่ทา อำภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และอำเภอสารภีอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2509 ซึ่งได้ออกตามมาตรา 8แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเวนคืนนั้นตกมาเป็นของจำเลยที่ 1ตามมาตรา 10 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 นับแต่วันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ฉบับดังกล่าวใช้บังคับแล้วหาได้ต้องตกอยู่ในเงื่อนไขว่าจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนก่อนกรรมสิทธิ์จึงจะตกได้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินตามโฉนดเลขที่ 8652 โดยการซื้อขาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์แล้ว โจทก์จึงมิใช่เป็นเจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืน ซึ่งจะเรียกที่ดินคืนโดยอ้างว่าที่ดินดังกล่าวมิได้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนได้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอคืนที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 25 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลตามมาตรา 26 วรรคแรก แต่ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน โจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีตามมาตรา 25วรรคแรก เสียก่อน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง