คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (11)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6723/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดีอาญา: อำนาจพนักงานสอบสวนในการปรับเปลี่ยนข้อหาตามข้อเท็จจริง
การรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาจำเลยว่ากระทำผิดฐานยักยอกนั้นถือเป็นการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (11) ซึ่งการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานใดเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ก็ไม่ทำให้การสอบสวนที่กระทำไปแล้วเสียไป การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฉ้อโกงแม้พนักงานสอบสวนจะแจ้งข้อหายักยอก ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4308/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังพนักงานสอบสวนเห็นว่าเป็นการยักยอก โจทก์มีสิทธิปรับบทฟ้องได้
โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ พนักงานสอบสวนสอบสวนจำเลยแล้วมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยในข้อหายักยอก แต่โจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องความเห็นของโจทก์กับพนักงานสอบสวนแตกต่างกันในการปรับบทกฎหมายกับการกระทำของจำเลย ถือว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาฉ้อโกงแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดีอาญาที่ล่าช้า: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 วรรคแรก จะบัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130 กำหนดให้เริ่มการสอบสวนโดยไม่ชักช้าจะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยอันเป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาให้ได้รับผลกระทบจากการเป็นผู้ต้องหาน้อยที่สุด แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้าแล้ว การสอบสวนนั้นจะเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าพนักงานสอบสวนเพิ่งเริ่มสอบสวนเกี่ยวกับความผิดของจำเลยในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองในระหว่างที่จำเลยต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรมหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถึง 1 ปี 3 เดือน ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7847/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และความผิดฐานพาอาวุธ ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การที่จำเลยกับผู้ตายมีสาเหตุขัดเคืองกันมาก่อนก่อนเกิดเหตุ ถือไม่ได้เสมอไปว่าจะเป็นเหตุให้จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่า หลังจากที่จำเลยและผู้ตายมีเรื่องขัดเคืองกันในครั้งก่อน แล้วจำเลยมีความอาฆาตคอยติดตามที่จะทำร้ายผู้ตายอีก ทั้งบ้านจำเลยและบ้านผู้ตายก็มิได้อยู่จังหวัดเดียวกัน ผู้ตายเพิ่งมาบ้านที่เกิดเหตุซึ่งเป็นบ้านพ่อตาแม่ยายและอยู่ใกล้กับบ้านจำเลยในวันเกิดเหตุนั้นเอง การที่จำเลยฆ่าผู้ตายมิได้เป็นการซุ่มยิง แต่เป็นการใช้อาวุธปืนยิงจากข้างล่าง 1 นัด แล้วเดินตามขึ้นไปยิงผู้ตายบนบ้านที่เกิดเหตุอีก 1 นัด และยังใช้อาวุธมีดแทงทำร้ายผู้ตายต่อหน้าญาติจำเลยและญาติผู้ตายอีกหลายคน ผิดวิสัยที่จะเป็นการฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ความคิดของจำเลยที่จะฆ่าผู้ตายเกิดขึ้นอย่างกะทันหันเมื่อเห็นผู้ตายที่บ้านที่เกิดเหตุโดยจำเลยมิได้มีการตระเตรียมการหรือมีการวางแผนมาก่อน จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 เท่านั้น
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานพาอาวุธมีดไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90 จึงไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: การสอบสวนฐานฉ้อโกงเป็นปัจจัยสำคัญในการฟ้องคดีได้
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ. ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอน เงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับว่า ในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้ สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าวไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิด ฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานสอบสวนจะไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกง หรือหลอกลวงผู้ใดไว้ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะ ในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนใน ความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง โดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกง โดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิด ฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลย เป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกา ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกง: การสอบสวนความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ.ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวน จำเลยให้การรับว่าในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าว ไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ร้อยตำรวจโท อ.ไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกงหรือหลอกลวงผู้ใดไว้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้วพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงโดยวินิจฉัยว่าไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากยาเสพติดเพื่อส่งมอบเข้าข่ายความผิดฐานขาย แม้ไม่มีเจตนาจำหน่ายโดยตรง ศาลแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสม
บันทึกการจับกุมผู้ต้องหาเป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีการจับกุมจำเลยแล้ว บันทึกการจับกุมจึงเป็นหลักฐานในการสอบสวนคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(11) ซึ่งไม่ได้มีบทบังคับว่าต้องทำอย่างไร เมื่อบันทึกการจับกุมมีร่องรอยการแก้ไขตกเติม ก็ไม่ทำให้บันทึกการจับกุมนั้นเป็นอันเสียไปหรือใช้ไม่ได้ การที่จำเลยลงนามในบันทึกดังกล่าวโดยมิได้โต้แย้งและมิได้ซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับบันทึกการจับกุมให้เห็นเป็นอย่างอื่น ทำให้คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ปรากฏในบันทึกการจับกุมนั้นรับฟังเป็นพยานได้ส่วนคำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นสอบสวนนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ซักค้านพยานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การดังกล่าวแต่อย่างใดเมื่อจำเลยลงนามในคำให้การชั้นสอบสวนโดยมิได้ถูกขู่เข็ญบังคับหรือโดยมิชอบด้วยประการอื่น ศาลย่อมรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยานได้ การที่จำเลยรับฝากเมทแอมเฟตามีนจาก ด. เพื่อนำไปให้ว.นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยรับมาเพื่อส่งมอบให้แก่ว.การกระทำของจำเลยจึงเป็นการขาย ตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518ซึ่งบัญญัติว่า "ขาย" หมายความรวมถึงจำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3811/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การโต้เถียงอำนาจผู้ร้องทุกข์และดุลพินิจการรับฟังพยาน
จำเลยฎีกาว่าผู้ร้องทุกข์แทนโจทก์ร่วมเป็นเพียงลูกจ้างมิใช่ตัวแทน ของโจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมก็ไม่ได้มอบอำนาจให้ไว้ในขณะร้องทุกข์ การร้องทุกข์จึงไม่ถูกต้องการสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการสอบสวน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์สร้างพยานหลักฐานเท็จขึ้นมาเป็นเหตุให้ ศาลหลงเชื่อข้อเท็จจริงในทางที่เป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจ ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับมรดกตามพินัยกรรมในการอายัดที่ดิน เพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินที่อาจถูกโอน
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก ย่อมมีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ จึงมีสิทธิขออายัดที่ดินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิให้ผู้จัดการมรดกซึ่งมีชื่อในโฉนดโอนขายที่ดินนั้นได้
ประมวลกฎหมายที่ดินให้อำนาจเจ้าพนักงานที่ดินที่จะสั่งให้อายัดได้ตามที่เห็นสมควร โดยพิจารณาจากหลักฐานและพฤติการณ์ที่ผู้ขออายัดแสดง หาจำต้องทำการสอบสวนดุจสอบสวนการกระทำผิดอาญาไม่
of 2