คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. ตารางท้าย ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์พิพาท: การโต้แย้งกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ขายฝากเกินอำนาจศาลแขวง
ฟ้องว่า ภรรยาเอาสินบริคณห์ไปขายฝากไว้แก่จำเลยเป็นเงิน 8000 บาท แล้วโอนหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากและการโอนเสีย จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่สามี ทรัพย์พิพาทเป็นของหญิงผู้เดียว ดังนี้ถือว่าเป็นฟ้องคดีมีทุนทรัพย์พิพาทกันมีราคา 8000 บาท ไม่ใช่คดีไม่มีทุนทรัพย์
ศาลแขวงพิจารณาพิพากษาคดีเกินอำนาจศาลแขวง, ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลแขวงให้คืนฟ้องโจทก์ไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตตอำนาจ และคืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดแก่โจทก์จำเลยนั้น ศาลฎีกาพิพากษายืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายต่อเนื่องจากการคืนที่ดินพิพาท แม้มิได้เสียค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มเติม ศาลยังคงสั่งจ่ายได้
โจทก์ฟ้องและเรียกนาคืนและค่าเสียหายเป็นรายปี ตั้งแต่ปีที่ฟ้องจำเลยจนกว่าจะส่งคืน โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลฉะเพาะค่าเสียหายในปีที่ฟ้องเท่านั้น ส่วนค่าเสียหายรายปีต่อไประหว่างที่ยังไม่ส่งคืนไม่ต้องเสีย เพราะคดีเข้าลักษณะตามที่บทบัญญัติไว้ใน ป.วิ.แพ่งฯ มาตรา 142(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิชายคู่หมั้น สิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสได้ แม้ของหมั้นเป็นของผู้อื่น
ของหมั้นไม่จำต้องเป็นกรรมสิทธิของชายคู่หมั้น แม้จะเป็นของคนอื่นก็อาจเป็นของหมั้นและตกเป็นกรรมสิทธิแก่หญิงในเมื่อสมรสแล้วได้ ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1436 ก็ใช้คำว่า ฝ่ายชาย มิได้ใช้คำว่า ชาย เฉย ๆ
พ.สามีจำเลยกับจำเลยได้ไปทำการหมั้นโจทก์ให้แก่ จ. ซึ่งเป็นบุตรของ พ. โดยใช้แหวนเป็นของหมั้น แหวนนี้จะเป็นเพียงจำเลยให้ยืม โดย พ.ทราบด้วยหรือไม่ทราบก็ตาม เมื่อปรากฎว่าทางฝ่ายโจทก์และบิดามารดาโจทก์หาได้ทราบความข้อนี้ด้วยไม่ จึงจะเอาข้อตกลงระหว่าง จ.กับจำเลยตลอดจนความไม่รู้ของ พ.หากเป็นความจริง ไปผูกมัดโจทก์ไม่ได้.
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้กำหนดค่าฤชาธรรมเนียมให้โจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายชนะนั้น โจทก์อาจฎีกาได้ตามมาตรา 168 ป.ม.วิ.แพ่ง แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา เป็นแต่เพียงแถลงมาในคำแก้ฎีกานั้นย่อมไม่ได้ แต่เนื่องจากเวลาพิพากษาศาลฎีกามีอำนาจสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตลอดไปถึงของศาลล่างด้วย โดยอาศัยอำนาจนี้ ศาลฎีกาอาจวินิจฉัยเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนี้ให้ได้ในเมื่อเห็นสมควร
เมื่อพ้นกำหนดยื่นคำแก้อุทธรณ์ตามมาตรา 237 วรรคต้น ป.ม.วิ.แพ่งแล้วจำเลยจะยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่ได้ จะยื่นได้ก็แต่ในฐานะคำแถลงการณ์ตามมาตรา 246,186 วรรค 2 ป.ม.วิ.แพ่ง หากยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดและศาลรับไว้ก็รับไว้ในฐานะเป็นคำแถลงการณ์เท่านั้น ซึ่งมีผลว่าจำเลยจะตั้งประเด็นในศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพราะเป็นแต่เพียงคำแถลงการณ์ ไม่ใช่คำแก้อุทธรณ์ซึ่งเป็นคำคู่ความที่จำเลยอาจตั้งประเด็นไว้
การยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายหลังกำหนดอันถือได้ว่าเป็นการยื่นคำแถลงการณ์นี้ ก็ถือได้ว่าทนายของจำเลยอุทธรณ์ได้ว่าคดีในชั้นศาลอุทธรณ์เหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 600/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเปลี่ยนชื่อในโฉนดไม่ใช่การเรียกคืนกรรมสิทธิ์ จึงไม่ต้องตีราคาที่ดินเพื่อเสียค่าขึ้นศาล
โจทก์ฟ้องอ้างว่ากรรมสิทธิในที่ดินเป็นของโจทก์ ขอให้เปลี่ยนชื่อในโฉนดโดยถอนชื่อจำเลย ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นตัวแทนออก ใส่ชื่อโจทก์แทน ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการเรียกกรรมสิทธิคืน คำฟ้องจึงยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์คำนวณเป็นราคาเงินได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาให้ที่ดินและการเรียกคืนกรรมสิทธิ ถือเป็นการเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ ฟ้องอ้างว่าโจทก์ได้ให้ที่ดินแก่จำเลยไปแล้ว โจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาให้ ดังนี้ ความประสงค์ก็คือเอากรรมสิทธิ ซึ่งโจทก์ว่าได้โอนไปให้ แล้วกลับคืนมานั่นเอง ดังจะเห็นได้จากคำขอที่ให้ถอนชื่อจำเลยออกเสียจากโฉนด คงชื่อไว้แต่โจทก์ผู้เดียวนั้น เป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน และเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์ อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124-1125/2487