พบผลลัพธ์ทั้งหมด 410 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานต้องได้รับอนุญาตก่อน และการรื้อถอนเครื่องจักรเพื่อระงับเหตุชุมนุมไม่ถือเป็นทำให้เสียทรัพย์
พระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 และ 13 กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาต โดยห้ามมิให้ตั้งโรงงานก่อนได้รับใบอนุญาตและหากได้รับใบอนุญาตแล้วถ้าประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการโรงงานส่วนหนึ่งส่วนใดต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนเริ่มประกอบกิจการ ดังนั้นวันที่ออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานจึงมิใช่วันเริ่มประกอบกิจการดังกล่าว
แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ก็ตาม แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงานสถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการของโจทก์ได้ หาเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและบุกรุกไม่
เหตุแห่งการที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโจทก์ เนื่องจากรับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คน มาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามสั่งให้อุดท่อ พีวีซี และให้รื้อถอนเครื่องจักรในที่เกิดเหตุก็ด้วยเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป ทั้งเป็นการรื้อถอนตามอำนาจหน้าที่ซึ่งย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้างอันเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายจึงมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
แม้กระทรวงอุตสาหกรรมจะแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ก็ตาม แต่ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องสอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้นได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานฯ มาตรา 12 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงานสถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการของโจทก์ได้ หาเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและบุกรุกไม่
เหตุแห่งการที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ของโจทก์ เนื่องจากรับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คน มาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามสั่งให้อุดท่อ พีวีซี และให้รื้อถอนเครื่องจักรในที่เกิดเหตุก็ด้วยเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายของผู้ชุมนุมประท้วงมิให้ลุกลามไป ทั้งเป็นการรื้อถอนตามอำนาจหน้าที่ซึ่งย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้างอันเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น สภาพความชำรุดเสียหายจึงมิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานในการตรวจสอบและยึดเครื่องจักร
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 12 และมาตรา 13 กำหนดไว้ชัดเจนว่าไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงงานหรือประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตและต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตเสียก่อนและเมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว หากประสงค์จะเริ่มประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบอีกครั้งหนึ่ง จะถือวันที่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการเป็นวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้
การที่มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535เท่านั้น มิใช่ว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้สอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
โจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 มาตรา 12 จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปในที่ดินของโจทก์และยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดฐานบุกรุก
การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คนมาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายมิให้ลุกลามไปแม้การที่จะระงับการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์นั้น จำเลยทั้งสามได้สั่งให้อุดท่อพีวีซี ตลอดจนสั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุ ก็ด้วยประสงค์จะยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินโดยต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์
การที่มีคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมแต่งตั้งจำเลยที่ 1 ซึ่งดำรงตำแหน่งนายอำเภอให้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535เท่านั้น มิใช่ว่าเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องเป็นผู้สอบถามไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่าโรงงานที่ตั้งในเขตท้องที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนนั้น ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้วหรือไม่ แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงงานที่จะต้องแสดงหลักฐานต่อจำเลยที่ 1 ให้ปรากฏชัดว่าได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแล้ว
โจทก์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การตั้งโรงงานตลอดจนการประกอบกิจการโรงงานทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จึงฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 มาตรา 12 จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ย่อมมีอำนาจเข้าไปตรวจสภาพโรงงาน สถานที่ สภาพเครื่องจักร ตลอดจนตรวจยึดสิ่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปในที่ดินของโจทก์และยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์ จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและความผิดฐานบุกรุก
การที่จำเลยทั้งสามเข้าไปตรวจสภาพโรงงานและยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานเนื่องจากได้รับแจ้งว่ามีราษฎรประมาณ 100 คนมาชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยในการทำนาเกลือสินเธาว์ของโจทก์จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาเพียงระงับเหตุร้ายและความวุ่นวายมิให้ลุกลามไปแม้การที่จะระงับการประกอบกิจการนาเกลือสินเธาว์นั้น จำเลยทั้งสามได้สั่งให้อุดท่อพีวีซี ตลอดจนสั่งให้รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ในที่เกิดเหตุ ก็ด้วยประสงค์จะยึดเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งที่พื้นดินโดยต้องรื้อถอนไปตามอำนาจหน้าที่ การรื้อสิ่งของที่ติดอยู่กับพื้นดินย่อมทำให้เกิดความชำรุดเสียหายบ้าง ซึ่งเป็นผลธรรมดาของการรื้อถอนที่ต้องเกิดขึ้น มิใช่เกิดขึ้นเพราะกระทำโดยเจตนาให้เสียทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยประเด็นครอบครองที่ดินต่อเนื่องจากคดีอาญา และการเป็นเจ้าของส่วนควบ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกันบุกรุกเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยตัดฟันต้นสนของโจทก์ที่ปลูกอยู่ในที่ดินดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทและพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง คดีถึงที่สุดแล้ว ส่วนคดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรงเป็นประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ ในการพิพากษาคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่อาจฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ต้นสนที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นส่วนควบของที่ดิน โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของต้นสนด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันตัดฟันต้นสนของโจทก์เสียหาย จึงต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6431/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาชิงทรัพย์และการกระทำความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์, บุกรุกเคหสถาน, และการใช้ไฟฟ้าทำร้ายผู้อื่น
จำเลยใช้สายไฟที่ตัดจากสายพัดลมต่อปลั๊กไฟในบ้านจี้ไปที่บริเวณหัวไหล่และต้นแขนขวาของผู้เสียหาย แล้วจำเลยวิ่งไปสับคัตเอาท์ที่ด้านหลังบ้านโดยไม่หลบหนีไปทันทีแต่กลับมาพูดขู่ผู้เสียหาย ซึ่งหากจำเลยประสงค์จะเอาชีวิตของผู้เสียหายก็ย่อมกระทำได้เพราะมีเวลามากพอ การที่จำเลยกลับมาพูดขู่ผู้เสียหายแทนที่จะหลบหนีไปแสดงให้เห็นว่าการไปสับคัตเอาท์ดับไฟนั้นไม่ใช่เพราะเกรงว่าผู้เสียหายจะจำหน้าได้หรือเพื่อป้องกันการติดตาม จำเลยจึงมีเจตนากระทำเพียงเพื่อให้ผู้เสียหายสลบไปและไม่อาจคาดหมายได้ว่าการกระทำเช่นนั้นอาจมีผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365ประกอบด้วยมาตรา 362 แต่คดีได้ความว่าจำเลยบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนอันเป็นความผิดตามมาตรา 365(3) ประกอบมาตรา 364 แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตรา 364 มาในคำขอท้ายฟ้องแต่โจทก์ได้บรรยายถึงการบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนมาในฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลชอบที่จะลงโทษจำเลยตามมาตรา 365(3) ประกอบมาตรา 364 ที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า
ปลั๊กไฟพร้อมสายไฟ 1 เส้น ของกลางที่โจทก์มีคำขอให้ริบ เป็นทรัพย์สินในบ้านเช่าที่ผู้เสียหายพักอาศัย เมื่อเจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย จึงไม่ใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365ประกอบด้วยมาตรา 362 แต่คดีได้ความว่าจำเลยบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนอันเป็นความผิดตามมาตรา 365(3) ประกอบมาตรา 364 แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตรา 364 มาในคำขอท้ายฟ้องแต่โจทก์ได้บรรยายถึงการบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนมาในฟ้องแล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างบทมาตราผิด ศาลชอบที่จะลงโทษจำเลยตามมาตรา 365(3) ประกอบมาตรา 364 ที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า
ปลั๊กไฟพร้อมสายไฟ 1 เส้น ของกลางที่โจทก์มีคำขอให้ริบ เป็นทรัพย์สินในบ้านเช่าที่ผู้เสียหายพักอาศัย เมื่อเจ้าของไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย จึงไม่ใช่ทรัพย์สินอันพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนฯ บุกรุก พาไปอนาจาร และหน่วงเหนี่ยวกักขัง: ศาลฎีกาวินิจฉัยกรรมเดียวผิดหลายบท
่จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และตามพฤติการณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกร่วมกันพาหญิงไปเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำเรา มิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่าง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
่จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่ และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามป.อ. มาตรา 278 ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ มาตรา 225
่จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่ และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามป.อ. มาตรา 278 ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามป.วิอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดต่อเนื่อง ข่มขืนฯ หน่วงเหนี่ยวกักขัง และการพิพากษาความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยกับพวกขึ้นไปบนบ้านของผู้เสียหายที่ 1 แล้วจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านพาไปข่มขืนกระทำชำเรายังบ้านที่เกิดเหตุนั้นเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอน และตามพฤติการณ์ก็เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหายที่ 2 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกร่วมกันพาหญิงไปเพื่ออนาจารและข่มขืนกระทำชำเรามิใช่เป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่หลังจากที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 แล้ว จำเลยกับพวกใส่กลอนขังผู้เสียหายที่ 2 ไว้ในห้องนอนโดยมีพวกของจำเลยอยู่ข้างล่าง ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ไม่อาจหลบหนีไปได้ การกระทำของจำเลยกับพวกในส่วนหลังนี้จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 อีกกรรมหนึ่ง
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยกับพวกร่วมกันจับแขนผู้เสียหายที่ 2 ลากลงจากบ้านเพื่อพาไปข่มขืนกระทำชำเรา แต่การจับแขนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อพาเอาตัวผู้เสียหายที่ 2 ไปให้ได้เท่านั้น หาใช่มีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 ไม่และในระหว่างที่พาผู้เสียหายที่ 2 ไปนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกับพวกได้กระทำการอย่างไรบ้าง อันมีลักษณะเป็นการกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278ประกอบมาตรา 83 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนี้ และเนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2823/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานและการรบกวนการครอบครองทรัพย์สิน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการเข้าไปแล้ววิ่งหนี ไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครอง
การที่จำเลยเข้าไปในบ้านของผู้เสียหายและในทันใดนั้นผู้เสียหายเห็นจำเลยพอดีจำเลยก็วิ่งหนีออกไป ไม่ถือว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้เสียหายโดยปกติสุข จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362แต่เป็นความผิดฐานเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควรในเวลากลางคืนตามมาตรา 365(3) ประกอบมาตรา 364
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกเคหสถานเพื่อสำรวจทรัพย์สิน ไม่เข้าข่ายรบกวนการครอบครอง แต่เป็นความผิดตามมาตรา 364
การที่จำเลยเข้าไปในตึกแถวคูหาหนึ่งและปีนขึ้นไปบนหลังคาของตึกแถวอีกคูหาหนึ่ง เพื่อสำรวจตรวจดูทรัพย์สินของมีค่าภายในตึกแถวทั้งสองคูหาดังกล่าวเป็นการเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันสมควร อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364 เท่านั้น จะถือเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นตามมาตรา 362 ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดอำนาจอุทธรณ์ของผู้เสียหายที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานที่ถูกพิจารณา และความชอบธรรมในการพิจารณาคดี
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายที่ 1 เฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุกมิได้เป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์โดยมิได้ระบุว่าให้เข้าร่วมในความผิดใดก็ต้องถือว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดฐานบุกรุกเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองข้อหาและโจทก์มิได้อุทธรณ์ ข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 2 ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในข้อหาความผิดดังกล่าว และพิพากษาลงโทษจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9132/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิ และไม่ถือเป็นการรบกวนการครอบครองของผู้อื่น
ที่นาพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและทางราชการยังมิได้จัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304 การที่ พ. เข้ามาครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทก็เพียงแต่ถือว่า พ. มีสิทธิในที่นาพิพาทดีกว่าบุคคลอื่น แต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติพ. จึงยกเอาการครอบครองของตนใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ ดังนั้น แม้ พ. จะครอบครองหรือทำนาพิพาทนานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิในนาพิพาทตามกฎหมาย ทั้งยังอาจถูกฟ้องร้องขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกด้วย จึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่นาพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น แม้จำเลยจะเข้าไปไถนาและปลูกข้าวในที่นาพิพาทก็ไม่เป็นการรบกวนการครอบครองที่อสังหาริมทรัพย์ของ พ. อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365