คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 362

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 410 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4711/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการบุกรุก: เจ้าพนักงานมีอำนาจจับกุมโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อน
ความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคหนึ่ง,310 วรรคหนึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ เว้นแต่จะมีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามมาตรา 193 ตรีแต่ตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่อ้างเหตุว่า จำเลยทั้งสามมีเจตนาไม่สุจริต อาศัยข้อกฎหมายเป็นเครื่องกำบังร่วมกันจับกุมโจทก์เพื่อกลั่นแกล้ง ข่มขู่ให้โจทก์เกรงกลัวไม่กล้าไปเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถูกฟ้องในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของบริษัท ย. เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 193 ตรีอุทธรณ์ของโจทก์ในข้อหาความผิดต่อเสรีภาพจึงต้องห้ามตามกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์ฎีกาในข้อหาดังกล่าวด้วย ศาลฎีกาก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในความผิดต่อเสรีภาพต่อไป ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1), 92(5) มีความหมายโดยสรุปว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าไปจับกุมบุคคลหนึ่งบุคคลใดในที่รโหฐานได้ต่อเมื่อมีหมายจับกุมบุคคลผู้นั้นและมีหมายค้นที่รโหฐานนั้นด้วย เว้นแต่ในกรณีที่มีผู้ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาและแจ้งว่าได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นตามระเบียบแล้วเจ้าพนักงานตำรวจจึงจะมีอำนาจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานโดยแจ้งว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตามระเบียบแล้ว กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78(4),81(1),92(5) ที่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ในบ้านพักของโจทก์ได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นและหมายจับ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 จะมีหน้าที่ในการบรรเทาสาธารณภัยก็ไม่ทำให้อำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่ตามกฎหมายสูญสิ้นไปแต่ประการใดจำเลยที่ 3 ยังคงมีอำนาจอยู่โดยบริบูรณ์ในฐานะเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) การที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อนไม่มีผลกระทบต่ออำนาจที่จำเลยที่ 3 มีอยู่แล้วตามกฎหมาย ดังนั้นการที่จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยที่ 1 เข้าไปในบ้านของโจทก์เพื่อชี้ให้จำเลยที่ 3 จับกุมโจทก์ก็เป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การเริ่มต้นการกระทำความผิดและการถือครองต่อเนื่อง
จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมโดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทน กับทำพื้นห้องพิพาทใหม่นั้น เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การพิจารณาเวลาเริ่มต้นการกระทำผิดและลักษณะความผิดต่อเนื่อง
++ เรื่อง บุกรุก ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ จำเลยให้คนงานเข้าพักอาศัยในห้องพิพาทของโจทก์ร่วม โดยทำการรื้อฝาผนังห้องออกแล้วก่ออิฐบล็อกแทนกับทำพื้นห้องพิพาทใหม่ เป็นการเข้าครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม เมื่อฟ้องระบุว่าจำเลยบุกรุกเข้าไประหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 ถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 เวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน แต่ทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกเข้าไปในห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกเข้าถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วมในเวลากลางวัน การที่จำเลยครอบครองห้องพิพาทต่อมาเป็นผลของการบุกรุก ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่องตราบเท่าที่จำเลยยังถือการครอบครองห้องพิพาทของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 365(3) ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมและการบุกรุก: เจ้าของที่ดินจัดสรรต้องยอมรับการใช้ทางของผู้อื่น แม้มีการเช่าพื้นที่
โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภคที่โจทก์จัดให้มีขึ้น ซึ่งเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนั้น แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 เมื่อจำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์ หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมาย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวด้วยโจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจัดสรร การบุกรุก และการเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ววินิจฉัยชี้ขาดในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จว่า จำเลยแจ้งความตามความเป็นจริงที่พบเห็นและมิได้ระบุว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทางสาธารณะตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลใด กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคแรกที่ศาลฎีกาจะหยิบยกประเด็นข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จขึ้นมาวินิจฉัยอีก โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภค ที่โจทก์จัดให้มีขึ้นซึ่งเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรดังนี้ แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิ บางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 การที่จำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมา ย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น โจทก์มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนบริเวณที่ดินที่เกิดเหตุ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7477/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การแจ้งความเท็จ, บุกรุก, ทำให้เสียทรัพย์: สิทธิจำกัดในที่ดินจัดสรรและการขาดคุณสมบัติผู้เสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นอีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
ศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ววินิจฉัยชี้ขาดในข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จว่า จำเลยแจ้งความตามความเป็นจริงที่พบเห็นและมิได้ระบุว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทางสาธารณะตามที่โจทก์ฟ้อง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลใด กรณีไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 216 วรรคแรกที่ศาลฎีกาจะหยิบยกประเด็นข้อหาความผิดฐานแจ้งความเท็จขึ้นมาวินิจฉัยอีก
โจทก์ประกอบธุรกิจจัดสรรที่ดิน บริเวณที่ดินที่เกิดเหตุของโจทก์มีสภาพเป็นถนนและเป็นสาธารณูปโภค ที่โจทก์จัดให้มีขึ้นซึ่งเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ดังนี้ แม้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน โจทก์ก็จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 1387 การที่จำเลยผ่านเข้าไปในถนนซึ่งเป็นที่ดินของโจทก์หรือใช้ให้ผู้ใดผ่านถนนไปมา ย่อมไม่เป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข แม้ว่าโจทก์จะได้นำที่ดินส่วนที่เป็นถนนนั้นไปให้ผู้อื่นเช่าตั้งเต็นท์ก็ตาม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
โจทก์เพียงแต่เป็นเจ้าของที่ดินที่รถยนต์และเต็นท์ตั้งอยู่ในขณะเกิดเหตุเท่านั้น โจทก์มิใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดูแลรักษาและรับผิดชอบในทรัพย์ดังกล่าวที่ตั้งอยู่บนบริเวณที่ดินที่เกิดเหตุ โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์นั้นตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7330/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำฐานบุกรุกหลังศาลยกฟ้องคดีเดิม และการขาดเจตนาบุกรุกเนื่องจากความเชื่อมั่นโดยสุจริต
ระหว่างที่จำเลยทั้งสองถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาบุกรุกที่ดินจำเลยทั้งสองไม่ได้อยู่ในที่ดินพิพาท เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองกลับเข้ามาในที่ดินพิพาทใหม่ จึงเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง หาใช่การบุกรุกในครั้งก่อนยังคงอยู่ตลอดมาไม่ ฟ้องของโจทก์ร่วมในคดีนี้ที่ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาบุกรุกอีกจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ร่วมกับจำเลยทั้งสองพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2534 ตลอดมา ซึ่งต่างกล่าวอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท โดยโจทก์ร่วมกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกส่วนจำเลยทั้งสองก็กล่าวหาว่าโจทก์ร่วมทำให้ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองที่อยู่ในที่ดินพิพาทเสียหาย และจำเลยทั้งสองยังฟ้องโจทก์ร่วมกับพวกเป็นคดีแพ่งขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ร่วม ขณะที่จำเลยทั้งสองกลับเข้ามาในที่ดินพิพาทใหม่นั้นคดีแพ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ประกอบกับเป็นการเข้าไป ในที่ดินพิพาทหลังจากศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องในคดีที่จำเลยทั้งสองถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ดินพิพาทในคดีอาญาก่อนแม้ที่ดินพิพาทในคดีนี้มีเนื้อที่มากกว่าที่ดินในคดีเดิมที่ศาลฎีกายกฟ้องไปก็ตาม แต่ที่ดินในบริเวณนี้ยังไม่มีแนวเขตที่ชัดแจ้งและเนื้อที่ที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องว่าบุกรุกในแต่ละครั้ง ก็มีเนื้อที่แตกต่างกันไม่มาก แสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าไป ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยความเชื่อมั่นอย่างสุจริตใจ ว่าจำเลยทั้งสองมีสิทธิเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้ อันเป็นการแสดงว่าจำเลยทั้งสองขาดเจตนาบุกรุกที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกเคหสถานและการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เมื่อมีการตกลงคืนทรัพย์สินและขาดเจตนาบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับ โจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปากรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า" ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปในบ้านหลังมีข้อตกลงคืนบ้าน ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยทั้งสองเข้าไปในบ้านพิพาทตามที่ได้นัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ และได้รับความยินยอมจากโจทก์ร่วมด้วย จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อการที่จำเลยทั้งสองเข้าไปในตัวบ้านพิพาทโดยนัดหมายกับโจทก์ร่วมไว้ไม่เป็นการบุกรุกแม้จะได้ความว่ามีการตัดกระแสไฟฟ้าและถอดมิเตอร์ประปา กรณีก็ขาดองค์ประกอบของความผิด ตาม ป.อ.มาตรา 362 ซึ่งบัญญัติว่า "ฯลฯ หรือเข้าไปกระทำการใด ๆอันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ฯลฯ" จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
โจทก์ร่วมเช่าบ้านจำเลยทั้งสองเพื่ออยู่อาศัย ต่อมาโจทก์ร่วมตกลงคืนบ้านพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองแล้วตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2538 เหตุที่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านพิพาททั้งหมดก็เนื่องจากจำเลยที่ 1ยังไม่ได้คืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยทั้งสองที่บุกรุกเข้าไปในบ้านพิพาทในวันที่ 29 สิงหาคม 2538 จึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยในข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้กำลังประทุษร้ายผลักอกผู้เสียหายหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4911/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินและการพิสูจน์การครอบครองหลังประกาศ คณะปฏิวัติ
ความผิดฐานบุกรุกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2)(3) ประกอบมาตรา 362 กฎหมายมุ่งลงโทษผู้ที่บุกรุกเข้าไปใน อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุก ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด ส่วนการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9(1) และมีโทษตามมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง นั้นจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96ใช้บังคับ คือวันที่ 4 มีนาคม 2515 เป็นต้นไป เมื่อพยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังว่า จำเลยที่ 1 ได้เข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ภายหลังวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 มีผลใช้บังคับ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) ประกอบมาตรา 108 ทวิ วรรคสอง ได้ โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 เพิกเฉย หรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบ และพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินตามมาตรา 9(1),108 ที่จะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้
of 41