คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 56 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: คชก.มีอำนาจวินิจฉัยสิทธิเช่า คำวินิจฉัยถึงที่สุดเป็นเหตุให้ฟ้องขับไล่ชอบ
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาและจะเข้าทำประโยชน์แต่จำเลยขัดขวางอ้างว่าเช่าที่พิพาทเพื่อทำนาจากช. คชก.ตำบลได้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปแต่จำเลยเพิกเฉยเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองเสียหายฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสองและคำขอบังคับอีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่เคลือบคลุม ตามรายงานการประชุมของคชก.ตำบลปรากฎว่ามีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม9คนครบองค์ประชุมโดยจำเลยเข้าร่วมประชุมด้วยจึงมีกรรมการของคชก.ตำบลเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งซึ่งครบองค์ประชุมตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา18วรรคหนึ่งที่ประชุมมีมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำเลยไม่เห็นด้วยแต่มิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวต่อคชก.จังหวัดภายใน30วันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลแต่ต้องไม่เกิน60วันนับแต่วันที่คชก.ตำบลมีคำวินิจฉัยคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลจึงเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา 56วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะทำนาในที่ดินพิพาทต่อไปโจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องจำเลยได้ จำเลยฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในปัญหาที่ว่ามติของคชก.ตำบลชอบด้วยกฎหมายเพราะมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่เป็นการไม่ชอบในปัญหานี้เป็นประเด็นเดียวกับเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและยังคงโต้แย้งตลอดมาจนถึงชั้นฎีกาแต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา131(2)ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาพิพากษาใหม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องขอไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยยังมีสิทธิทำนาในที่ดินพิพาทและคชก.ตำบลไม่มีอำนาจวินิจฉัยและลงมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองดังนี้ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยการเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนาคชก.ตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทอันเกิดแต่การเช่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา13(2)สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจึงเป็นฎีกาที่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5701/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช่าที่ดิน: คชก.มีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทเช่า และผลของคำวินิจฉัยถึงที่สุด
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาและจะเข้าทำประโยชน์ แต่จำเลยขัดขวางอ้างว่าเช่าที่พิพาทเพื่อทำนาจากช. คชก.ตำบลได้พิจารณาและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไป แต่จำเลยเพิกเฉยเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองเสียหายฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งสอง และคำขอบังคับ อีกทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่เคลือบคลุม ตามรายงานการประชุมของ คชก.ตำบล ปรากฏว่ามีรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 9 คน ครบองค์ประชุม โดยจำเลยเข้าร่วมประชุมด้วยจึงมีกรรมการของ คชก.ตำบลเข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งครบองค์ประชุมตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ประชุมมีมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาท จำเลยไม่เห็นด้วย แต่มิได้อุทธรณ์มติดังกล่าวต่อ คชก. จังหวัดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่คชก. ตำบลมีคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบลจึงเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 56 วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะทำนาในที่ดินพิพาทต่อไป โจทก์ทั้งสองชอบที่จะฟ้องจำเลยได้ จำเลยฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยในปัญหาที่ว่ามติของ คชก.ตำบล ชอบด้วยกฎหมายเพราะมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่เป็นการไม่ชอบในปัญหานี้เป็นประเด็นเดียวกับเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งจำเลยยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การและยังคงโต้แย้งตลอดมาจนถึงชั้นฎีกา แต่ศาลล่างทั้งสองไม่ได้วินิจฉัยไว้จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลล่างทั้งสองพิจารณาพิพากษาใหม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยยังมีสิทธิทำนาในที่ดินพิพาทและ คชก.ตำบลไม่มีอำนาจวินิจฉัยและลงมติว่าจำเลยไม่มีสิทธิเป็นผู้เช่านาและไม่มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง ดังนี้ ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยการเช่าที่ดินพิพาทเพื่อทำนา คชก.ตำบลจึงมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทอันเกิดแต่การเช่าตามคำร้องของโจทก์ทั้งสองได้ ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 13(2) สำหรับฎีกาข้ออื่นของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดอายุความฟ้อง: คำวินิจฉัย คชก. ถึงที่สุดเมื่อไม่ฟ้องภายใน 60 วัน
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" และมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า "คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่ที่ทราบคำวินิจฉัย คชก.จังหวัด แต่จะต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย" และวรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ให้นำมาตรา 56 วรรคสองวรรคสี่ และวรรคห้า มาใช้บังคับแก่การมีคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดโดยอนุโลม"นั้น หมายความว่า หากคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียจะฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดต่อศาลต้องฟ้องหรืออุทธรณ์ต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัด หรืออย่างช้าต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย หากไม่ได้ฟ้องหรืออุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุด คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่มีอำนาจฟ้องหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวได้อีก การที่โจทก์ร้องเรียนต่อ คชก.ตำบลว่า โจทก์เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 เพื่อทำนาตั้งแต่ พ.ศ.2524 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบก่อน ครั้นวันที่ 19 ตุลาคม 2532 คชก.ตำบลได้มีคำวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้เช่านาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 21, 63 จึงไม่อยู่ในอำนาจของ คชก.ตำบล ตามมาตรา 13 โจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด คชก.จังหวัดได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ยืนยันตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลโจทก์จึงมาฟ้องคดีต่อศาลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2533 ซึ่งพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2533 ที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย ต้องถือว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้ยกขึ้นวินิจฉัย แต่ปัญหาดังกล่าวจำเลยทั้งสามได้ให้การต่อสู้คดี และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ก็ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกา ถือได้ว่ามีประเด็นที่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ทั้งปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 อีกด้วย
of 2