พบผลลัพธ์ทั้งหมด 410 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7961/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำลายทรัพย์สินและบุกรุกเคหสถาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดฐานบุกรุกเป็นบทหนักสุด
บ้านที่เกิดเหตุทั้งสองหลังผู้เสียหายทั้งสองใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกับบุตรเล็ก ๆ ของผู้เสียหายที่ 2 อีกหลายคนและทำการค้าขาย การที่จำเลยกับพวกร่วมกันเข้าไปที่บริเวณหน้าบ้านและร้านค้าที่เกิดเหตุ และใช้ก้อนอิฐ ก้อนหิน ไม้ และสิ่งของอื่นขว้างปาประตู หน้าต่าง และหลังคาบ้าน รวมทั้งทำลายสิ่งของต่าง ๆ จนเสียหาย ย่อมเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และยังเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายทั้งสองโดยปกติสุข อันเป็นความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 358, 365 (1) (2) (3) ประกอบด้วยมาตรา 362
การกระทำของจำเลยกับพวกที่บุกรุกเข้าไปขว้างปาบ้านของผู้เสียหายทั้งสองจนได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษในความผิดฐานบุกรุกซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
การกระทำของจำเลยกับพวกที่บุกรุกเข้าไปขว้างปาบ้านของผู้เสียหายทั้งสองจนได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษในความผิดฐานบุกรุกซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4101/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางท่อปิโตรเลียม: การดำเนินการตามกฎหมาย PPA และการกระทำในฐานะตัวแทน
โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 มาตรา 5, 7, 29, 30 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจะเข้าดำเนินการวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อด้วยตนเองหรือตั้งตัวแทน ตัวแทนค้าต่างเข้าไปดำเนินการแทนก็ได้ หาได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะว่าการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยต้องเข้าไปดำเนินการด้วยตนเองเท่านั้นไม่ เมื่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ประกาศเรื่องการสำรวจเพื่อการสร้างระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ และมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบพร้อมทั้งให้โจทก์ไปรับค่าทดแทนแล้ว จึงเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายครบถ้วนทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาให้ใช้สิทธิในแนวเขตระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย แล้วเข้าไป ขุด วางท่อขนส่งปิโตรเลียมและลำเลียงส่งปิโตรเลียมผ่านทางท่อขนส่งในที่ดินโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำไปในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3877/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: จำเลยเชื่อโดยชอบว่าตนมีสิทธิครอบครอง จึงไม่มีเจตนาบุกรุก
โจทก์ร่วมมีข้อพิพาทกับจำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2526 นอกจากนี้โจทก์ร่วมได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งตามคดีหมายเลขดำที่ 149/2542 ของศาลชั้นต้น แม้คดีดังกล่าวจะมีประเด็นว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยมิชอบอันเป็นการใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 มิได้มีประเด็นว่า โจทก์ร่วมถูกแย่งการครอบครองดังที่โจทก์ร่วมฎีกาก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทว่าผู้ใดเป็นผู้ครอบครองในที่ดินพิพาท ดังนั้น ในขณะเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยเชื่อโดยชอบว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองหรือเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาทหรือทำให้เสียทรัพย์ ส่วนที่ดินพิพาทจะเป็นของผู้ใดหรือผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิครอบครองนั้นเป็นเรื่องทางแพ่ง จำเลยจึงไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2768/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดินของผู้อื่นเพื่อนำให้เช่า แม้ผู้บุกรุกอ้างว่าได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลก็ยังถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
ที่ดินที่ถูกกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าบุกรุกนำสินค้ามาวางขายเป็นของโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมไม่ได้อนุญาตให้จำเลยนำไปให้ผู้ใดเช่า การที่จำเลยนำที่ดินดังกล่าวไปให้บุคคลดังกล่าวเช่าโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน: การกระทำต่อเนื่องจากการยินยอม ไม่เป็นความผิดอาญา แต่เป็นละเมิด
จำเลยที่ 2 ทำประโยชน์อยู่ในที่ดินพิพาทหลังจากโจทก์ร่วมซื้อที่ดินพิพาทมาแล้วโดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นเจ้าของคนต่อมา แม้จำเลยที่ 2 ตกลงว่าจะออกไปจากที่ดินพิพาทเมื่อเก็บเกี่ยวเผือกเสร็จแล้วแต่ไม่ออกไป ทั้งยังจ้างจำเลยที่ 1 ให้ทำการไถที่ดินพิพาทเพื่อปรับสภาพที่ดินเพื่อทำนาข้าวอีก และโจทก์ร่วมได้ห้ามปรามแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ไม่เชื่อ ก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนากระทำผิดอาญาฐานบุกรุก เพราะจำเลยที่ 2 กระทำต่อเนื่องจากการที่โจทก์ร่วมยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ทำผิดข้อตกลงที่ตกลงไว้กับโจทก์ อันเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองพื้นที่เช่าเพื่อประกอบการในสถานศึกษา ไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครองตามกฎหมายอาญา
โรงอาหารที่เกิดเหตุเป็นส่วนหนึ่งของอาคารสถาบันราชภัฎ น. โดยมีการปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่างของอาคารเป็นห้องติดเครื่องปรับอากาศใช้เป็นสถานที่จำหน่ายอาหารให้แก่นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ของสถาบัน ตามสัญญาเช่าสถานที่จำหน่ายอาหารที่โจทก์ทำกับสถาบันคงมีเพียงข้อสัญญาว่าสถาบันตกลงให้โจทก์เช่าโรงอาหารมีระยะเวลาที่กำหนด และกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องปฏิบัติในการเข้าประกอบการไว้ ส่วนลักษณะสภาพการใช้โรงอาหารในการจำหน่ายอาหารของโจทก์นั้นไม่ปรากฏจากข้อสัญญาชัดแจ้งว่ามีการส่งมอบโรงอาหารที่เช่าให้โจทก์ครอบครองอย่างเป็นสิทธิครอบครองของโจทก์ทีเดียว หรือเป็นแต่เพียงให้โจทก์มีสิทธิเข้าใช้ประโยชน์โรงอาหารเพื่อจำหน่ายอาหารเท่านั้น จากประกาศสถาบันราชภัฎ น. ซึ่งเป็นที่มาของการเข้าทำสัญญาเช่าของโจทก์ ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ออกประกาศให้ผู้สนใจเข้าประกอบการจำหน่ายอาหารภายในโรงอาหารของสถาบันยื่นแบบแจ้งความประสงค์ต่อสถาบัน โดยมีการกำหนดเงื่อนไขการประกอบการไว้ในประกาศข้อ 4 และ 5 ว่า การเข้าประกอบการจำหน่ายอาหารภายในโรงอาหารของสถาบันอยู่ในความควบคุมของงานกิจการนักศึกษา โดยเป็นไปเพื่อสวัสดิการนักศึกษา และผู้เข้าประกอบการต้องยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจการโรงอาหารของสถาบัน โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงความประสงค์เข้าประกอบการจำหน่ายอาหารต่อสถาบันตามประกาศดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับทราบข้อความและยินยอมตกลงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศนั้นด้วย การใช้โรงอาหารเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารของโจทก์ตามสัญญาเช่าจึงตกอยู่ในความควบคุมดูแลของคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ของสถาบัน โรงอาหารที่โจทก์เช่าใช้พื้นที่ห้องชั้นล่างของอาคารในบริเวณสถาบันเป็นที่จำหน่ายอาหารจึงมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันอันเป็นสถานศึกษาของทางราชการที่เจ้าหน้าที่ของสถาบันอาจต้องเข้าไปตรวจตราในบางโอกาสเพื่อดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยและรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย และหลังจากทำสัญญาเจ้าหน้าที่มอบลูกกุญแจโรงอาหารให้โจทก์ 1 ชุด และทางสถาบันเก็บไว้ 1 ชุด แสดงว่าโจทก์ทราบและยอมรับในการที่ทางสถาบันยังรักษาสิทธิที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปในโรงอาหารในเวลาหนึ่งเวลาใดได้อยู่เสมอ เห็นได้ว่าโจทก์และสถาบันมีเจตนาทำสัญญาเช่าโดยมีวัตถุประสงค์เพียงแต่ให้โจทก์ได้เข้าใช้ประโยชน์โรงอาหารของสถาบันในการจำหน่ายอาหารในพื้นที่ที่จัดไว้ในเวลาเปิดบริการตามระเบียบของสถาบันเท่านั้น หาได้มอบการครอบครองโรงอาหารให้เป็นสิทธิขาดแก่โจทก์ดังเช่นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามธรรมดาไม่ การมอบลูกกุญแจโรงอาหารให้โจทก์ก็เพื่อให้ความสะดวกในการเข้าไปใช้พื้นที่โรงอาหารในการประกอบการของโจทก์เท่านั้น โดยสถาบันอนุญาตโจทก์รวมทั้งผู้เช่าช่วงพื้นที่จำหน่ายอาหารจากโจทก์สามารถเข้าไปใช้โรงอาหารที่เช่าเพื่อประกอบการจำหน่ายอาหารโดยใช้ลูกกุญแจที่มอบให้ไว้แก่โจทก์ เมื่อโรงอาหารที่เกิดเหตุยังอยู่ในความครอบครองของสถาบันราชภัฎ น. การสั่งการของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในการให้เข้าไปขนย้ายทรัพย์สินของโจทก์ในโรงอาหารที่เกิดเหตุ จึงไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4316/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่สาธารณประโยชน์และการลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ดิน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่สาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐบริเวณชายแดนประเทศไทยและประเทศมาเลเซียด้วยการเข้าไปปลูกบ้านพักอาศัย กว้างประมาณ 7 เมตร ยาว 9 เมตร ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองปลูกสร้างบ้านพักอาศัยกว้าง 20 เมตร ยาว 7 เมตร ในที่ดินรกร้างว่างเปล่าบริเวณแนวพรมแดนประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐ วันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดคดีนี้เป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยกระทำความผิดคดีก่อนและจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยบุกรุกก็มีจำนวนแตกต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 362 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันและเป็นที่ดินของรัฐจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง แต่ไม่เป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 362 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งประสงค์ลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินและป่าสงวน: ผู้มีสิทธิฟ้องร้องคดีบุกรุก
ส. ซื้อที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นที่ดินของรัฐสภา ท. ส. จึงมิได้มีสิทธิครอบครองที่ดินที่ซื้อตามกฎหมาย และต่อมาได้มีการกำหนดให้ที่ดินในท้องที่ที่ดินพิพาทเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4) กำหนดว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอำนาจนำที่ดินแปลงนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ และมาตรา 36 ทวิ กำหนดว่า บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก. ได้มา ตาม พ.ร.บ. นี้หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อให้ใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้ เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ส. จะมีสิทธิเข้าครอบครองได้ก็แต่โดยการได้รับเอกสารสิทธิจาก ส.ป.ก. เมื่อ ส.ป.ก. ยังมิได้อนุญาตให้ ส. เป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ทั้งหลังจาก ส. ยื่นคำขอเข้าทำประโยชน์แล้วมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ส. จึงยังไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอย่างใด โดย ส. เพียงแต่อ้างว่าได้ไถปรับที่ดินไว้ หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 ปี จึงไปดูที่ดินพบว่าจำเลยเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทแล้ว การที่ ส. เพียงแต่ไถปรับที่ดินทิ้งไว้โดยไม่ทำประโยชน์อะไรนานเป็นปี ถือไม่ได้ว่า ส. ได้ยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเป็นของตนในขณะที่จำเลยเข้าไปทำประโยชน์ และที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ส.ป.ก. ส. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยฐานบุกรุกตามฟ้องซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนำและเช่าที่พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีเจตนาตามกฎหมาย ทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้และบุกรุก
โจทก์ร่วมกับจำเลยทำสัญญาจำนำข้าวระหว่างกันโดยโจทก์ร่วมยอมให้ข้าวอยู่ในความครอบครองของจำเลย ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยมอบข้าวไว้เป็นประกันการชำระหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะจำนำ เมื่อไม่มีการจำนำจึงขาดองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดข้อหาโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 349
โจทก์ร่วมเช่าโกดังเก็บข้าวซึ่งเป็นโกดังที่จำเลยใช้ประกอบกิจการโรงสีของจำเลย เมื่อทำสัญญาเช่าแล้วจำเลยเป็นผู้ถือกุญแจโกดังเพียงฝ่ายเดียว จำเลยเป็นผู้ครอบครองโกดังอยู่เช่นเดิม สัญญาเช่าที่ทำไว้มีค่าเช่าเพียงปีละ 100 บาท นับว่าน้อยมาก จึงเป็นการทำสัญญาเช่าเป็นแบบพิธีเท่านั้น คู่สัญญาไม่ได้มีเจตนาให้เป็นการเช่าตามกฎหมายอย่างแท้จริง กรณีถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ครอบครองโกดังที่เช่าอยู่ตลอดเวลา จำเลยจึงไม่อาจรบกวนการครอบครองของตนเองได้ ไม่มีความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมเช่าโกดังเก็บข้าวซึ่งเป็นโกดังที่จำเลยใช้ประกอบกิจการโรงสีของจำเลย เมื่อทำสัญญาเช่าแล้วจำเลยเป็นผู้ถือกุญแจโกดังเพียงฝ่ายเดียว จำเลยเป็นผู้ครอบครองโกดังอยู่เช่นเดิม สัญญาเช่าที่ทำไว้มีค่าเช่าเพียงปีละ 100 บาท นับว่าน้อยมาก จึงเป็นการทำสัญญาเช่าเป็นแบบพิธีเท่านั้น คู่สัญญาไม่ได้มีเจตนาให้เป็นการเช่าตามกฎหมายอย่างแท้จริง กรณีถือว่าจำเลยยังเป็นผู้ครอบครองโกดังที่เช่าอยู่ตลอดเวลา จำเลยจึงไม่อาจรบกวนการครอบครองของตนเองได้ ไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5613/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานด้วยการใช้กำลังและอาวุธ แม้จะออกจากบ้านตามที่ผู้เสียหายไล่ให้ไปแล้ว ก็ยังถือว่ามีความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 1 และที่ 4 เข้าไปชกต่อย น. บริเวณแคร่หน้าบ้านของ ล. ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นมารดาของ น. จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งมีอาวุธมีดเข้าไปช่วยจำเลยที่ 1 และที่ 4 น. วิ่งเข้าไปในบ้านของผู้เสียหาย จำเลยทั้งสี่วิ่งตามเข้าไปโดยมีเจตนาทำร้าย น. แม้เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องจากการที่จำเลยทั้งสี่ทำร้าย น. มาก่อน แต่เมื่อผู้เสียหายไล่ให้จำเลยทั้งสี่ออกจากบ้าน จำเลยทั้งสี่ก็ออกจากบ้านทันที จะถือว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุขยังไม่ได้ แต่ถือได้ว่าเป็นการเข้าไปในบ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีอาวุธ และโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป จึงมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ. มาตรา 364 และมาตรา 365 (1) (2)