คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 33

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องรับโทรทัศน์ไม่ใช่เครื่องมือการพนัน: การริบของกลางต้องพิจารณาสภาพของทรัพย์สิน
เครื่องรับโทรทัศน์สีของกลางเป็นเพียงเครื่องมือ และอุปกรณ์รับภาพการแข่งขันชกมวยจากสถานีโทรทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ส่งภาพดังกล่าวมาเท่านั้น การที่จำเลยกับพวก ซึ่งเป็นผู้ชมท้าพนันผลการแข่งขันชกมวย หาทำให้เครื่องรับโทรทัศน์สีดังกล่าวเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันชกมวยตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติการพนันฯ โดยแท้จริงไม่และแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพกรณีของกลางตามฟ้องแต่เมื่อปรากฏว่าตามสภาพของเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางนั้นมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันชกมวยแล้วเครื่องรับโทรทัศน์สีของกลางจึงไม่ใช่เป็นทรัพย์สินอันจะพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ใช้ในความผิดยาเสพติด: ศาลฎีกายกประเด็นริบทรัพย์แม้ไม่ได้รับการฎีกา ชี้เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,8,15,66,67,97,102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,83,32,33 และมีคำขอให้ ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่า จะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการ ล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐาน จำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษ สถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติด: ศาลมีอำนาจริบได้ แม้ไม่ใช่โทษจำคุก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 67, 97, 102 ป.อ.มาตรา 91,83, 32, 33 และมีคำขอให้ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ ป.อ.มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ใช้ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกาในประเด็นนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,8,15,66,67,97,102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,83,32,33 และมีคำขอให้ ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่า จะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการ ล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐาน จำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษ สถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: พิจารณาบทบาทยานพาหนะ vs. ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลางแล่นตามรถยนต์ ผู้เสียหายจนทันแล้วแซงขึ้นหน้าไปจอดขวางให้หยุด กับขู่เข็ญ ผู้เสียหายจนยอมมอบเงินแก่จำเลยกับพวกรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ก่อนที่จะกระทำความผิด ฐานกรรโชก อีกทั้งจำเลยกับพวกก็ร่วมกันขู่เข็ญผู้เสียหายว่า หากไม่ยอมให้เงินจำเลยกับพวกจะทำการระเบิดและพังรถยนต์ ของผู้เสียหายเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงหาใช่ทรัพย์ ที่จำเลยกับพวกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกรรโชกทรัพย์ไม่ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถจักรยานยนต์ของกลางในคดีวิ่งราวทรัพย์: พิจารณาการใช้ยานพาหนะในการกระทำผิด
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจริบยานพาหนะ: การพิจารณาความเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดโดยตรง
โจทก์ฟ้องและมีคำขอให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลาง จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9)แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
ปัญหาที่ว่ายานพาหนะใดเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจสั่งริบตาม ป.อ.มาตรา 33 (1) นั้น ต้องพิจารณาดูตามพฤติการณ์ของการกระทำผิดแต่ละเรื่องไปว่าผู้กระทำผิดได้ใช้ยานพาหนะนั้นในการกระทำความผิดหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ของกลางว่า จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันวิ่งราวทรัพย์สร้อยคอทองคำและจี้ทองคำของผู้เสียหายโดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า และใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะพาทรัพย์นั้นไปและเพื่อให้พ้นจากการจับกุม รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ภายหลังการวิ่งราวทรัพย์ มิใช่ใช้ในการวิ่งราวทรัพย์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามมาตรา 33 (1) แห่ง ป.อ.ดังกล่าว ศาลจึงไม่ริบรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7010/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินสดของกลางในคดียาเสพติด: ต้องพิสูจน์ความเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ว่า หมายความว่าการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึงการสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้อง และคดีสำหรับจำเลยที่ 4 ถึงที่สุดโดยศาลชั้นต้น พิพากษาลงโทษในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองมิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งมิได้อยู่ในความหมายของ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 3 เงินสดของกลางจำนวน 516,260 บาท จึงไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 30,31ที่จะพึงรับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินจากความผิดยาเสพติด: ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ได้ระบุในคำฟ้อง
เงินสดของกลางจำนวน 2,860 บาท เป็นเงินที่จำเลย ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แก่บุคคลอื่นก่อนกระทำความผิดคดีนี้ เงินสดของกลางจำนวน 2,860 บาทจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดเพราะการขายเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน2,860 บาท ตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะเนื่องจากเงินสดดังกล่าวมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่เงินสดของกลางดังกล่าวจำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้จะไม่ได้มาโดยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตามศาลก็มีอำนาจริบเงินสด ของกลางจำนวน 2,860 บาท ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อเป็นอำนาจของศาลการสั่งริบของกลางดังกล่าวจึงหาเป็นการสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6107/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบอาวุธปืน: แม้ไม่ใช้ยิง แต่ใช้อาการกระแทกทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายก็สามารถริบได้
แม้ลักษณะการใช้อาวุธปืนของจำเลยในการกระทำความผิดจะไม่ตรงกับลักษณะของอาวุธปืนที่มีไว้เพื่อใช้ยิงโดยตรงก็ตามแต่ตามสภาพอาวุธปืนเป็นวัตถุแข็ง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนกระแทกทำร้ายที่บริเวณหน้าอกของเด็กชาย ธ. โดยแรงเป็นเหตุให้เด็กชาย ธ. มีบาดแผลถลอกช้ำบวมที่บริเวณหน้าอก แม้บาดแผลดังกล่าวจะไม่ร้ายแรงเช่นเดียวกับการใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายก็ตาม แต่ก็เป็นบาดแผลที่เกิดจากการที่จำเลยใช้อาวุธปืนทำร้ายเด็กชาย ธ. โดยตรง จึงถือได้ว่าอาวุธปืนเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ริบอาวุธปืนของกลางได้ ทั้งนี้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าอาวุธปืนที่จำเลยใช้กระทำความผิดนั้นจะบรรจุกระสุนหรือไม่ เพราะมิใช่ผลโดยตรงที่จะเป็นเหตุให้เด็กชาย ธ. ได้รับบาดเจ็บ
of 55